วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Google Translate

Apps เเนะนำสำหรับคนที่เป็น Japan Lover
" Google Translate "

ก็เพิ่งรู้ว่ามันขยับไปอีก level เเล้วสำหรับเเอพนี้
เพราะเเค่เราเอากล้องมือถือ วางให้ตรงกับคำที่ต้องการอ่าน
เเล้วรูดปรื๊ดดด เเค่นี้ Google Translate
ก็สามารถเเปลให้เราได้ทันที
สะดวกจริงจัง !!

ประทับใจเเนวคิด Google มากนะ
ไม่เเปลกใจที่ได้รับเป็น ออฟฟิศที่น่าทำงานที่สุดในโลก
เเละยิ่งอ่านหนังสือ How Google Works
ยิ่งประทับใจความเป็นอากู๋มากขึน
=======
ไอเดียเเอพเเปลภาษาทั่วไป
คือการ สะสมคลังคำให้ "มากที่สุด"
เเอพไหนคนเปิดเเล้วเจอเเล้วน่าจะเป็นเเอพยอดนิยม
เเละเเน่นอนมันสะดวกมากสำหรับคนเรียนภาษานั้นๆ

เเต่ Google ไม่ได้จบเเค่นั้น
เวลาทำอะไร มันต้องต่างกว่าเดิม 100 เท่า
มันต้องเป็น Innovation ที่ช่วยเเก้ปัญหาคนส่วนใหญ่ได้
เเละเมื่อเเก้ไขปัญหาคนส่วนใหญ่ได้
ยอด Download จะมาเเบบถล่มถลายเอง

เเล้วปัญหาในการเเปล มันไม่ได้อยู่เเค่ที่คนเรียนภาษา
เเต่ปัญหา "ส่วนใหญ่" อยู่กับคนที่ไม่เคยรู้ภาษานั้นๆ เลยต่างหาก

ลองคิดเวลาเราไปเที่ยวนะ
ถ้าเราไม่รู้ภาษานั้นๆ เลย
เราจะเริ่มกด ดิกชั่นนารี หรือ Apps เเปลภาษาได้ยังไง
เพราะฉะนั้นการเล่นในตลาด Mass
User-Friendly จึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าปริมาณคำศัพท์เเน่นอน
Focus ได้ถูกจุดจริงๆ
ลองโหลดมาใช้กันดูนะ

แหล่งที่มา    Facebook : ๋Japan NEED

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Chrome เว็บสโตร์


Chrome เว็บสโตร์ สำหรับ App ต่างใน Chrome  ไปที่ url : https://chrome.google.com/webstore/category/apps

พบแอปพลิเคชัน เกม ส่วนขยาย และธีมเด็ดๆ สำหรับ Google Chrome.

จัดลำดับงานสำคัญรายวันด้วย Momentum Extension



https://youtu.be/MOzrqEU_dEU

ใครที่ชอบลืมว่าวันนี้ต้องทำอะไร
มัวแต่เพลินเล่นเว็บ ดูนั่นดูนี่ รู้ตัวอีกทีก็ลืมทำไปแล้ว

ลองใช้ Momentum Extension ช่วยดูครับ
ลองแล้ว ได้ผลดี แถมยังมีภาพสวยๆ ให้ดูสบายตา
เป็นโปรแกรมง่ายๆ ที่ใช้แล้วชีวิตง่าย ได้วินัย

แหล่งที่มา   Facebook : A-Academy

จูนเน็ตให้เร็วขึ้น นิ่งขึ้น ปลอดภัยขึ้น ด้วย DNS ขั้นเทพ! :D

ใช้เน็ตมาตั้งนานเพิ่งจะทราบ
ตอนที่ทำงานเกิดปัญหาใช้เน็ตได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
ทำไมนะ แจ้งผู้ดูแลแล้วเขาก็บอกว่าเป็นเครื่องเราเองหรือเปล่า

จนวันนี้ได้ทราบจากเพื่อนให้ลองใช้ Open DNS ของ Google
โอโห... สุดดดดดด.... ไปเลย
ใช้เน็ตได้เร็วขึ้น ดีขึ้นอย่างรู้สึกได้

วันนี้เลยลองค้นหาบทความในเรื่องนี้มานำแบ่งปันกัน
เผื่อใครจะเจอปัญหาคล้ายๆ กัน ....
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =


บางครั้งบางที เราก็อาจจะพบว่า อินเทอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ที่บ้าน มันไม่ค่อยเสถียรเอาซะเลย เดี๋ยวติดเดี๋ยวดับ ความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง (จากหลายอย่าง) ก็คือ DNS ที่เรากำลังใช้อยู่ มีปัญหา

ทางแก้อย่างหนึ่งก็คือ ไปใช้ DNS ที่มันเสถียรกว่าและเร็วกว่า โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการ DNS ฟรีหลายเจ้า เช่น Google Public DNS, OpenDNS, Norton DNS, และ Recursive DNS สามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวก หรือจะใช้ร่วมกันก็ได้

DNS ย่อมาจาก Domain Name System หรือระบบการตั้งชื่อโดเมน มันทำหน้าที่คล้าย ๆ สมุดโทรศัพท์ของอินเทอร์เน็ต

เมื่อเทียบการจำชื่อกับการจำหมายเลขโทรศัพท์แล้ว การจำชื่อจะง่ายกว่า ในลักษณะเดียวกัน เราจำชื่อเว็บไซต์ (เช่น wikipedia.org) ได้สะดวกกว่าจำหมายเลขไอพี (ตัวเลข 4 ชุด เช่น 208.80.152.2) เพื่อที่จะให้ใช้เน็ตได้สะดวก ๆ DNS จะช่วยให้เราไม่ต้องจำหมายเลขพวกนั้น จำแค่ชื่อเว็บไซต์ก็พอ โดยเบราว์เซอร์จะไปถาม DNS ให้เอง ว่าชื่อนี้ หมายเลขอะไร

เช่น พอเราพิมพ์ที่อยู่ของวิกิพีเดีย wikipedia.org ลงไปในเว็บเบราว์เซอร์, เบราว์เซอร์ก็จะไปถาม DNS ว่า “เฮ้ นาย หมายเลขที่อยู่ของ wikipedia.org เนี่ย มันคือหมายเลขอะไรเหรอ?”, DNS ก็จะตอบกลับมาว่า “ก็ 208.80.152.2 ไงล่ะ”, จากนั้นเบราว์เซอร์ก็จะติดต่อไปยังหมายเลขดังกล่าว เพื่อโหลดหน้าเว็บของวิกิพีเดียมาให้เรา

ด้วยเหตุนี้ DNS จึงมีความสำคัญสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตมาก ถ้า DNS ช้าหรือทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง การใช้อินเทอร์เน็ตของเราก็จะติด ๆ ขัด ๆ หรือถ้าเกิดว่า DNS ที่เราใช้ มีเจตนาไม่ดี แกล้งบอกหมายเลขให้เราผิด ๆ ให้เราไปเข้าเว็บไซต์ที่สามารถทำอันตรายคอมพิวเตอร์เราได้ เช่นปล่อยไวรัส หรือพาเราไปเข้าเว็บไซต์ที่ทำหน้าทำตาให้คล้ายกับเว็บที่เราใช้ประจำ เพื่อหลอกเอารหัสผ่านและข้อมูลส่วนตัวของเรา อันนี้ก็น่ากลัว และเคยเกิดขึ้นมาแล้ว (บางครั้ง DNS ที่เราเคยใช้อยู่ดี ๆ ก็อาจจะกลายเป็นตัวร้ายขึ้นมาได้ เมื่อโดนผู้ไม่ประสงค์ดีโจมตีเข้าไปแก้ข้อมูลใน “สมุดโทรศัพท์” ให้เป็นข้อมูลผิด ๆ การโจมตีทาง DNS นั้นมีหลายประเภท เช่น DNS hijacking และ DNS cache poisoning

ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ผู้ใช้ทุกคน ตั้งค่า DNS ให้ใช้ DNS server ที่เราเชื่อใจได้ ตัวอย่างเช่น Google Public DNS, OpenDNS, ฯลฯ ดังที่บอกไปข้างต้นแล้ว หรืออาจจะเป็น DNS ที่เราดูแลเองหรือเชื่อใจคนดูแลก็ได้ (และเชื่อมั่นว่า มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ ที่จะป้องกันการโจมตีเพื่อเปลี่ยนข้อมูล)

โดยปกติ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จะตั้งค่าให้เราใช้งาน DNS ของเขาอยู่แล้ว โดยอัตโนมัติ แต่เราก็สามารถเปลี่ยนได้ ถ้าต้องการ

การตั้งค่า DNS นั้นไม่ยาก และสามารถตั้งที่ตัวเราเตอร์ wifi ก็ได้ เพื่อความสะดวกของคนที่ใช้ wifi จากเราเตอร์นั้น ๆ ไม่ต้องตั้งค่าเอง โดยเราอาจปรึกษาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือผู้ดูแลระบบเครือข่ายในบริษัท หรืออาจจะเป็นเพื่อน ๆ เราที่เคยตั้งดูก็ได้

วิธีคร่าว ๆ คือ

สำหรับผู้ใช้ Windows 7: ให้ไปที่ Control Panel -> Network and Internet -> Network and Sharing Center -> Change adapter settings จากนั้นเลือกว่าจะเปลี่ยน DNS สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายอันไหน (เช่น LAN หรือ Wireless) จากนั้นกดปุ่ม “Properties” แล้วเลือก Networking -> Internet Protocol Version 4 -> Properties -> Advanced แล้วเลือกแท็บ DNS เพื่อแก้

สำหรับผู้ใช้ Mac OS X: จากเมนู Apple มุมซ้ายบน เลือก System Preferences -> Network จากนั้นที่ด้านซ้าย เลือกการเชื่อมต่อ แล้วกดปุ่ม “Advanced..” เลือกแท็บ DNS เพื่อแก้

สำหรับผู้ใช้ Ubuntu Linux: จากเมนู System เลือก Preferences -> Network Connections จากนั้นเลือกการเชื่อมต่อ (เช่น Wired หรือ Wireless) ตากนั้นกดปุ่ม “Edit” แล้วเลือกแท็บ IPv4 Settings แล้วแก้ DNS ในช่อง DNS servers

หมายเลขไอพีของ DNS server ที่เลือกใช้ได้ ส่วนหนึ่งมีดังนี้:

Google Public DNS: 8.8.8.8 และ 8.8.4.4
Norton DNS: 198.153.192.1 และ 198.153.194.1 (มีบริการให้เลือกหลายแบบ)
OpenDNS: 208.67.222.222 และ 208.67.220.220 (มีบริการให้เลือกหลายแบบ)
DNS Advantage: 156.154.70.1 และ 156.154.71.1
เลือกใช้ได้ตามสะดวก หรือจะใช้ร่วมกันก็ได้ (เราสามารถกำหนด DNS server หลาย ๆ ตัว ไว้ในรายการได้ เผื่อตัวแรกเสีย คอมมันก็จะไปใช้ตัวที่สอง สาม สี่ ไล่ไปตามลำดับ)

บางครั้ง DNS ก็ถูกใช้เพื่อการบล็อคเว็บไซต์ได้ด้วย โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการ DNS อาจตั้งค่าให้ DNS ปฏิเสธการร้องขอที่อยู่ของเว็บไซต์ “ที่ไม่พึงประสงค์” (เช่น เว็บไซต์ที่ปล่อยไวรัส เว็บไซต์ที่หลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปหาประโยชน์ เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาต่อต้านรัฐบาล หรือเว็บไซต์อะไรก็ตามที่ผู้ควบคุม DNS เห็นว่าเขาไม่อยากให้เราดู)

ดังนั้น ก่อนเลือกใช้ DNS เจ้าไหนจึงควรศึกษาดูก่อน ว่า DNS เจ้านั้นทำอะไรบ้าง มีอันไหนที่เราชอบหรือมีอันไหนที่เกินหน้าที่ที่เราอยากให้ทำไหม

หากพบว่าเราเข้าเว็บไซต์ที่ต้องการบางแห่งไม่ได้ บางทีการเปลี่ยนไปใช้ DNS ของเจ้าอื่น ก็อาจช่วยได้เช่นกัน เช่นในประเทศไทย เคยพบกรณีที่ใช้ DNS ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบางที่แล้วดูเว็บไซต์หรือคลิปบางคลิปไม่ได้ แต่พอเปลี่ยนไปใช้ DNS ของต่างประเทศ ก็สามารถเข้าดูได้ เป็นต้น

ทำเครื่องเราเสร็จแล้ว ลองไปช่วยเพื่อนทำด้วย (ถามเขาก่อนนะ)

แหล่งที่มา    เว็บไซต์ thainetizen network

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Selection Pane เปิดปิดมุมมองของวัตถุชิ้นที่วางทับกันได้ง่ายๆ

เครื่องมือใกล้ตัว ... ที่เราอาจไม่เคยใช้

หลายครั้งเวลาสร้างสื่อ ทำสไลด์ ทำอนิเมชัน
โดยมีรูปภาพ กล่องข้อความ
หลายชิ้นวางทับซ้อนกันในหน้าเดียวกัน

ทำให้ยากต่อการแก้ไข ปรับเปลี่ยน ...

ขอเสนอเครื่องมือ Selection Pane
ที่เราสามารถเปิดปิดมุมมองของวัตถุชิ้นที่วางทับกันได้ง่ายๆ


  1. แถบเครื่องมือหน้าแรก Home 
  2. คลิก Arrange 
  3. เลือก Selection Pane
  4. จะได้หน้าต่าง Selection ที่ด้านขวา ซึ่งเราสามารถเปิดปิด
ให้เห็นหรือซ่อนรูปภาพ/กล่องขัอความที่ทับซ้อนกัน
แล้วก็ปรับแต่งแก้ไขในส่วนที่ต้องการได้เลย

แหล่งที่มา     Facebook : Thailand Partners in Learning

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Infographics ด้วย PowerPoint

สาธิตการทำ Infographics ด้วย PowerPoint
ออกแบบบทเรียนด้วย Infographics ง่ายๆ
เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดจินตนาการและสร้างองค์ความรู้ใหม่

วิธีการสร้าง

แหล่งที่มา     Facebook : Thailand Partners in Learning 11 กรกฎาคม เวลา 19:00 น. ·

การสร้างบทเรียนอินเตอร์แอคทีฟแบบมีปฎิสัมพันธ์ด้วย PowerPoint

 

การสร้างสื่ออินเตอร์แอคทีฟแบบมีปฎิสัมพันธ์ด้วย PowerPoint ...
*เทคนิคนี้สามารถทำได้ในทุกเวอร์ชั่น



แหล่งที่มา    Facebook : Thailand Partners in Learning

จับหน้าจอด้วย Snipping Tool

หลายครั้่งเราอยากได้รูปภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
นอกจากกดปุ่ม Print Screen (PrtSc) แล้ว

ยังมีโปรแกรม Snipping Tool  ที่มีอยู่ในวินโดวส์ทุกเวอร์ชั่นอยู่แล้ว
สามารถเลือกส่วนของหน้าจอในการ capture
และบันทึกเก็บไว้หรือนำไปใช้ในงานต่าง ๆ ได้ทันที
รวมถึงมีเครื่องมือปากกาและไฮไลท์ที่เขียนใส่บนรูปได้ด้วย....
ของดีที่เรามีอยู่ในเครื่อง

แหล่งที่มา    Facebook : Thailand Partners in Learning 7 สิงหาคม เวลา 6:48 น.

ทำสติ๊กเกอร์

ของฝากคุณครู ... ทำสติ๊กเกอร์ ตรายางตรวจงานด้วย PowerPoint

วีดีโอสาธิตขั้นตอนการทำ


แหล่งที่มา     Facebook : Thailand Partners in Learning

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การหาค่าเฉลี่ย

การหาค่าเฉลี่ย x̅ หรือค่า Mean, Median, Mode, Max, Min, Max-Min, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD ด้วย Excel

ค่าเฉลี่ย =AVERAGE(ช่วงข้อมูลที่ต้องการนำมาคำนวณ)
ค่ามัธยฐาน =MEDIAN(ช่วงข้อมูลที่ต้องการนำมาคำนวณ)
ค่าฐานนิยม =MODE.MULT(ช่วงข้อมูลที่ต้องการนำมาคำนวณ)
ค่ามากที่สุด =MAX(ช่วงข้อมูลที่ต้องการนำมาคำนวณ)
ค่าน้อยที่สุด =MIN(ช่วงข้อมูลที่ต้องการนำมาคำนวณ)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =STDEV(ช่วงข้อมูลที่ต้องการนำมาคำนวณ)


แหล่งที่มา    Facebook : Thailand Partners in Learning