4G คืออะไร มีประโยชน์กับเราอย่างไร
4G คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่
(โทรศัพท์มือถือและแทบเล็ต) ในยุคที่ 4 หรือ
4th Generation Mobile Communications
อาจจะเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า LTE (Long Term Evolution)
แต่เดิมได้ถูกวางไว้เป็นระบบ 3.9G
แต่ต่อมาได้ถูกพัฒนาความเร็วการเชื่อมต่อให้มากขึ้น
และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ 4G นั่นเอง
จุดกำเนิดของระบบ 4G
ระบบ 4G ถูกกำหนดมาตรฐานขึ้นครั้งแรกเมื่อ
ปี ค.ศ.2008 โดย International Telecommunications
Union-Radio communications sector (ITU-R)
โดยเรียกข้อกำหนดนี้ว่า The International Mobile
Telecommunications Advanced specification (IMT-Advanced)
ซึ่งได้กำหนดความเร็วของระบบ 4G ไว้ที่ 1Gbps
แต่ด้วยขีดจำกัดทางด้านเทคโนโลยีและความพร้อม
ของผู้ให้บริการ จึงทำให้ระบบ 4G ในปัจจุบัน
(ซึ่งถือว่าเป็นยุคเริ่มต้น)
ทั้ง 2 ระบบคือทั้งแบบ WiMAX และ LTE
ยังไม่สามารถทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล
ได้สูงตามข้อกำหนด IMT-Advanced
โดยทำได้เพียง 100-120 Mbps เท่านั้น
แต่คาดว่าเมื่อ WiMAX Release 2 ถูกประกาศใช้
จะสามารถทำความเร็วได้ตามข้อกำหนดข้างต้น
โดยอาจจะมีชื่อเรียกว่าระบบ 5G
ประโยขน์ของระบบ 4G
เนื่องจากการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบไร้สาย
ของระบบ 4G ทำให้เราสามารถใช้งานระบบ 4G
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านภาพและเสียง
เช่น การดาวน์โหลดหรือรับชมวิดีโอ/
ภาพยนต์แบบความคมชัดสูง (HD)
การเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรศัพท์ไร้สาย
การรักษาพยาบาลในแหล่งทุรกันดาน
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรและอาชีพอื่นๆ
นอกจากนี้ยังช่วยให้อุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ
แทบเล็ต และ notebook computer สามารถทำงานได้
อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากประโยชน์ของระบบ 4G ที่มากมายข้างต้น
ทำให้ประเทศต่างๆหันมาใช้ระบบนี้กันอย่างแพร่หลาย
ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สิงค์โปร์
หรือแม้กระทั่งเพื่อบ้านใกล้ชิดของเราอย่างประเทศลาว
ก็มีการเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์ 4G แล้ว
แต่สำหรับประเทศไทยของเรา ก็มีแล้วเช่นกัน
อย่างDTAC 4G ก็มีเครือข่าย4G ครอบคลุมทั่วกรุงเทพเลย
ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่และแทบเล็ตที่รองรับ
การทำงานในระบบ 4G นั้นมีอยู่เกือบจะทุกยี่ห้อ
ทั้ง iPhone, iPad, Samsung Galaxy, LG และ HTC เป็นต้น
เห็นข้อดีเยอะขนาดนี้แล้วไปอัพเป็น 4G กันเยอะๆ
แหล่งที่มา Facebook : Unimon 3 กรกฎาคม 2014
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น