วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เว็บไซต์ให้บริการ “Email Marketing” ฟรี!

 Email Marketing เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดแบบออนไลน์
ที่มีรูปแบบการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในลักษณะของการส่งอีเมล
วัตถุประสงค์สามารถเลือกได้หลากหลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็น เพื่อการประชาสัมพันธ์, การโฆษณา
หรือการเชิญชวน เป็นต้น โดยเราสามารถส่งอีเมลออก
ได้ครั้งละจำนวนมากๆ ก็ได้ต่อหนึ่งครั้ง

แล้วทำไมเราถึงควรใช้ Email Marketing แทนการใช้อีเมลแบบปกติในการส่งข้อมูล?

  • คุณสามารถส่งหลายๆ อีเมลในครั้งเดียวได้ ไม่ว่าคุณจะส่งครั้งละเป็นร้อยหรือพันโอกาสที่จะถูกตีกลับมานั้น มีน้อยมาก
  • อีเมลจะไม่ถูกดันว่าเป็น Spam เพราะการใช้ Email Marketing จะมีฟีเจอร์ให้สามารถเลือกกด Unsubscribe ได้
  • ส่งได้แบบอัตโนมัติ ไม่ต้องคอยนั่งส่งอีเมลแบบเดิมๆ ซ้ำๆ เพราะส่วนใหญ่ทุกเว็บที่ให้บริการจะมีฟีเจอร์ Transactional Service คอยช่วยเหลือ
  • ใช้ฟรีแถมยังวิเคราะห์ผลให้เราได้ด้วย เราสามารถดูได้ว่า ผลตอบรับที่เราส่งอีเมลออกไปนั้นเป็นอย่างไรบ้าง มีคนเปิดอ่านกี่คน, ส่งไปไม่ถึงกี่คน เป็นต้น

เว็บไซต์ให้บริการ “Email Marketing” แนะนำประจำปี 2020

1. Constant Contact : https://www.constantcontact.com

2. Sendinblue : https://www.sendinblue.com

3. Drip : https://www.drip.com

4. ConvertKit : https://convertkit.com

5. AWeber : https://www.aweber.com

6. Mailchimp : https://mailchimp.com

7. GetResponse : https://www.getresponse.com

8. MailerLite : https://www.mailerlite.com

9. Keep : https://keap.com

อ้างอิง  https://tinyurl.com/3b5wswpc

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แอพตัดต่อวิดีโอ ใส่เพลง ฟรี/ไม่มีลายน้ำ

1. VLLO (Android&iOS)

VLLO เป็นหนึ่งใน แอพตัดต่อวิดีโอ ใส่เพลง ฟรี ไม่มีลายน้ำ ยอดฮิต ด้วยหน้าตาที่ดูใช้งานง่าย มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่หลากหลาย ลูกเล่นพราวแพรว จึงเป็นหนึ่งใน แอพตัดต่อวิดิโอบน iphone ipad และมือถือ Android สุดปัง สายวิดิโอไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

ข้อดี-จุดเด่น

  • แอพตัดต่อฟรี ไม่มีลายน้ำ
  • ฟีเจอร์ครบ ใส่เสียงเพลงประกอบ ใส่ข้อความ เรียบเรียงวิดีโอ ปรับความเร็ว และเบลอภาพ

เหมาะกับ: นักตัดต่อมืออาชีพ, ยูทูปเบอร์, ครีเอเตอร์, นักการตลาด

2. CapCut (Android & iOS)

 เป็น แอพตัดต่อวิดีโอ สาย TikTok ที่มีชื่อเดิมว่า Viamaker ความดีงามแอพนี้คือการใช้งานง่าย เอฟเฟกต์เยอะ มีเพลงให้เลือกมากมาย เป็น app ตัดต่อวิดิโอ iOS & Andriod ที่เหมาะกับมือใหม่ที่อยากตัดต่อวิดีโอลง TikTok สุดๆ

ข้อดี-จุดเด่น
  • ใช้งานได้หลายหลายระบบ เป็นแอพตัดต่อ
  • ใช้งานง่าย ฟีเจอร์ครบ ปรับวิดีโอให้ย้อนกลับ (Reverse) และปรับความเร็วได้
  • ฟิลเตอร์และเอฟเฟกต์เพียบ
  • มีเพลงฮิตมากมายให้เลือก
  • ลบพื้นหลังวิดีโอที่ใช้ Green Screen ได้
  • รองรับความละเอียด 4K
เหมาะกับ: ยูทูปเบอร์, ครีเอเตอร์, อินฟลูเอนเซอร์

3. YouCut (Android)

เป็น แอพตัดต่อวิดีโอ Android ที่ฟรีและไม่ติดลายน้ำ ผู้พัฒนาเดียวกันกับโปรแกรม InShot หน้าตาใช้งานง่าย เหมาะสมกับผู้ใช้งานหลากหลาย มีฟังก์ชั่นพื้นฐานที่โปรแกรมตัดต่อวิดีโอโปรๆ มี เช่น การหมุน/พลิก/ครอปตัดวิดีโอ

ข้อดี-จุดเด่น
  • แอพตัดต่อฟรี ไม่มีลายน้ำ
  • คุณภาพคงเดิมเมื่อบีบอัดไฟล์วิดีโอ
  • มีเอฟเฟกต์ให้เลือกเยอะ
  • รองรับความละเอียด 4K
เหมาะกับ: ยูทูปเบอร์, ครีเอเตอร์, เอเจนซี่

4. Prequel (Android & iOS)

app ตัดต่อวิดีโอบน ipad iphone และมือถือ Android สายเอฟเฟกต์ โดยเจ้าตัวนี้จะเน้นไปที่การแต่งเอฟเฟกต์วิดีโอและภาพนิ่งในสไตล์ 90’s และ Aesthetic ซึ่งบอกเลยว่าเอฟเฟกต์สวยๆ มีเยอะมากแม้จะเป็นเวอร์ชั่นฟรีก็ตาม แถมยังทำให้ภาพนิ่งมีมิติเคลื่อนไหวเอามาประกอบวิดีโอได้ดีมาก!

ข้อดี-จุดเด่น
  • แอพตัดต่อฟรี ไม่มีลายน้ำ
  • มี Template วิดีโอที่เหมาะกับคอนเทนต์บน TikTok และ Reels
  • มีมากกว่า 800 เอฟเฟกต์ จะแต่งวิดีโอสไตล์ 90’s หรือ Aesthetic ก็สวยพร้อม
  • คะแนนบน Play Store: 3.5/5
เหมาะกับ: ยูทูปเบอร์, ครีเอเตอร์, อินฟลูเอนเซอร์

5. Quik (Android & iOS)

เป็นแอพพลิเคชั่นตัดต่อวิดีโอฟรีบนมือถือจาก GoPro ที่ใช้งานได้ง่าย มีความสะดวกไม่ยุ่งยาก จิ้มไม่กี่ครั้งก็ทำให้ไฮไลท์วิดีโอของคุณออกมาปังด้วยระบบจับจังหวะอัตโนมัติ

ข้อดี-จุดเด่น
  • แอพตัดต่อฟรี ไม่ติดลายน้ำ
  • ใช้งานง่าย ฟีเจอร์ครบ ปรับแสงสีได้
  • จับช่วงไฮไลท์ของวิดีโอให้ตรงกับจังหวะของเพลงอัตโนมัติ
  • เลือกเพลงฟรีได้
เหมาะกับ: ยูทูปเบอร์, ครีเอเตอร์, อินฟลูเอนเซอร์

6. VN (Android & iOS)

แอพตัดต่อวิดีโอ ฟรี ไม่มีลายน้ำ ไม่มีโฆษณา เหมาะกับมือใหม่และมือโปร มีหลากหลายฟีเจอร์ครบครันทำได้ไปจนถึงคีย์เฟรมเลยทีเดียว

ข้อดี-จุดเด่น
  • แอพตัดต่อฟรี ไม่ติดลายน้ำ
  • มีข้อความหลากหลายแบบ และใส่ซับไตเติลได้
  • มีฟิลเตอร์ เอฟเฟกต์ และปรับความเร็วของวิดีโอ
  • มี Template วิดีโอให้เลือกใช้
เหมาะกับ: นักตัดต่อมืออาชีพ, ยูทูปเบอร์, ครีเอเตอร์, อินฟลูเอนเซอร์

7. Videoleap (Android & iOS)

ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือโปรด้านการตัดต่อแอพพลิเคชั่น Videoleap ตัวนี้เอาอยู่แน่นอน เพราะใช้งานง่าย หน้าตาก็ Friendly ต่อผู้ใช้งาน

ข้อดี-จุดเด่น
  • แอพตัดต่อฟรี ไม่ติดลายน้ำ
  • ตัดต่อ Green Screen 
  • มีฟิลเตอร์ เอฟเฟกต์ สติกเกอร์ ซาวน์เอฟเฟกต์ รวมถึงปรับความเร็วได้
  • มี Stock วิดีโอจาก Pixabay
เหมาะกับ: นักตัดต่อมืออาชีพ, ยูทูปเบอร์, ครีเอเตอร์, อินฟลูเอนเซอร์

อ้างอิง   https://tinyurl.com/9hec5vsy

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564

วิธีแก้ปัญหา Facebook ลดการมองเห็น

 เพจที่เคยกด like กด ติดตามไว้ ทำไมถึงหายไปจากหน้าฟีด

ก่อนหน้านี้ Facebook ได้ปรับลดการมองเห็นโพสต์ สำหรับคนที่กดถูกใจเพจให้เหลือเพียง 10% โดยให้ค่าคะแนนการมองเห็นกับเนื้อหา ภาพ และการมีส่วนร่วมในโพสต์ 

ล่าสุด Facebook เตรียมปรับลดการมองเห็นอีกครั้ง โดยให้คะแนนกับโพสต์ของเพื่อนมากกว่าโพสต์จากเพจ แบบนี้คนใช้งาน Facebook อย่างเราๆ จะปรับตัวยังไงดี เพราะบางที สิ่งที่เราสนใจก็ไม่ใช่โพสต์จากเพื่อน หรือโฆษณาที่ส่งมาให้ดูแทบทุกวัน

มีทริคเล็กๆ สำหรับคนใช้ Facebook มาบอกกัน จะได้ติดตามเพจที่ใช่ ไม่พลาดคอนเทนต์โดนๆ

1. กดติดตามแทนกดถูกใจ

Facebook เริ่มให้ความสำคัญกับคนที่กดติดตามเพจ มากกว่าการกดถูกใจเพจ โดยปุ่ม  like กำลังทยอยถอดออกจากหน้าเพจ เหลือไว้แค่ปุ่ม Follow หรือติดตาม ดังนั้นหากคุณสนใจคอนเทนต์ของเพจไหน ให้กดติดตามเอาไว้ก่อน เพราะจะช่วยให้เข้าถึงเนื้อหาของเพจได้มากกว่า

2. มีรีแอคชั่น คอมเมนต์สม่ำเสมอ 

อยากที่รู้กันว่าเฟซบุ๊คเฝ้าติดตามพฤติกรรม และความสนใจของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา หากเราถูกใจคอนเท้นท์ไหน แล้ว ไม่ส่งสัญญาณให้ Facebook รู้ อย่างกดดูเนื้อหา กดรีแอคชั่น กด Like ใส่อิโมจิ หรือ คอมเมนต์ใต้โพสต์ เนื้อหาจากเพจที่คุณชื่นชอบอาจจะหายไปจากหน้าฟีดได้

3. แชร์คอนเทนต์ที่ถูกใจ อย่าไถผ่าน 

เนื้อหาดีๆ บนฟีด Facebook สร้างได้ ใครที่เจอคอมเทนท์ที่โดนใจ อ่านแล้วเป็นประโยชน์อยากสนับสนุนก็ทำได้ง่ายๆ แค่กดแชร์โพสต์ไปที่หน้าฟีดของตัวเอง ให้เพื่อน หรือคนที่ติดตามคุณอยู่ได้เห็นคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์เช่นกัน 

4. กดติดตามเนื้อหาที่ชอบ ได้ในโซเซียลอื่น

หลายเพจไม่ได้ฝากชีวิตไว้บน Facebook เท่านั้น หากชื่นชอบเนื้อหาของเพจไหนจริงๆ เราสามารถคลิกเข้าไปดูที่หน้าเว็บ หรือกดติดตามโซเชียลอื่น อย่าง Twitter , Instagram , YouTube หรือ Tiktok ซึ่งคุณอาจจะพบเจอกับคอนเทนต์เนื้อหาเดิม แต่เพิ่มเติมด้วยรูปแบบใหม่ ที่น่าสนใจและแตกต่างไปจากเดิมก็เป็นได้

5. จัดระเบียบหน้าฟีด คัดเฉพาะที่เลือก

ความสนใจของเราเลือกได้ มีหลายคนที่กดติดตามเพจเอาไว้จำนวนมาก จนทำให้พลาดเนื้อหาที่สนใจจริงๆ ลองมาจัดระเบียบเพจที่กดติดตามดูว่าเพจไหนที่ใช่สำหรับเรา และเพจไหนที่เลิกอัปเดต หรือเปลี่ยนเนื้อหา กลายร่างเป็นเพจอื่นไปแล้วโดนที่เราไม่ทันรู้ตัว เพื่อกรองเนื้อหาที่เราสนใจจริงๆ แบบไม่ต้องรอให้ Facebook เลือกให้

อ้างอิง   https://tinyurl.com/3bnbvnyj

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เว็บไซต์ดาวน์โหลดภาพ Ai ใช้งานฟรี

 เว็บไซต์ดาวน์โหลดภาพไปใช้ในงานได้ฟรี โหลดง่าย มีไฟล์หลายนามสกุลให้เลือกโหลดตามความเหมาะสมเเละภาพสวยมากๆ เลยค่ะ มีให้เลือกเยอะ เเละยังมีไอคอนให้โหลดอีกด้วย เเต่หากใครที่จะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์อาจจะต้องศึกษาเรื่องลิขสิทธิ์ให้ดีๆ ก่อนนำไปใช้งาน


อ้างอิง   https://tinyurl.com/yx8a5ydx

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

คีย์ลัดโปรแกรม Zoom

รวมคีย์ลัดโปรแกรม Zoom ทั้ง Mac และ Windows สั่งงานง่ายเหมือนดีดนิ้ว!

คีย์ลัดโปรแกรม Zoom บน Mac

Command(⌘)+J =  ร่วมการประชุม

Command(⌘)+Control+V = เริ่มการประชุม 

Command(⌘)+J = ตั้งเวลาการประชุม 

Command(⌘)+Control+S = แชร์หน้าจอ 

Command(⌘)+Shift+A = เปิด/ปิดเสียงไมค์

Command(⌘)+Control+M: ปิดเสียงไมค์ผู้เข้าประชุมทั้งหมดยกเว้น host ที่จัดประชุม

Command(⌘)+Control+U = ปิดเสียงไมค์ผู้เข้าประชุมทั้งหมดยกเว้น host ที่จัดประชุม 

Space = กดเมื่อต้องการพูดใส่ไมโครโฟน

Command(⌘)+Shift+V = เริ่มต้น/หยุด วิดีโอ 

Command(⌘)+Shift+N = เปลี่ยนกล้อง

Command(⌘)+Shift+S = เริ่มต้น/หยุด การแชร์หน้าจอ

Command(⌘)+Shift+T = พักหรือทำการแชร์หน้าจอต่อไป 

Command(⌘)+Shift+R: = เริ่มต้นอัดวิดีโอ

Command(⌘)+Shift+P = พักหรือทำการอัดวิดีโอต่อไป

Command(⌘)+Shift+W = เปลี่ยนมุมมองหน้าจอเป็นภาพผู้ที่กำลังพูดอยู่ (Active Speaker View) หรือภาพแกลอรี่ผู้เข้าประชุมทั้งหมด (Gallery View)

Control+P = ดูภาพ gallery view ของผู้ร่วมประชุม 25 ก่อนหน้า 

Control+N = ดูภาพ gallery view ของผู้ร่วมประชุม 25 ก่อนหน้า

Command(⌘)+U = แสดงหรือซ่อนภาพหน้าต่างผู้เข้าร่วมประชุม 

Command(⌘)+Shift+H = แสดงหรือซ่อนแถบ Meeting Chat

Command(⌘)+I = เปิดหน้าเชิญผู้เข้าร่วมประชุม 

Option+Y = กดเพื่อเปิดหรือปิด “สัญลักษณ์ยกมือ” เมื่อต้องการพูดในทีประชุม

Ctrl+Shift+R = เปิดให้เข้าถึงการใช้งานควบคุมหน้าจอจากระยะไกล (Remote Control)

Ctrl+Shift+G = หยุดการให้เข้าถึงการควบคุมหน้าจอจากระยะไกล (Remote Control)

Command(⌘)+Shift+F = เปิด/ปิด โหมดแสดงเต็มหน้าจอ 

Command(⌘)+Shift+M = เปลี่ยนเป็นโหมดหน้าจอเล็ก 

Ctrl+Option+Command+H = แสดงหรือซ่อน meeting controls

Command(⌘)+T = แคปหน้าจอ 

Command(⌘)+W = ออกจากการประชุม

คีย์ลัดโปรแกรม Zoom บน Windows

PageUp = ดูภาพ gallery view ของผู้ร่วมประชุม 25 ก่อนหน้า 

PageDown = ดูภาพ gallery view ของผู้ร่วมประชุม 25 ถัดไป

Alt+F1 = เปลี่ยนมุมมองหน้าจอเป็นภาพคนที่กำลังพูดอยู่ (Active Speaker View) 

Alt+F2 = เปลี่ยนมุมมองหน้าจอเป็นภาพแกลอรี่ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด (Gallery View)

Alt+F =  ปิดหน้าต่างที่เปิดอยู่

Alt+V = เริ่มต้น/หยุด วิดีโอ 

Alt+A = เปิด/ปิดเสียงไมค์ 

Alt+M = เปิด/ปิดเสียงไมค์ของทุกคน ยกเว้น host ที่จัดการประชุม

Alt+S = เปิดและปิดการแชร์หน้าจอ 

Alt+Shift+S = เริ่มหรือหยุดการแชร์หน้าจอ

Alt+R = เริ่มต้น/หยุด การอัดวิดีโอ

Alt+P = พักหรือทำการอัดวิดีโอต่อ

Alt+N = เปลี่ยนกล้อง

Alt+F = เปิด/ปิดโหมดเต็มหน้าจอ

Alt+H = แสดงหรือซ่อนแถบ Meeting Chat

Alt+U = แสดงหรือซ่อนภาพหน้าต่างผู้เข้าร่วมประชุม 

Alt+I = เปิดหน้าเชิญผู้เข้าร่วมประชุม

Alt+Y: Raise/lower hand

Alt+Shift+R: = กดเพื่อเปิดหรือปิด “สัญลักษณ์ยกมือ” เมื่อต้องการพูดในทีประชุม

Alt+Shift+G = = หยุดการให้เข้าถึงการควบคุมหน้าจอจากระยะไกล (Remote Control)

Alt+Shift+T = แคปภาพหน้าจอ 

Ctrl+Up = ไปยังแชตคนก่อนหน้านี้

Ctrl+Down: ไปยังแชตคนถัดไป

Ctrl+F = ค้นหา 

อ้างอิง   https://tinyurl.com/43dapsdd

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ระบบประชุมออนไลน์ของคนไทย ใช้ฟรี

 วีคลาส.ไทย ...ระบบประชุมออนไลน์ บริการฟรี, ใช้งานง่าย และไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม

📝 วิธีใช้งาน วีคลาส.ไทย

https://www.thnic.co.th/th/news/22/

💻 ประชุมออนไลน์ได้ที่: วีคลาส.ไทย หรือคลิก  https://xn--42c0eeo3bp.xn--o3cw4h/

อ้างอิง   https://tinyurl.com/3abkf85e

อีเมล 10 นาที

10minutemail.net เป็นบริการอีเมลใช้แล้วทิ้งที่ฟรี 

ที่อยู่อีเมลชั่วคราวของคุณจะหมดอายุภายใน 10 นาที หลังจากนั้นคุณจะไม่สามารถใช้ที่อยู่นั้นได้อีก คุณสามารถต่อเวลาได้อีก 10 นาที เว็บไซต์ที่คุณจะลงทะเบียนนั้นอาจจะนำข้อมูลส่วนตัวของคุณไปขาย คุณไม่มีทางรู้เลยว่าอีเมลของคุณจะถูกนำไปเปิดเผยที่ไหน ถ้าเป็นเช่นนี้ อีเมล 10 นาทีจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาของคุณ

คลิกใช้งานอีเมล์สิบนาที https://10minutemail.net/?lang=th

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เว็บย่อไฟล์ PDF

เอาอยู่ทุกไฟล์ เปิดดูเครื่องไหนก็ไม่เพี้ยน 

หลายคนยกให้ PDF เป็นไฟล์ยอดฮิตของชาวออฟฟิศ แต่ก็ยังไม่วายเจอปัญหา ถ้าไฟล์ที่ต้องการส่งใหญ่เกินไป ส่งเมลไม่ผ่าน ส่ง LINE ก็ใช้เวลาโหลดนานเกินเรื่อง

ใครเจอปัญหานี้อยู่ กับ 3 เว็บย่อไฟล์ PDF ที่ใช้งานได้ไม่ยุ่งยาก แถมปรับแต่งเองได้จากหน้าเว็บ ลองเอาไปใช้กัน

1. https://smallpdf.com/th/compress-pdf

  • ใช้งานฟรี  7 วัน
  • ไม่จำกัดขนาดไฟล์ในการแปลง
  • มีตัวเลือกบีบอัดไฟล์ได้
  • รองรับ cloud บน Google drive, Dropbox
  • มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
  • รองรับทั้ง platform บน Mac, Windows หรือ Linux 

2. https://pdfcandy.com/th/compress-pdf.html

  • ใช้งานฟรี
  • จำกัดขนาดไฟล์ในการแปลงไม่เกิน 256 MB
  • ไม่มีตัวเลือกบีบอัดไฟล์ได้
  • รองรับ cloud บน Google drive, Dropbox
  • มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
  • รองรับเฉพาะ online only

3. https://avepdf.com/th/compress-pdf

  • ใช้งานฟรี
  • จำกัดขนาดไฟล์ในการแปลงไม่เกิน 256 MB
  • มีตัวเลือกบีบอัดไฟล์ได้
  • รองรับ cloud บน Google drive, Dropbox
  • มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
  • รองรับเฉพาะ online only

นอกจากจะบีบอัดไฟล์ได้แล้ว ยังสามารถแปลงไฟล์ PDF เป็นไฟล์อื่นๆ รวมหน้า ลบหน้า หมุน ใส่ลายน้ำ ปลดล็อครหัส ทั้งหมดนี้ทำได้จากบนเว็บไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่ม สะดวกมาก 

อ้างอิง  https://tinyurl.com/e6sdpy7s

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เว็บแจกเทมเพลตทำพรีเซนท์ ฟรี!

 ทำงานแบบ WFH คงหนีไม่พ้นต้องทำสไลด์ มาอัปเดต 6 เว็บแจกเทมเพลตทำพรีเซนท์ ฟรี! 

โหลดง่าย ใช้ได้ทั้ง Google Slides และ PowerPoint

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเรียน หรือทำงาน คงหนีไม่พ้นการทสไลด์เพื่อนำเสนองานกันทั้งนั้น ซึ่งการออกแบบหน้าตาในการนำเสนองานก็มีผลต่อผู้ชมไม่น้อย อย่างงานขายสินค้า ก็ต้องสวย สะดุดตา เพื่อเรียกลูกค้า งานวิชาการ ต้องเรียบหรู มีความน่าเชื่อถือ สอดคล้องกับเนื้อหา 

แล้วถ้าออกแบบไม่เก่ง ไม่มีเวลาตกแต่งสไลด์ จะทำไงดี? วันนี้เรารวบรวม 6 เว็บไซต์แจกฟรีเทมเพลตช่วยเพิ่มความปังการนำเสนอของคุณให้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

1. Slidesgo : https://slidesgo.com/  

2. PPTMON : https://pptmon.com/

3. PowerPointHub : https://www.powerpointhub.com/

4. PRESENTATIONGO : https://www.presentationgo.com/

5. SlidesMania : https://slidesmania.com/

6. FDR : https://freedesignresources.net/

ต่อไปนี้ การทำพีเซนเทชันก็ง่ายและประหยัดเวลามากขึ้น ใครที่ชอบก็ฝากแชร์ไปให้ได้ใช้กัน

อ้างอิง  https://tinyurl.com/wpp8k3yz

เซ็นเอกสารออนไลน์

เป็นบริษัทคนไทย ที่ให้บริการชื่อว่า Creden eSignature ช่วยจัดการเรื่องเซ็นเอกสารด้วยระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิก

Creden e-Signature เป็นโซลูชันจัดการเอกสารบนคลาวด์ที่ช่วยให้คุณสามารถแทนที่กระบวนการลายเซ็นกระดาษและหมึกด้วยการเซ็นอิเล็กทรอนิกส์

ข้อดี

  • เป็นบริษัทไทย เข้าใจการใช้งานแบบไทยได้ดี
  • เอกสารที่เซ็นผ่าน Creden eSignature สามารถใช้รับรองทางกฏหมายได้ เพราะเอกสารที่เซ็นมีการยืนยันกับภาครัฐทุกเอกสาร โดยร่วมกับ ETDA ในการยืนยันในการทำ Time Stamp ที่ ETDA 
  • เอกสารถูกจัดเก็บบน Blockchain ด้วย เป็นการป้องกันอีกชั้นว่าข้อมูลไม่ได้ถูกแก้ไข
  • มีระบบยืนยันตัวตน (eKYC) ที่ระบุตัวตนคู่กับบัตรประชาชน ทำให้มั่นใจแน่นอนว่าคนที่

ดู Video การใช้งานได้ที่นี่ https://youtu.be/odL_S98xY8w

ราคา ใช้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (มีข้อจำกัดใช้งานกับ 5 เอกสารต่อเดือน)

รายละเอียด https://creden.co/

เรียน-ประชุม ในช่วงการระบาด COVID-19

แอพฯ Video Conference ช่วยการเรียน-ประชุม ในช่วงการระบาด COVID-19 เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะและการอยู่ในสถานที่ที่มีการรวมตัวของคนเป็นจำนวนมาก

จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการหลายรายพัฒนาแอพพลิเคชั่น Video Conference เพื่อสร้างความสะดวกสบายและรองรับการเรียนและการทำงานผ่านทางออนไลน์ซึ่งนับได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในช่วงวิกฤตการระบาดของ COVID-19 ในวันนี้สภาดิจิทัลฯ จึงได้รวบรวมแอพพลิเคชั่นVideo Conferenceที่สามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรีมาให้กับทุกคน จะมีแอพพลิเคชั่นใดบ้างมาดูกันเลย

1. True VROOM

- รองรับผู้ใช้ได้สูงสุด 1,500 คน

- แชร์ภาพหน้าจอโดยตรงจากอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้

- แชร์คอนเทนต์รูปภาพและไฟล์ได้

- สามารถบันทึกการประชุมออนไลน์

- รองรับการใช้งานผ่าน Web Browser (ทุกอุปกรณ์)

2. Zoom

- รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 100 คน

- การประชุมแบบกลุ่มจำกัดเวลาที่ 40 นาที แบบ 2 คนคุยกันได้ไม่จำกัดเวลา

- แชร์ภาพหน้าจอโดยตรงจากอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้

- มี whiteboard ให้ใช้เขียนเหมือนประชุมจริงได้

- แชร์รูปภาพและไฟล์ได้

- อัดวีดีโอการประชุมได้

- รองรับการใช้งานผ่าน Android, iOS, PC, Mac

- รองรับการใช้งานผ่าน Web Browser (ทุกอุปกรณ์)

Zoom มีทั้งแบบบริการฟรีและเสียค่าบริการ ข้อจำกัดแบบฟรีที่เห็นได้ชัดคือ ในการประชุมแต่ละครั้ง ผู้ใช้จะประชุมได้ไม่เกินครั้งละ 40 นาที หากต้องการประชุมต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ผู้ใช้ต้องสร้างห้องประชุมขึ้นใหม่ แต่ล่าสุดไม่ต้องสร้างห้องใหม่ เพียงออกจากห้องนั้นแล้วกลับเข้าไปห้องเดิม ก็สามารถประชุมกันต่อได้

รายละเอียดเพิ่มเติม https://zoom.us/

3. Google Hangouts

- รองรับผู้ใช้ได้สูงสุด 10 คน (Gmail, G Suite Basic)

- แชร์ภาพหน้าจอโดยตรงจากอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้

- แชร์รูปภาพและไฟล์ได้

- รองรับการใช้งานผ่าน Android, iOS, PC, Mac

- รองรับการใช้งานผ่าน Web Browser (ทุกอุปกรณ์)

- ต้องใช้ Google Account (Gmail)

4. Skype

- รองรับผู้ใช้ได้สูงสุด 50 คน

- ภาพและเสียงคุณภาพระดับ HD

- แชร์ภาพหน้าจอโดยตรงจากอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้

- แชร์รูปภาพและไฟล์ได้

- แปลภาษา real time ได้ 10 ภาษา ของภาษาไทยแปลได้เฉพาะการพิมพ์ text

- รองรับการใช้งานผ่าน Android, iOS, PC, Mac,

- รองรับการใช้งานผ่าน Web Browser (ทุกอุปกรณ์)

จุดเด่นของ Skype คือราคาที่ฟรีตลอดไป เวอร์ชันฟรีสามารถคุยได้พร้อมกันสูงสุด 50 คนต่อห้อง, แชร์หน้าจอให้กันได้, บันทึกการสนทนาได้ ส่วนเวอร์ชันเสียเงินเน้นที่การโทรออกไปยังเบอร์โทรศัพท์ปกติ

ราคา ฟรี (เสียเงินเฉพาะการโทรไปยังเบอร์โทรศัพท์)

5. Line video call

- รองรับผู้ใช้ได้สูงสุด 200 คน

- Live รองรับผู้ชมได้สูงสุด 500 คน

- แชร์ภาพหน้าจอโดยตรงจากอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้ (เฉพาะ Line บน PC)

- แชร์คอนเทนต์รูปภาพและไฟล์ได้

- มีเอฟเฟกต์ให้เลือกตกแต่งเล่นระหว่างคุย

- รองรับการใช้งานผ่าน Android, iOS, PC, Mac

- รองรับการใช้งานผ่าน Web Browser (ทุกอุปกรณ์)

6.FaceTime

- รองรับผู้ใช้ได้สูงสุด 32 คน

- แชร์ภาพหน้าจอโดยตรงจากอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้ (ผ่านแอพ Facetime Screen Share)

- รองรับการใช้งานผ่าน iOS, Mac

7. Facebook Messenger

- รองรับผู้ใช้ได้สูงสุด 6 คน

- แชร์ภาพหน้าจอโดยตรงจากอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้ (เฉพาะ Line บน PC)

- แชร์คอนเทนต์รูปภาพและไฟล์ได้

- รองรับการใช้งานผ่าน Android, iOS, PC, Mac

- รองรับการใช้งานผ่าน Web Browser (ทุกอุปกรณ์)

8. Microsoft Teams

- รองรับผู้ใช้ได้สูงสุด 250 คน

- แชร์ภาพหน้าจอโดยตรงจากอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ร่วมประชุมได้ (เฉพาะ Line บน PC)

- แชร์คอนเทนต์รูปภาพและไฟล์ได้

- รองรับการใช้งานผ่าน Android, iOS, PC, Mac

- รองรับการใช้งานผ่าน Web Browser (ทุกอุปกรณ์)

- สามารถบันทึกการประชุม และเก็บขึ้น Streams โดยไม่หนักเครื่อง

- สามารถทำ Blur background เพื่อตัดการรบกวนจากพื้นหลัง

- มี live captions & subtitles ซึ่งจะช่วยแปลงเสียงพูดเป็นคำบรรยายให้กับการสนทนา

- สามารถเชื่อมต่อกับ Calendar ที่ใช้อยู่แล้วบน Outlook เพื่อนัดประชุมได้

- สามารถ Plugin Zoom ได้ โดยไม่จำกัด​เวลาการประชุม

จุดเด่นของโปรแกรมประชุมออนไลน์ตัวนี้ ยังออกแบบให้รองรับเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ อีกจำนวนมาก อย่างเช่น Slack โปรแกรมใช้แชท ใช้ส่งข้อความในกลุ่มส่วนตัว ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดพอสมควร

ฟรี สำหรับคนที่มี Office 365 อยู่แล้ว ได้ฟีเจอร์เต็มรูปแบบ (ราคาเริ่มต้น 5 ดอลลาร์/คน/เดือน)

ฟรี สำหรับคนทั่วไป มีจำกัดฟีเจอร์บ้าง เช่น ประชุมกลุ่มใหญ่ไม่ได้ (ได้แต่แบบ 1:1) พื้นที่สตอเรจลดลง บันทึกการประชุมไม่ได้

รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.microsoft.com/en-us/microsoft-teams/group-chat-software

9. โปรแกรมประชุมออนไลน์ Google Meet

โปรแกรมประชุมออนไลน์อีกตัวหนึ่งที่น่าจับตาคือ Google Meet เป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งของกูเกิล ซึ่งปัจจุบันทุกคนใช้งานได้ฟรี มันถูกออกแบบมาเพื่อบริการการประชุมออนไลน์ในเชิงธุรกิจ มีระบบความปลอดภัยที่ดี ทุกคนสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องจ่ายเงิน

ลักษณะเด่นของโปรแกรม Google Meet :

- มีความปลอดภัยสูง

- ประชุมได้ทุกที่

- รับผู้ชมได้สูงสุด 100,000 คน

- ประชุมออนไลน์ได้สูงสุด 250 คน

- บริการฟรี!

- รองรับองค์กรทุกขนาด

- ประชุมได้ทุกอุปกรณ์

- มีระบบ AI ปรับลดคุณภาพภาพและเสียง

เมื่อพิจารณาจากฟีเจอร์ของโปรแกรม Google Meet แล้ว พบว่าน่าใช้งาน คาดว่าในอนาคตจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญของค่ายอื่นๆ เพราะมีลูกเล่นหลายอย่าง อาทิ มีระบบจัดตารางวาระประชุมออนไลน์แบบง่ายๆ สามารถแชร์หน้าจอเพื่อนำเสนอเอกสาร สไลด์หรือหน้าต่างโปรแกรมอื่นๆ ที่อยู่บนคอมพิวเตอร์/มือถือ

โปรแกรม Google Meet รองรับการประชุมออนไลน์ขนาดใหญ่ซึ่งทำได้สูงสุด 250 คนในคราวเดียว สามารถเข้าร่วมประชุมจากโทรศัพท์ได้ หมายถึงการเข้าร่วมแบบวิดีโอคอลนั่นเอง หรือจะคอลเฉพาะเสียงก็ได้ สามารถควบคุมวาระการประชุมได้ดังใจ สามารถประชุมออนไลน์ภายในองค์กรด้วยการไลฟ์สดผ่านโดเมนเดียวกัน โดยพนักงานสามารถรับชมได้พร้อมกันสูงสุด 1 แสนคน!

10. Discord

แอพแชทยอดนิยมสำหรับเหล่าเกมเมอร์ ฟีเจอร์จัดเต็มทั้งแชท คุยเสียง วิดีโอ แชร์หน้าจอได้ วิดีโอคอลล์ได้พร้อมกันสูงสุด 10 คน รองรับแพลตฟอร์มหลากหลาย รวมถึงใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ด้วย

จุดเด่นอีกอย่างของ Discord คือราคาที่ฟรีตลอดไป เพราะโมเดลการทำเงินของ Discord คือการจ่ายเงินค่าสมาชิกรายเดือน (เรียกว่า Nitro) เพื่อเพิ่มฟีเจอร์บางอย่างสำหรับเกมเมอร์ (เช่น ใส่แอนิเมชันได้, ปรับแต่งโพรไฟล์ได้, อัพโหลดรูปได้เยอะขึ้น)

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก แนะนำวิธีใช้ Discord ทำงานจากบ้าน ประชุมทางไกลแบบเห็นหน้า แชร์จอได้

ราคา ฟรี

11. Cisco Webex

Cisco Webex ถือเป็นต้นฉบับของโซลูชันการประชุมวิดีโอในองค์กร (ปัจจุบันใช้ชื่อ Webex Meetings) และภายหลังก็ขยายตัวมายังระบบแชทในองค์กรด้วย (ใช้ชื่อ Webex Teams)

ฟีเจอร์ของ Webex เรียกว่าครบถ้วนสำหรับลูกค้าองค์กร รองรับการประชุมสูงสุด 3,000 คนต่อห้อง และไลฟ์สตรีมสูงสุด 100,000 คน

ปัจจุบัน Webex มีแพ็กเกจรุ่นฟรี สำหรับการประชุมไม่เกิน 100 คน และเปิดประชุมได้ต่อเนื่อง 40 นาที

ฟรี (จำกัดการประชุมไม่เกิน 100 คน) รุ่นเสียเงินเริ่มต้นที่ 13.50 ดอลลาร์

รายละเอียด  https://www.webex.com/pricing/index.html

❤❤❤❤❤❤❤

ถึงแม้ว่าวิกฤตการระบาด COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนในประเทศ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ผลักดันให้ทุกคนต้องปรับตัวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตของผู้คนให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นในขณะเดียวกันก็ทำให้ส่งผลให้หลายธุรกิจมีโอกาสคิดค้นและมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้นเช่นกัน

อ้างอิง  https://dct.or.th/news/detail/57,  https://tinyurl.com/2xnt7fhphttps://tinyurl.com/2mnh9h34

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บล็อกโฆษณาบน Youtube แบบไม่ต้องเสียเงิน

 1. Firefox + Adblock บล๊อคได้ถึง 90% – 100%

เพราะ Firebox มันจะไม่อ่าน Script การทำงานของ Google ประมาณ 70% ทำให้โฆษณาจะไม่ขึ้นบ้างแต่ก็ไม่ครอบคลุม 100% ดังนั้นถ้าจะให้ป้องกันได้ชัวร์ต้องโหลด Plug-in AdBlock เข้าไปด้วยก็จะเสร็จสมบูรณ์


ดาวน์โหลด Firefox   

ดาวน์โหลด Plug-in adblock ของ Firefox


2. Google chrome + Adblock บล๊อคได้ถึง 70% – 100%

มันก็อาจจะป้องกันได้ไม่ 100% เพราะ Youtube เป็นของ Google นี่เนอะมันถูกสร้างมาให้คู่กันบ้างที AdBlock ก็เอาไม่อยู่ ทางที่ดีไปใช้ firebox หรือใช้ Brave จะชัวร์กว่าแน่นอน


ดาวน์โหลด Google Chrome 

ดาวน์โหลด Plug-in  Adblock ของ Google Chrome


3. Brave Browser บล๊อคได้ถึง 100%

เหมือนกับ Firefox เลย Brave นั่นจะทำการป้องกัน Script ของ Google ทุกอย่างแต่จะแตกต่างกับ Firefox ตรงเราสามารถเลือกเปิด/ปิด การดูโฆษณาได้แถมได้เหรียญ คริปโต ฟรีด้วยนะถ้าเราเลือกที่จะดูโฆษณา


ดาวน์โหลดใช้งานได้ที่  Brave 

อ้างอิง   https://tinyurl.com/4dfnvd2a

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

"ฟรี" ตัวช่วยสแกนเอกสาร

 Adobe Scan

เวลาสแกนเอกสารหลายคนมักอยากได้เป็นไฟล์ PDF เพื่อนำไปใช้งานต่อ แอปที่เหมาะสำหรับไฟล์ประเภทนี้ก็คือ Adobe Scan จากค่าย Adobe ผู้พัฒนาไฟล์ PDF นั่นเอง แอปนี้ใช้งานได้ทั้งบน iOS และ Android เพียงแค่เปิดกล้องขึ้นมาถ่ายภาพก็สามารถเปลี่ยนเป็นไฟล์เอกสาร  PDF ได้อย่างรวดเร็ว แถมยังพรีวิวไฟล์ได้ก่อนเซฟ เพื่อให้เราปรับขนาด, หมุน, Crop และแต่งสีได้ตามต้องการ

จุดเด่นของแอปนี้ก็คือ รองรับการทำงานกับแอปอื่นๆของ Adobe ได้อย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นแอปอย่าง Adobe Acrobat หรือ Adobe Fill & Sign ช่วยให้เราแก้ไข, เพิ่มข้อความ, เซ็นลายเซ็นลงบนเอกสารที่สแกนเอาไว้ได้ ที่สำคัญแอปนี้เป็นแอปฟรีมีฟีเจอร์พื้นฐานให้ครบ แต่มีระบบสมัครสมาชิกรายเดือนเพื่อปลดล็อกฟีเจอร์เพิ่มเติมได้

Genius Scan

แอปต่อมาคือ Genius Scan ถือเป็นอีกหนึ่งแอปยอดนิยม ซึ่งทางผู้พัฒนาเคลมว่ามีคนใช้งานสแกนเอกสารไปมากกว่า 500 ล้านครั้งแล้ว แอปนี้สามารถสแกนเอกสารให้เป็นไฟล์ JPG และ PDF ได้

จุดเด่นของแอปนี้คือ ฟีเจอร์ smart page detection ตรวจจับหน้ากระดาษให้อัตโนมัติ พร้อมปรับมุมมองเอกสารไม่ให้บิดเบี้ยว พร้อมปรับแต่งภาพให้คุณภาพดีขึ้น เช่น ปรับตัวหนังสือให้อ่านง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังมี patch scanning ช่วยสร้างไฟล์เอกสารหลายหน้าได้ในเวลาไม่กี่วินาที รวมถึงสามารถจัดระเบียบไฟล์ด้วยการใส่ชื่อและแท็ก เพื่อให้เวลาย้อนกลับมาหาจะได้เจอง่ายขึ้น

ไฟล์ที่สแกนมาแล้วสามารถอัปโหลดขึ้น cloud อย่าง Dropbox, Evernote, Expensify, Facebook, Google Drive, OneDrive (and OneDrive for Business), OneNote, FTP, SugarSync และ WebDAV ในกรณีที่เป็นเอกสารสำคัญ เราสามารถป้องกันได้ด้วยการเข้ารหัสและรหัสผ่าน ( แถมรองรับ Touch ID บน iOS) ที่สำคัญคือแอปนี้สามารถใช้งานได้ฟรีทั้งบน Android และ iOS ( แต่ก็มี  in-app purchases ขายในแอป)

ส่วนความปลอดภัยหายห่วงเพราะมีฟีเจอร์หลายอย่าง ผสานด้วยฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย  แอปนี้โหลดได้ฟรีแต่ถ้าอยากใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลบน Cloud แบบไม่จำกัดและการ sync ข้อมูลทั้งเว็บและแอปผ่าน Genius Cloud จะต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนเพิ่มค่ะ

CamScanner

CamScanner เป็นอีกแอปยอดนิยมที่เปลี่ยนกล้องมือถือเป็นตัวช่วยสแกนเอกสาร รองรับการสแกนเอกสารที่หลากหลาย ตั้งแต่เอกสารทั่วไปใบเสร็จขนไปถึงใบรับเงิน โดยจะแปลงเป็นไฟล์ PDF พร้อมอัปโหลดขึ้น Box, Google Drive, Dropbox, Evernote หรือ OneDrive ได้อัตโนมัติ ตัวแอปมาพร้อมฟีเจอร์แก้ไขเอกสาร ใส่คำอธิบายประกอบ ใส่ลายน้ำเพื่อให้เอกสารที่สแกนมาดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น

กลุ่มผู้ใช้หลักจะเป็นคนทำงานและนักธุรกิจ ซึ่งแอปสามารถเชิญเพื่อร่วมงานเข้ามาดูไฟล์ที่สแกนไว้ได้เวลาทำงานร่วมกัน เพื่อแสดงความเห็น รวมถึงใส่รหัสผ่านเพื่อป้องกันคนที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาดู

แอปนี้สามารถใช้งานได้ฟรีทั้งบน  Android และ iOS แต่สามารถจ่ายเงินอัปเกรดเป็นบัญชีพรีเมียมซึ่งเลือกจ่ายได้แบบรายเดือนหรือรายปี ซึ่งจะได้พื้นที่เก็บข้อมูล 10GB, การส่งลิงก์เอกสารที่มีการปกป้องด้วยรหัสผ่าน, การโหลดเอกสารพร้อมกันหลายฉบับ เป็นต้น

Microsoft Office Lens

หากใครที่ต้องการแอปที่มีความเสถียรสูง เพื่อใช้ทำงานต่อใน Microsoft Office ขอแนะนำแอป Microsoft Office Lens แอปนี้สแกนเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทั่วไป, นามบัตร จนไปถึงข้อความที่เขียนบน whiteboard รองรับหลายภาษา เช่น อังกฤษ, เยอรมัน, สเปนและจีน เป็นต้น  ถ่ายเสร็จแล้วสามารถแปลงเป็นไฟล์  PDF เพื่อใช้ต่อกับ Word, Powerpoint, OneDrive หรือแชร์ต่อให้แอปอื่นๆได้สบายๆ

Office Lens เรียกว่าใช้งานง่าย UI หน้าตาสะอาดสะอ้าน เข้าใจง่าย แถมโหลดใช้งานฟรีได้ทั้งบน Android และ iOS โดยที่ไม่มีโฆษณามากวนใจค่ะ

Swiftscan

Swiftscan  (หรือชื่อเก่าคือ ScanPro) เรียกว่ามีฟีเจอร์ครบๆเหมือน CamScanner ใช้สแกนเอกสาร ส่งต่อให้คนอื่นหรืออัปโหลดไปเก็บไว้บน Cloud นอกจากเอกสารแล้วแอปนี้ยังสามารถใช้สแกน QR Code/บาร์โค้ด ได้ด้วย  ที่สำคัญยังมาพร้อมทีเด็ดอย่าง OCR ถอดข้อความได้หลายภาษาเพื่อเอาไปใช้งานต่อได้อย่างรวดเร็ว

ฟีเจอร์ส่วนใหญ่เปิดให้ใช้งานฟรีทั้งบน iOS และ Android เลยค่ะ แต่ในแอปจะมี in-app purchase สำหรับซื้อเครดิตสำหรับคนที่ต้องการจะส่งแฟกซ์ รวมถึงระบบสมัครสมาชิกบน iOS เพื่อใช้ฟีเจอร์ขั้นสูง

Document Scanner

Document scanner เรียกว่าเป็นแอปสแกนเอกสารบน Android ที่ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ภาพเอกสารที่สแกนออกมาคมกริบ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ PDF หรือ JPEG พร้อมฟีเจอร์เพิ่มคุณภาพเอกสารที่สแกนมา คร็อปภาพ จัดระเบียบไฟล์เป็นโฟลเดอร์หลัก โฟลเดอร์ย่อยเพื่อให้หาไฟล์ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถส่งไฟล์ไปยังบริการ Cloud ต่างๆได้

นอกจากนั้นยังมีฟีเจอร์สร้าง QR codes ได้ด้วย

Clear Scan

Clear Scan อีกแอปฟรียอดนิยมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่สามารถถ่ายภาพแล้วแปลงเป็น PDF แบบมืออาชีพหรือไฟล์ JPEG ได้อย่างรวดเร็ว มาพร้อมระบบตรวจจับขอบภาพให้อัตโนมัติเพื่อไม่ให้ตัดส่วนที่ต้องการทิ้ง รวมถึงมีการรันเลขหน้าให้อัตโนมัติหากเรามีการลบเอกสารบางหน้าทิ้งก็จะเรียงเลขใหม่ให้

นอกจากนั้นยังมีฟีเจอร์แก้ไขภาพอัตโนมัติ เช่น ปรับความสว่าง, ลบเงา, ยืดภาพให้ตรงเพื่อให้ตัวหนังสือคมชัด เรียกว่าจะเอามาใช้ส่วนตัวหรือทำงานก็ตอบโจทย์ รวมถึงฟีเจอร์ดึงข้อความจากรูปภาพด้วย OCR

แอปนี้เปิดให้โหลดฟรีแต่มีขาย in-app purchases สำหรับคนที่อยากได้ฟีเจอร์อื่นๆเพิ่มเติม

Fast Scanner

Fast Scanner แอปนี้สามารถสแกนและเปลี่ยนรูปถ่ายของใบเสร็จ, โน้ตย่อ, นามบัตรหรือเอกสารอื่นๆให้กลายเป็นไฟล์ PDF แบบหลายหน้าได้ ซึ่งไฟล์ที่สแกนมาจะเก็บในเครื่อง เปิดใช้งานได้ทุกเวลาที่ต้องการผ่านแอปตัวเองหรือแอปอื่นๆ จุดเด่นก็คือ การประมวลผลที่ค่อนข้างเร็ว แปลงไฟล์จากรูปถ่ายให้เป็นเอกสารได้อย่างทันใจ ใช้งานสแกนเอกสารได้มไ่จำกัด พร้อมเครื่องมือแก้ไขเอกสาร

แอปนี้มีให้โหลดฟรีทั้งบน iOS และ Android แต่ละมี in-app purchases เพื่อปลดล็อกฟีเจอร์ได้

แถมท้าย

แถมท้ายสำหรับใครที่ใช้ไอโฟนและติดต้งระบบปฏิบัติการ iOS 14อยู่แล้ว แต่ไม่อยากโหลดแอปมาเพิ่มให้เปลืองพื้นที่ แนะนำให้เปิดแอป Note ในเครื่อง จากนั้นเลือกสร้างโน้ตใหม่ กดที่ไอคอนกล้องถ่ายรูป แล้วแตะสแกนเอกสาร  จัดเอกสารให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ (หากอุปกรณ์ของคุณอยู่ในโหมดอัตโนมัติ เอกสารของคุณจะถูกสแกนโดยอัตโนมัติ) ถ้าต้องการสแกนด้วยตัวเอง ให้แตะปุ่มชัตเตอร์ หรือแตะปุ่มระดับเสียงปุ่มใดปุ่มหนึ่ง จากนั้นลากมุมต่างๆ เพื่อปรับภาพสแกนให้พอดีกับหน้า แล้วแตะเก็บภาพสแกน เลือกบันทึก หรือเพิ่มการสแกนเพิ่มเติมลงในเอกสารเท่านี้ก็เรียบร้อย

อ้างอิง  https://tinyurl.com/tz3w98bu

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ใช้งาน Microsoft office ฟรี

 หากใครกำลังคิดหนัก จะใช้งาน Microsoft แล้วต้องหาแคร็คหรือเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนเพื่อใช้งาน ตัดปัญหานั้นออกไปก่อนเลนครับ เพราะ Microsoft มี office online ให้ใช้งานฟรีคล้ายกับบริการของ Google เลย

Office online มีตัวเลือกให้ใช้งานหลักๆ ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น Word , Excel , Power Point , onenote  รวมทั้งบริการให้เลือกใช้งานเพิ่มอย่างเช่น To do , Skype , Team 

วิธีการใช้งานคือ

1.ไปที่ office Online 

2.ใครมีบัญชี Microsoft อยู่แล้ว ให้กด Sign in  แต่หากใครยังไม่มี  ก็สมัครก่อน

3.เมื่อ Log in เข้ามาได้แล้ว 

4.เราสามารถกด +  และกด Create แล้วเลือกว่าจะเลือกใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้เลย

5.เมื่อกดเข้าไปที่ Word จะมี Template ให้เลือกใช้งาน แต่บางอันต้องเสียเงินเป็นแบบ Premium ถึงจะใช้งานได้ 

6.เครื่องมือในแท็ป เรียกได้ว่าก็มีให้ใช้แบบพื้นฐานครบครัน

7.วิธีการบันทึกก็กดไปที่ไฟล์ เลือก บันทึกเป็น สามารถบันทึกเข้าไปใน Onedrive ของ Microsoft ได้ หรือจะดาวน์โหลดเอกสารลงในเครื่องก็ได้ โดยจะโหลดมาเป็นนามสกุล .docx  ซึ่งสามารถเปิดกับโปรแกรม Word ได้ในทุกเวอร์ชั่น

หมายเหตุ : หากเราเซฟลง Onedrive จะเก็บได้มากสุด 5GB นะ แต่หากต้องการพื้นที่เพิ่ม  ต้องเสียเพิ่มประมาณ 70 บาทต่อเดือน จะได้ 100 GB แต่หากใครเก็บแค่ไฟล์เอกสารอย่างเดียว คิดว่าไม่จำเป็นต้องเพิ่มก็ได้นะ 5GB นี่เก็บไฟล์เอกสารได้หลายพันฉบับเลย ยกเว้นไฟล์ที่มีภาพเยอะๆ  

อ้างอิง   https://tinyurl.com/2wuhnydj

เคล็ดลับในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ

Google  มีข้อแนะนำสำหรับการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างไรให้ปลอดภัย  ซึ่งเป็น 5 เคล็ดลับที่ผู้ใช้งานสามารถทำตามได้อย่างง่ายดาย แต่สามารถช่วยให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือปลอดภัยได้เป็นอย่างดี

1. ล็อกโทรศัพท์

การตั้งค่าการล็อกหน้าจอช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับโทรศัพท์มือถือในกรณีที่เผลอลืมวางทิ้งไว้ หรือกังวลว่าจะมีคนอื่นหยิบไปและเปิดดูข้อมูลต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถล็อกโทรศัพท์ด้วย PIN รหัสผ่าน หรือรูปแบบการวาดเส้น (Pattern) โดยไปที่การตั้งค่า > ส่วนตัว > ความปลอดภัย > ล็อกหน้า

2 ค้นหาโทรศัพท์ที่หายไป

โปรแกรมจัดการอุปกรณ์ Android (Android Device Manager) ช่วยให้ค้นหาตำแหน่งโทรศัพท์ ทำให้โทรศัพท์ส่งเสียง หรือล้างข้อมูลในอุปกรณ์จากระยะไกลได้ง่าย เช่น จากคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป เป็นต้น หากโทรศัพท์ของคุณหายไป โปรแกรมจัดการอุปกรณ์ Android จะช่วยระบุตำแหน่งและแสดงตำแหน่งโดยประมาณของโทรศัพท์บน Google Maps นอกจากนี้ คุณยังสามารถเลือกให้โทรศัพท์ส่งเสียงที่ระดับเสียงสูงสุดเป็นเวลา 5 นาที แม้จะตั้งค่าเป็นโหมดเงียบหรือสั่นไว้ก็ตาม ด้วยวิธีนี้ คุณสามารถค้นหาตำแหน่งของโทรศัพท์ที่วางไว้ผิดที่ได้ เพียงไปที่ android.com/devicemanager

3. ข้าถึงเนื้อหาที่ปลอดภัย

หากคุณมีบุตรหลานที่ใช้โทรศัพท์ของคุณ ขอแนะนำให้เปิดฟีเจอร์ค้นหาปลอดภัย (SafeSearch) เพื่อช่วยกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก แม้ว่าจะไม่มีตัวกรองใดที่ทำงานได้สมบูรณ์แบบ 100% แต่การเปิดตัวกรองก็ช่วยบล็อกผลการค้นหาที่ไม่เหมาะสมได้ สำหรับ Google Chrome ให้เลือก “การตั้งค่า” ตามด้วย “ความเป็นส่วนตัว” แล้วเลือก “Safe Browsing” สำหรับแอป Google ให้ไปที่ “การตั้งค่า” จากนั้นเลือก “บัญชีและความเป็นส่วนตัว” และเปิดใช้งาน “ตัวกรองค้นหาปลอดภัย” ส่วนใน YouTube เลือก “การตั้งค่า” ตามด้วย “ทั่วไป” จากนั้นเลือก “โหมดที่จำกัด” 

4. ป้องกันการซื้อที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่พึงประสงค์

ใน Google Play Store ผู้ใช้สามารถตั้ง​ค่าได้ว่าจะให้ระบบถามรหัสผ่านบ่อยแค่ไหน ผู้ใหญ่อาจไม่ต้องการถูกถามถึงรหัสผ่าน แต่ผู้ปกครองที่บุตรหลานชอบเล่นโทรศัพท์จะต้องได้รับการแจ้งเตือนทุกครั้ง คุณสามารถตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตั้งค่าตามที่คุณต้องการโดยไปที่แอป Google Play Store เพียงแตะไอคอน Google Play Store จากนั้นไปที่การตั้งค่า ในส่วน “การควบคุมผู้ใช้” ให้แตะ “ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์สำหรับการซื้อ” เลือกการตั้งค่ารหัสผ่าน: “สำหรับการซื้อทั้งหมด” จากนั้นก็พิมพ์รหัสผ่านของคุณ ง่ายๆ เพียงเท่านี้

5. ตรวจสอบความปลอดภัย

วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบและจัดการการตั้งค่าความปลอดภัยของบัญชี Google คือการตรวจสอบความปลอดภัย (Security Checkup) คุณสามารถเพิ่มข้อมูลการกู้คืนเพื่อช่วยให้เราติดต่อกันได้หากคุณเข้าบัญชีไม่ได้ การอนุญาตสิทธิ์เข้าถึงบัญชีช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของแอป เว็บไซต์ และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับบัญชี Google ของคุณ ลองเข้าไปดูและทำให้แน่ใจว่าคุณไว้วางใจและใช้งานแอป เว็บไซต์ และอุปกรณ์เหล่านั้นทั้งหมดจริงๆ

อ้างอิง  https://tinyurl.com/46tk5nby

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564

แยกเสียง กับ ดนตรี ออกจากกัน

 เป็นเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เป็นเว็บเดียวทำได้ทั้งตัดเสียงร้อง หรือตัดเสียงดนตรีในเวลาเดียวกัน

วิธีการ

1. โดยเข้าเว็บไซต์ https://vocalremover.org/ 

2. จากนั้นคลิก browse my files แล้วเลือก ไฟล์เพลงที่มีเสียงคนร้องปกติได้เลย เพื่อให้ทางเว็บไซต์นั้นแยกเสียงให้

3. จากนั้รอประมาณ 10 วินาที จะขึ้นเป็นกราฟเสียง แล้วฟังผลลัพธ์ดูว่า หลังตัดเสียงคนร้องเหลือแต่ดนตรีนั้นเป็นอย่างไร

     3.1  สามารถคลิกที่ Music เพื่อดาวน์โหลดเฉพาะบรรเลงดนตรี โดยไม่มีเสียงร้อง ไว้ใช้ร้องคาราโอเกะได้เลย

     3.2  หรือคลิกที่ Vocals เพื่อโหลดเฉพาะเสียงร้อง โดยไม่มีเสียงดนตรี

4. เสร็จแล้วคลิกที่ X ระบบจะถามยืนยันเพื่อลบไฟล์เพลงออกจากเว็บ

แค่นี้ก็ได้ไฟล์เพลงที่ไม่มีคนร้อง ไว้สำหรับร้องคาราโอเกะแล้ว หรือไฟล์สำหรับเสียงคนร้องอย่างเดียวไว้สำหรับฟังเสียงคนร้องเท่านั้น ทั้งนี้เบื้องหลังการแยกเสียงนั้นโดยใช้ AI วิเคราะห์เสียงร้อง กับเสียงดนตรี แยกออกจากกันได้ ลองไปใช้งานดูใช้ฟรี

อ้างอิง  https://tinyurl.com/rdx3sbhx

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2564

โปรแกรมแอนตี้ไวรัสฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

เรื่องควรรู้ก่อนที่จะดาวน์โหลดโปรแกรมแอนตี้ไวรัส

ถึงแม้จะเป็นโปรแกรมฟรี แต่ผู้พัฒนาส่วนใหญ่ก็ต้องการหารายได้ ดังนั้นผู้พัฒนาส่วนใหญ่ก็ย่อมหาช่องทางสร้างรายได้ด้วยหลากหลายวิธี ก็มีอยู่ 3 สิ่งที่เราพึงระวัง

1. จ่ายเงินอัปเกรด

โปรแกรมแอนตี้ไวรัสส่วนใหญ่จะพยายามชักจูงให้คุณจ่ายเงินเพื่ออัปเกรดผ่านหน้าต่างแจ้งเตือน หรืออีเมล ก็อย่าไปสนใจ ใช้แบบฟรีไปเรื่อยๆ นี่แหละ แต่ถ้าใช้แล้วถูกใจ อยากได้ฟีเจอร์เพิ่ม จะจ่ายเงินอัปเกรดก็จัดไป

2. แถบเครื่องมือ (Toolbar) และ ส่วนขยายของเว็บเบราว์เซอร์ (Browser Extension)

นี่เป็นหนึ่งในปัญหาโลกแตกที่ทำให้โปรแกรมที่ปลอดภัยหลายๆ ตัว ถูกกล่าวหาว่ามีไวรัส มี มัลแวร์ (Malware) อันที่จริง โดยส่วนใหญ่แล้วไอมัลแวร์ที่ว่าก็จะเป็นซอฟต์แวร์พวกที่เป็น แถบเครื่องมือ (Toolbar) และ ส่วนขยายของเว็บเบราว์เซอร์ (Browser Extension) นี่แหละ แต่ปกติแล้ว เราสามารถเลือกที่จะไม่ติดตั้งของแถมไม่พึงประสงค์เหล่านี้ได้ ปัญหา คือ หลายคน "คลิก Next" อย่างเดียว ไม่อ่านอะไรเลย พอได้ของแถมไป ก็ออกมาโวยวายซะงั้น

3. เลือกใช้งานโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเพียงตัวเดียวพอ

ส่วนใหญ่แล้ว โปรแกรมพวกนี้ถ้าติดตั้งหลายตัวพร้อมกันมักจะทำงานขัดแย้งกัน ทำให้ระบบมีปัญหาได้ ควรเลือกติดตั้งเพื่อใช้งานแค่ทีละตัวนะครับ

ถ้าเข้าใจเงื่อนไข 3 ข้อด้านบนแล้ว ก็มาเลือกกันเลยว่าจะใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสตัวไหนดี

10 โปรแกรมแอนตี้ไวรัสฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

1. โปรแกรม TotalAV (Windows / macOS)

โปรแกรมแอนตี้ไวรัสแบบฟรีที่มีคุณสมบัติให้มาเหมือนกับตัวจ่ายเงิน ได้รับคำชมจากหลายสำนัก และมียอดจำนวนผู้ใช้กว่า 25 ล้านคนทั่วโลก มีทั้งการป้องกันแบบเรียลไทม์, ตรวจจับมัลแวร์, ป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ฯลฯ 

ดาวน์โหลดโปรแกรม TotalAV


2. โปรแกรม Kaspersky Security Cloud Free (Windows)

Kaspersky Security Cloud Free เป็นแอนตี้ไวรัสแบบฟรีที่ Kaspersky ปล่อยออกมาให้ใช้งานแทนโปรแกรมตัวเดิมอย่าง Kaspersky Free Antivirus

รองรับการสแกน และลบมัลแวร์ต่างๆ ลูกเล่นไม่เยอะเท่าตัวเสียเงิน แต่จุดเด่นน่าจะอยู่ที่มีให้ใช้งานทั้งบนคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนเลย

ดาวน์โหลดโปรแกรม Kaspersky Security Cloud Free


3. โปรแกรม Avira Free Antivirus (Windows / macOS)

แอนตี้ไวรัส Avira หรือที่หลายคนนิยมเรียกกันว่า โปรแกรมแอนตี้ไวรัสร่มแดง (Red Umbrella Antivirus) เป็นโปรแกรมแอนตี้ไวรัสยอดนิยม ตัวโปรแกรมใช้งานง่าย และมีหน้าตาที่สวยงาม จากผลการทดสอบล่าสุดของ AV-Comparatives ได้ระบุว่า Avira (เวอร์ชัน Pro) สามารถปกป้องได้ถึง 99.9% เลยทีเดียว ก็คาดหวังว่าเวอร์ชันฟรีก็น่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีไม่แพ้กัน

โปรแกรมนี้มีระบบกำหนดเวลาสแกนล่วงหน้าที่ตั้งค่าได้อย่างง่ายดาย อย่างการตั้งให้สแกนอย่างรวดเร็วทุกวัน และสแกนแบบละเอียดอาทิตย์ละครั้งเป็นต้น เมื่อรวมกับความสามารถในการปกป้องแบบ Real-time มันก็น่าจะทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้เป็นอย่างดี

ดาวน์โหลดโปรแกรม Avira Free Antivirus

Windows : https://www.avira.com/en/free-antivirus-windows
macOS : https://www.avira.com/en/free-antivirus-mac

4. โปรแกรม Bitdefender Antivirus Free (Windows / macOS)

โปรแกรม Bitdefender Antivirus Free เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่ในเวอร์ชันได้ผลทดสอบการป้องกันสูงถึง 99.9% สำหรับเวอร์ชันฟรีของโปรแกรม Bitdefender นั้นมีคุณสมบัติเด่นอย่างการตรวจจับมัลแวร์ และตรวจจับฟิชชิ่ง (ล่อหลอกลวงพราง) ในขณะที่หน้าตาโปรแกรมค่อนข้างเรียบง่าย ไม่มีตัวเลือกที่ดูยุ่มย่าม อีกทั้งยังออกแบบมาให้ใช้ทรัพยากรเครื่องในการทำงานต่ำอีกด้วยล่ะ

ดาวน์โหลดโปรแกรม Bitdefender Antivirus Free

Windows : https://www.bitdefender.com/solutions/free.html
macOS : https://apps.apple.com/th/app/bitdefender-virus-scanner/id500154009?mt=12

5. โปรแกรม Avast Free Antivirus (Windows / macOS)

แม้ว่า Avast จะได้รับผลการทดสอบในการป้องกันต่ำกว่า 2 ตัวแรกที่เราหยิบมาแนะนำไปเล็กน้อย (98.9%) แต่มันก็ยังถือว่าเป็นคะแนนที่ค่อนข้างสูงมากอยู่ดี จุดแข็งหลักของ Avast คือการใช้ทรัพยากรเครื่องในการทำงานที่ต่ำมาก ทำให้เราใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ได้เหมือนปกติ ไม่รู้สึกช้าลงแต่อย่างใด

ตัวโปรแกรมใช้งาน และติดตั้งง่าย ใครที่กำลังมองหาโปรแกรมแอนตี้ไวรัสฟรีมาใช้งาน โปรแกรมนี้ถือว่าน่าสนใจมากทีเดียว

ดาวน์โหลดโปรแกรม Avast Free Antivirus

Windows : https://www.avast.com/lp-ppc-hp-v4?ppc_code#pc
macOS : https://www.avast.com/lp-ppc-free-mac-security-download#pc

6. โปรแกรม AVG Free Antivirus (Windows / macOS)

โปรแกรม AVG Free Antivirus สามารถทำคะแนนในการทดสอบได้ดี (98.9%) และใช้ทรัพยากรเครื่องในการทำงานต่ำ แม้ว่าจะมีฟีเจอร์ที่เราอาจจะไม่ได้ใช้อย่างเครื่องมือล้างไฟล์ขยะในระบบ และแอปแอนตี้ไวรัสสำหรับใช้บนสมาร์ทโฟนแถมมาด้วย แต่โดยรวมแล้วมันก็เป็นโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่น่าใช้งานอยู่นะ

แต่อย่างไรก็ตาม เราอาจจะเจอหน้าต่างเชิญชวนอัปเกรดเด้งมารบกวนบ้าง แต่ถ้ามองว่ามันช่วยให้เราอัปเกรดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้ง่ายขึ้น มันก็โอเคแหละ

ดาวน์โหลดโปรแกรม AVG Free Antivirus

Windows : https://www.avg.com/en-ww/free-antivirus-download
macOS : https://www.avg.com/en-us/avg-antivirus-for-mac

7. โปรแกรม Adaware Antivirus (Windows)

โปรแกรม Adaware Antivirus เป็น โปรแกรมแอนตี้ไวรัสตัวนี้ในเวอร์ชันโปรทำคะแนนได้สูงถึง 99.3% ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่ามันจะคุ้มครองคอมพิวเตอร์ของเราได้เป็นอย่างดี แม้ว่าโปรแกรมนี้จะใช้ทรัพยากรเครื่องสูงกว่าโปรแกรมอื่น แต่ก็ถือว่าน่าใช้งานมากทีเดียวสำหรับผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows

ในขณะที่เวอร์ชันเสียเงินของโปรแกรมนี้จะเพิ่มการป้องกันให้กับเว็บไซต์, อีเมล และมีไฟร์วอลให้ใช้งานด้วย ซึ่งจ่ายเพิ่มก็ไม่แพงเท่าไหร่เลย

ดาวน์โหลดโปรแกรม Adaware Antivirus

Windows : https://www.adaware.com/free-antivirus-download

8. โปรแกรม Trend Micro HouseCall (Windows / macOS)

ปรแกรม Trend Micro HouseCall เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งจาก Trend Micro สามารถใช้งานได้เลยทันทีหลังจากดาวน์โหลดมา แถมยังสามารถสแกนไปยังอุปกรณ์ IoT ที่มีอยู่ในเครือข่ายได้ด้วยนะ ข้อเสียก็เหมือนกับโปรแกรมตัวก่อนหน้านี้ คือ ไม่สามารถปกป้องแบบ Real-time ได้ หากคุณคิดว่าเครื่องของคุณน่าจะโดนโจมตีอยู่ ก็ลองดาวน์โหลดมันมาสแกนเพื่อตรวจสอบได้

นอกจากนี้แล้วทาง Trend Micro ยังมีเครื่องมือดีๆ ที่ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีอีกเพียบ อย่าง เครื่องมือการป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Anti-ransomware Toolkit) เครื่องมือป้องกันเว็บเบราว์เซอร์ (Browser Guard) และ เครื่องมือปราบรูทคิท (Rootkit Buster)

ดาวน์โหลดโปรแกรม Trend Micro HouseCall

Windows : https://www.trendmicro.com/th_th/forHome/products/housecall.html
macOS : https://www.trendmicro.com/th_th/forHome/products/housecall.html

9. โปรแกรม Malwarebytes Anti-Malware (Windows / macOS)

โปรแกรมแอนตี้ไวรัส จากค่าย Malwarebytes นั้นมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมานานแล้ว และสำหรับ โปรแกรม Malwarebytes Anti-malware จากค่ายนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง มันมีความสามารถในการตรวจจับ Adware ที่แข็งแกร่งเป็นอย่างมาก ข้อดีอีกอย่างของโปรแกรมนี้มีขนาดไฟล์ที่เล็กมาก แถมยังสแกนได้อย่างว่องไวอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เวอร์ชันฟรีคุณจะต้องสั่งสแกนด้วยตนเองเท่านั้น ถ้าอยากให้มันป้องกันแบบสดๆ เดี๋ยวนั้น หรือที่เรียกว่าเรียลไทม์ (Real-time) ล่ะก็ต้องจ่ายเงินอัปเกรดเท่านั้น แต่ถึงแม้จะเป็นแบบนั้น โปรแกรมนี้ก็ถือว่าเจ๋งอยู่ดีนะครับ

ดาวน์โหลดโปรแกรม Malwarebytes Anti-Malware

Windows : https://www.malwarebytes.com/premium/
macOS : https://www.malwarebytes.com/mac/

10. โปรแกรม ZoneAlarm Free Antivirus (Windows)

นอกเหนือจากความสามารถในการป้องกันไวรัสแบบพื้นฐานแล้ว โปรแกรม Zone Alarm Free Antivirus ก็ยังมาพร้อมกับ Firewall แบบพื้นฐานให้เราใช้อีกด้วย ซึ่งหาได้ยากในโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแบบแจกฟรี แถมยังมีระบบป้องกันการขโมยข้อมูลจากหน้าเว็บอันตรายให้ใช้อีกด้วย

ดาวน์โหลดโปรแกรม ZoneAlarm Free Antivirus

Windows : https://www.zonealarm.com/software/free-antivirus

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564

จดบันทึกบน Google Keep

Google Keep เป็นแอปพลิเคชันสำหรับจดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบให้มีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจดรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างสะดวก 

จดบันทึกด้วยเสียง จดบันทึกพร้อมใส่รูปภาพ ตั้งเตือนกิจกรรมที่ต้องทำ แชร์บันทึกกับบุคคลอื่นที่ต้องการ ซึ่งสามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา บนทุกๆ อุปกรณ์ ไม่ว่าจะบนคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต แค่ล็อกอินบัญชี Google ไว้เท่านั้น 

และนี่คือ 7 ฟีเจอร์ที่จะช่วยให้การใช้งาน Google Keep มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1. จัดกลุ่มไอเดียให้เป็นระเบียบได้ ง่ายนิดเดียว

Google Keep มีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแบ่งและจัดกลุ่มของบันทึกและไอเดียต่างๆ ให้เป็นระเบียบได้ง่ายๆ เช่น การใส่แฮชแท็ก (#) ก็จะสามารถจัดกลุ่มและค้นหาบันทึกต่างๆ ที่สัมพันธ์กันได้อย่างรวดเร็ว

2. พิมพ์ไม่ทัน เขียนได้ หรืออัดเสียงไว้ ได้หมด

และในบางครั้ง การพิมพ์บันทึกข้อความอาจจะไม่รวดเร็วทันใจ Google Keep จึงมีฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้สามารถเขียนลงบนหน้าจอ หรืออัดเสียงพูด โดย Google Keep จะช่วยพิมพ์ข้อความที่ผู้ใช้งานพูดไปพร้อมๆ กันด้วย

3. แปลงลายมือเป็นตัวอักษร ก็ทำได้นะ

สำหรับการเขียนหน้าจอนั้น Google Keep ยังสามารถแปลงข้อความที่ถูกเขียนออกมาเป็นตัวอักษรได้อีกด้วย เพียงกดปุ่มจุดสามจุดที่มุมขวาบน แล้วเลือก “จับข้อความจากรูปภาพ” (ยังไม่เปิดให้บริการในภาษาไทย)

4. เจอบทความที่น่าสนใจ บันทึกเก็บไว้ได้เลย

ถ้าเจอบทความที่น่าสนใจในหนังสือก็สามารถบันทึกไว้ใน Google Keep ได้ง่ายๆ โดยเลือกรูปภาพจากเมนูด้านล่าง และเลือกถ่ายภาพ เพียงเท่านี้ก็สามารถเขียนบันทึกส่วนที่น่าสนใจได้อย่างรวดเร็ว

5. ตั้งเตือนได้ ไม่พลาดทุกกิจกรรม

นอกจากนี้ Google Keep ยังสามารถตั้งเวลาเตือนจากบันทึกได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานไม่พลาดทุกกิจกรรมที่ต้องทำ ซึ่งสามารถตั้งค่าได้ง่ายๆ โดยกดที่รูปกระดิ่ง และเลือกวันที่และเวลาที่จะให้เตือนได้ทันที

6. ปักหมุดโน้ตสำคัญไว้ ให้เห็นได้ชัด

สำหรับบันทึกสำคัญๆ ที่ต้องใช้บ่อยๆ ก็สามารถทำการปักหมุดให้อยู่ด้านบนสุด พร้อมทั้งสามารถเลือกใช้สีในแต่ละบันทึกเพื่อแยกให้เห็นชัดได้อีกด้วย เพียงกดค้างที่บันทึกที่ต้องการ กดรูปหมุด และกดจานสีเพื่อใส่สีลงในบันทึก 

7. แชร์โน้ตทิ้งไว้ แก้ไขร่วมกันได้ทีหลัง

นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถแชร์บันทึกบน Google Keep ให้คนในครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน เข้ามาใช้งานร่วมกันได้ด้วย ตั้งค่าโดยกดจุดสามจุดที่มุมขวาล่าง จากนั้นเลือก “ผู้ทำงานร่วมกัน” และเลือกรายชื่อที่ต้องการแชร์บันทึก

อ้างอิง  https://tinyurl.com/49ajwxab

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วิธีรับมือกับโซเชียล

 1. กำหนดเวลาใช้งานโซเชียล และเพิ่มเวลาให้คนในครอบครัว 

ละสายตาจากหน้าจอบ้าง ถ้าบางครั้งมันทำให้คุณรู้สึกหมกมุ่นจนเกินไป หรือถ้าจะให้ดีลองกำหนดเวลาใช้งานโซเชียล สร้างเป็นกฎเล็กๆ ในบ้าน หรือหากิจกรรม ที่ไม่ทำให้คนในครอบครัวรู้สึกอัดอัด

2. ปิดแจ้งเตือน ปิดระบบแนะนำ 

อย่ากดรับวีดีโอที่ระบบชอบเสนอตัวแนะนำ หรือ Recommend มาให้ ถึงแม้มันจะทำให้เราใช้งานได้สะดวกขึ้น เหมือนมีเลขาที่รู้ใจคอยส่งเนื้อหา หรือคลิปโปรดมาให้ดูทุกวัน แต่หารู้ไม่ว่า ระบบ Recommend นั้น กำลังส่องพฤติกรรมการใช้งาน และความสนใจของคุณอยู่ และจะค่อยๆ โจมตีด้วยโฆษณา แบบไม่ให้คุณได้ทันตั้งตัว

3. ล้างคุกกี้เป็นประจำ หรือเลือกใช้เบราเซอร์ที่ไม่เก็บประวัติการค้นหา

อย่าเก็บประวัติท่องเว็บ หรือ History เอาไว้ในเรื่องนานๆ ทางที่ดี ลบมันทิ้งไปหลังใช้งานนั้นดีที่สุด เพราะ AI จะได้ไม่ตามมาไล่ล่าเรา ลองเลือกเข้าเว็บผ่านเบราว์เซอร์ที่ไว้ใจได้ หรือใช้งานผ่านเว็บในโหมดที่ไม่ระบบตัวตนไว้เป็นดีที่สุด

4. เปิดรับข้อมูลรอบด้าน เพื่อเข้าใจข้อมูลที่แตกต่าง

อย่าเพิ่งหลงเชื่อข้อมูลที่ไหลอยู่บนไทม์ไลน์ เพราะมันอาจถูกบล็อกตัวพฤติกรรมและความสนใจ จนปิดกั้นข้อมูลอีกด้าน จนกลายเป็นความเชื่อเพียงด้านเดียว บางที่ข้อมูลที่ไม่ได้อยู่บนโซเชียลอาจจะช่วยให้คุณมองโลกกว้างขึ้นก็ได้ ใครจะไปรู้

5. อย่าแชร์ จนกว่าจะแน่ใจว่าได้ตรวจสอบข้อมูล และแหล่งที่มาแล้ว

หลายคนกดแชร์ข้อมูลโดยไม่ได้ตรวจสอบ พอมารู้ตัวอีกทีก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของคนแชร์ข่าวลวง ข่าวปลอม Fake News ช่วยเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ออกไป กลายเป็นส่วนหนึ่งของภัยบนโลกโซเชียล

อ้างอิง   https://tinyurl.com/yh3dd996

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

แอปพลิเคชันแต่งรูปฟรียอดฮิต

 รวมแอปพลิเคชันแต่งรูปฟรียอดฮิต บน iPhone และ Android ที่ต้องมีประจำเดือนพฤษภาคม

เป็นแอปพลิเคชันเปลี่ยนรูปภาพธรรมดาๆ ให้กลายเป็นภาพแบบเก๋ๆ แบบที่หลายๆ คนโพสต์อวดกันลงบนโลกโซเชียลอย่าง Facebook, Insgram หรือบนบล็อกส่วนตัวต่างๆ ส่วนใหญรองรับทั้งบน iOS, iPhone และ Android 

Adobe Photoshop Lightroom

สามารถทำอะไรได้หลากหลายมาก คล้ายๆ กับการย่อชุดโปรแกรมของ Adobe Lightroom ในคอมพิวเตอร์ (PC) มาไว้บน Smartphone

ย้ำ! ว่ามันแต่งรูปภาพได้มากกว่าที่คิด ล่าสุดนั้นแอป Adobe Lightroom ได้ถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม สามารถทำงานผ่านสมาร์ทโฟนได้แล้ว โดยมีจุดเด่นคือ การปรับแต่งรูปภาพที่ทำได้ง่ายกว่าในคอมพิวเตอร์ มีการประมวลผลได้ในทันที สามารถแชร์ออกสู่โลก Social ได้ทันที

Download แอปแต่งรูป Lightroom

ระบบ iOS: Lightroom

ระบบ Android: Lightroom

Phonto - Text on Photos

เน้นเรื่องของการใส่ตัวอักษรบนรูปภาพ ซึ่งในแอปพลิเคชั่นจะมีตัวฟอนต์หลากหลายแบบให้เลือก รวมไปถึงมีสัญลักษณ์สื่ออารมณ์ต่างๆ มากมาย เพื่อใส่ข้อความ เติมแต่งให้ภาพของคุณ มีสีสัน และเพิ่มความน่าสนใจได้อย่างลงตัว นับว่าเป็นแอปพลิเคชั่นแต่งรูปฟรีตัวหนึ่งที่น่าสนใจ และใช้งานได้ง่ายมากๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยากซับซ้อน แต่ต้องการความสวยงามแบบคลาสสิก

Download แอปพลิเคชั่นแต่งรูป Phonto

ระบบ iOS: Phonto

ระบบ Android: Phonto

แอปพลิเคชัน POMELO – Absolute filters!

แอป Pomelo Camera จะเหมาะกับผู้ที่ชอบการแต่งภาพแนวฮิปสเตอร์ แอปนี้จะให้สีภาพออกมาสวยทันใจ (สวว่างขึ้น) คล้ายๆ กับการเลือก Filter สำหรับรูปภาพ พร้อมทั้งยังทำการ Crop, Rolate และ Fade รูปได้ภายในตัว ส่วนมากจะใช้งานแอปแต่งรูปนี้ก่อน จะอัพภาพลงใน Instagram

Download แอปแต่งรูป Pomelo

ระบบ iOS: Pomelo

ระบบ Android: Pomelo

แอปพลิเคชัน Snapseed

แอปที่สามารถทำให้เราแต่งภาพแบบมืออาชีพอย่างง่าย Snapseed ถือเป็นแอปแต่งรูปในตำนานที่เปิดให้ดาวน์โหลดมานานมากอีกแอปหนึ่ง และยังก็ยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบัน คุณสมบัติของแอปแต่งรูปนี้คือการแต่งรูปแบบมือเดียว ไม่ซับซ้อน แต่กลับมี Functions จำเป็นที่หลากหลาย ทั้งการปรันโทนสี ปรับความสว่าง การปรับจุด Focus และการใส่ Filter เพื่อทำให้ภาพดูคลาสสิก

Download แอปแต่งรูป Snapseed

ระบบ iOS: Snapseed

ระบบ Android: Snapseed

แอปพลิเคชัน VSCOcam  

ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ เพราะมีฟิลเตอร์ให้เลือกแต่งภาพแนวฮิปสเตอร์มากมาย มีทั้งซื้อและปล่อยให้โหลดฟรี และยังสามารถปรับแต่งรูปภาพเช่นเพิ่มความคมชัด ปรับความสว่าง และปรับโทนรูปภาพได้อย่างง่าย หากไม่พอใจใน Filter ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลด Preset พิเศษสามารถซื้อแยกก็สามารถซื้อได้ที่ VSCO X โดยจะตกอยู่ที่ประมาณปีละ 6xx บาท

Download แอปแต่งรูป VSCOcam

ระบบ iOS: VSCOcam

ระบบ Android: VSCOcam

แอปพลิเคชัน Camera360 

ตอนนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วิธีการใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ บนแอปแต่งรูปเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมากๆ แอปที่ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อนย่อมเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายคนใฝ่ฝันหา แน่นอนเราเชื่อว่า Camera360 คือคำตอบของสาวๆ หลายคน ไม่เชื่อลองโหลดมาเล่นกันดูสิเล่นง่าย ไม่ยาก รับรองได้ภาพสวยถูกใจไว้สำหรับโพสต์ขึ้นโซเชียลมีเดียแน่นอน

Download แอปแต่งรูป

ระบบ iOS: Camera360

ระบบ Android: Camera360

Foodie - Camera for life แอปดีๆ สำหรับคนชอบถ่ายอาหาร :

เรียกว่าเป็นแอปที่มาพร้อม ฟิลเตอร์ในการแต่งภาพอาหารเยอะมากๆ จริงๆ สำหรับฟีเจอร์หลักๆ ในตัวแอปพลิเคชันนั้นแน่นมาสำหรับสายกินเป็นหลัก ใครชอบถ่ายอาหาร รีวิวอาหารแนะนำว่าโหลดแอปตัวนี้ไว้ในเครื่องรับรองได้ใช้งานแน่นอน บอกเลยว่าสามารถเพิ่มความอร่อยให้กับรูปอาหารด้วยไลฟ์ฟิลเตอร์ที่เต็มไปด้วยรสชาติให้เพื่อนๆ คุณที่มาเห็นภาพประทับใจแน่นอน

Download แอปแต่งรูป

ระบบ iOS: Foodie

ระบบ Android: Foodie

อ้างถึง   https://tinyurl.com/var8nyad

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เว็บไซต์เรียนเขียนเว็บฟรี

1. FreeCodeCamp

มาเริ่มที่เว็บไซต์แรกกับ FreeCodeCamp ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับเรียนรู้ web development ชื่อดังโดยก่อตั้งในปี 2014 ในตัวของเว็บไซต์จะประกอบด้วยหลักสูตร web developement มากมายซึ่งจะมีรูปแบบการเรียนรู้ learning by doing ด้วยการหลอมรวมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาอยู่ในแบบฝึกหัดที่จะค่อย ๆ ไต่ระดับความยากขึ้นไป ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปในแต่ละแบบฝึกหัด

ในแต่ละหลักสูตรจะมีใบ Certificate ให้ด้วยนะเออ ซึ่งเราสามารถที่จะนำไปใส่ใน linkedin หรือ resume ได้อีก แต่ เอ๊ะ!!! ตอนนี้ทุกคนคงคิดว่าเว็บไซต์ที่สอนฟรีใบ Certificate คงได้มาง่าย ๆ ดูไม่น่าได้รับการยอมรับแน่เลย แต่หลังจากที่แอดไปตะลุยหลักสูตรมาทำให้รู้ การจะได้ใบ cert มานั้นจะต้องผ่านแต่ละบทก่อน ซึ่งรวมกันทุกบทแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชั่วโมง!!! ยัง ยังไม่พอ เราต้องทำ Project หลักสูตรที่เราเรียนอีก 5 project นอกจาก learning platform แล้วตัว FreeCodeCamp ยังมี community ที่จะมาแชร์บทความต่าง ๆ มากมายตั่งแต่พื้นฐานยัน expert บวกกับ Forum community ที่เราสามารถที่จะตั้งคำถามข้อสงสัยในสิ่งที่เรียนมาในแต่ละหลักสูตรได้ เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น คล้ายกับ stackoverflow

FreeCodeCamp ถือว่าเป็นเว็บไซต์เรียน Web development ที่ครบวงจรในตัวเอง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนเว็บไซต์ทุก ๆ ท่าน

2. W3Schools

มาต่อกับเว็บไซต์ต่อไปที่นักพัฒนาเว็บไซต์ทุกคนต้องรู้จักอย่างแน่นอนกับ W3Schools เว็บไซต์ที่รวบรวมความรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ทั้ง Front-end และ Back-end W3Schools ก่อตั้งในปี 1998 มีสโลแกนประจำตัวที่แสดงถึงความเก่าแก่และยิ่งใหญ่อย่าง

เนื้อหาแต่ละหลักสูตรของ W3Schools จะมีการแบ่งหัวข้อที่ชัดเจนเรียงลำดับจากง่ายไปยาก ซึ่ง W3School จะเน้นไปที่การเรียนรู้จากตัวอย่างเป็นซะส่วนใหญ่ โดยแต่ละหัวข้อจะมีคำอธิบายและ code ตัวอย่างให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและแก้ไขได้ แต่ถ้าใครต้องการความท้าทายก็จะมีในส่วนของ W3Schools exercise ที่จะให้เราทำโจทย์จากสิ่งได้เรียนรู้มาในแต่ละหัวข้ออีกด้วย ในส่วนใบ Certification ของ W3Schools ก็สามารถมีได้ด้วยการจบหลักสูตรและ project บวกกับเงินอีก 95$

W3schools ถือเป็นเว็บไซต์ Web development ที่เก่าแก่ซึ่งเปรียบกับคัมภีร์ Guidebook สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถให้ย้อนกลับมาทบทวนได้เสมอไม่ว่าจะพึ่งเริ่มต้นหรือว่ามีประสบการณ์มานานแล้ว

3. The Odin Projects

The Odin Projects ก่อตั้งในปี 2013 โดยออกแบบมาสำหรับ Self learning ที่ต้องการหลักสูตรที่มีคุณภาพ ตัว The Odin Projects จะมีทั้ง Resource และ Open source ให้ใช้งานในการเรียนรู้พร้อมกับคำอธิบายที่ชัดเจน ทำให้ในแต่ละงานมีความท้าทายสูง ซึ่งในส่วนท้ายในแต่ละบทก็จะมี Assigment ให้ทำด้วยเช่นกัน หลักสูตร The Odin Projects เป็นภาษาอังกฤษ

นอกจากหลักสูตรเรียนแล้ว The odin project ก็ยัง Community ของตัวเองอีกด้วยซึ่งจะอยู่ใน Discord สิ่งที่ชอบของ The Odin projects คือ มี Resource ที่เยอะมาก!!! ทำให้เราสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ Solution ที่จะเป็นการแชร์ Code ของ Assignment แต่ละคนที่ทำก่อนหน้าเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นข้อผิดพลาดของ Code เราได้ชัดเจนขึ้นและนำมาปรับปรุงในการทำ Web development ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

The Odin Projects ถือเป็นเว็บไซต์สำหรับเรียนรู้ Web development ที่ไม่ค่อยเหมาะกับ beginner สักเท่าไหร่เมื่อเทียบกับ platform อีก 2 อันด้านบน แต่ถ้าใครมีประสบการณ์มาบ้างนี่อาจเป็นที่ที่ทำให้คุณได้ศึกษา Resource ใหม่ ๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้

4. coursera

มาถึงกับเว็บไซต์เรียนออนไลน์ที่มีชื่อเสียงมากเปรียบได้กับเจ้าพ่อแห่งวงการเรียนออนไลน์ก็ว่าได้กับ Coursera ก่อตั้งในปี 2012 ซึ่งทำงานกับมหาลัยกว่า 150 แห่งและมีคอร์สออนไลน์หลายแขนงมากกว่า 4,000 คอร์ส ในส่วนของคอร์ส Web development มีมากถึง 1,058 คอร์ส แอดบอกได้เลยว่าเยอะมาก แต่ถึงยังงั้นมันก็ยังเต็มไปด้วยคอร์สที่ไม่ดีและดีปะปนกันไป ซึ่งจะมีการวัดจาก คะแนน review หลักสูตรของ Coursera จะมีทั้งได้ใบ Certificate และ Degree ทำให้เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการเรียนจริงจัง สามารถนำไปใช้ยื่นสมัครได้เลย โดยจะมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 49 $ ในแต่ละคอร์ส แต่เราก็สามารถที่จะขอทุน Financial aid(บางคอร์ส) ได้ด้วยการเขียน statement of purpose ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 15 วันในการตรวจสอบ แต่ถ้าใครอยากเรียนฟรี ก็จะมีในส่วนของ Audit ที่จะสามารถเรียนตามบทฟรี แต่ว่าจะไม่สามารถทำ Assignment หรือ Exercise ได้ และไม่ได้รับใบ Certificate หรือ Degree ด้วย

เนื้อหาในแต่ละหลักสูตรของ Coursera จะให้ความรู้สึกมานั่งเรียน lecture มหาวิทยาลัยยังไงยังงั้น โดยการผสมผสานระหว่างคลิปสอน, เนื้อหาให้อ่าน และ exercise ให้ทำ แบ่งออกเป็นแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการ discuss คำตอบบางอย่างกับเพื่อนในคลาส ทำให้เรามี interactive ต่อเพื่อนในคลาสมากขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากเว็บไซต์ข้างบนทั้ง 3 ที่เน้นไปที่การ self-learning ซะเป็นส่วนใหญ่ และยังมีระบบ Grade ที่จะเป็นการนำคะแนนจาก Quiz มาคำนวณ ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนกลับไปเรียนในมหาลัย ยิ่งขึ้นไปอีก

Coursera ถือเป็นเว็บไซต์ที่มีหลักสูตรเยอะและหลากหลาย ดีบ้างแย่บ้างปนกันไป มีใบ Certificate และ Degree ที่เป็นมาตรฐานสากล อีกทั้งยังมีระบการเรียนที่ให้ความรู้สึกเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ทำให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้น ไม่ใช่แค่เรื่อง Web development แต่รวมทั้งการเริ่มเรียนสิ่งใหม่ที่เราสนใจอีกด้วย

5. Codewars

จาก 4 เว็บไซต์ที่กล่าวมาข้างตันจะเห็นได้ว่าแต่ละเว็บไซต์จะมีรูปแบบหลักสูตรที่เฉพาะตัว และให้ความรู้สึกเวลาเรียนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเว็บไซต์ที่จะพูดถึงต่อไปนี้ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากเช่นกัน ด้วย Concept เน้นไปการแข่งขันที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับการเล่นเกมไต่แรงค์ ดั่งกับชื่อ Codewars ก่อตั้งในปี 2012 เป็น Community platform สำหรับการเขียนฝึกโปรแกรม นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถฝึกซ้อมใน Exercise เพื่อขัดเกลาสกิลผ่านการฝึกฝนและทำซ้ำหรือที่เรียกว่า kata ในส่วนของ kata ก็จะมีการให้แรงค์กับผู้เล่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Codewars เช่นกันนอกจากนี้ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่โคตรเป็นเอกลักษณ์คือ เงื่อนไขการ Sign up ที่มาพร้อมกับแบบฝึกหัด ซึ่งถ้าคุณทำไม่ได้คุณก็จะไม่มี Account!!!

แบบฝึกหัดแต่ละบทจะให้ความรู้สึกเหมือนเล่นเกม ให้ความท้าทาย ด้วยระบบ Level สำหรับ ผู้เล่น แสดงผ่าน Rank ตั่งแต่ 8 kyu(ต่ำสุด) จนถึง 4 dan(สูงสุด) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยากของ kata บวกกับความเร็วในการแก้ไขปัญหาที่ตัว user ได้ทำไว้ และยังมี Honor ที่เป็นตัวแสดงการยอมรับจาก Community ได้รับมาจากสมาชิกคนอื่น จะเห็นได้ว่า Rank ของ User จะบ่งบอกถึงความสามารถส่วน Honor จะบ่งบอกการมีส่วนรวมใน Community ในแต่ละแบบฝึกหัดมีระดับความยากที่เหมาะสมคนที่มีประสบการณ์ในภาษานั้นพอสมควร ถ้าใครคิดว่าจะมาเริ่มเรียนภาษาใหม่ในนี้ แอดคิดว่าจะต้องพยายามสักหน่อย แบบฝึกหัดจะมีคำอธิบายโจทย์ และ Sample test แสดงตัวอย่างเฉลยที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังมีการแชร์ Code ของ User คนอื่น โดยเราสามารถ Vote / Comment / Compareได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบ Solution ในการแก้ปริศนากับ User รายอื่น ๆ วิธีการนี้ช่วยให้คุณค้นหา Bug ใน Code ของคุณได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาเดียวกันจากมุมมองที่แตกต่างไป นอกจากนี้ถ้าเราไม่พอใจแบบฝึกหัดใน kata เราสามารถคิดโจทย์ใหม่ขึ้นเองได้ด้วย

Codewars ถือเป็น platform หนึ่งที่ใช้ gamfication มาใช้ในหลักสูตรทำให้เกิดความท้าทายในการศึกษา มาพร้อมกับแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับคนมีประสบการณ์ ทำให้ platform นี้ไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นสักเท่าไหร่นัก

6. Traversy Media

Traversy Media ก่อตั้งครั้งแรกในช่อง Youtube ปี 2011 ซึ่งคลิปส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง web development ปัจจุบันมีจำนวนคลิปสอนภาษาอังกฤษมากกว่า 1,000 คลิป ซึ่งแต่ละคลิปมีเนื้อหาที่มีคุณภาพผ่านจากประสบการณ์การทำงานของนักพัฒนา ตาม concept “Bringing the world the highest quality programming content” ส่วนใหญ่เนื้อหาในแต่ละหลักสูตรเน้นไปที่การลงมือทำ Project จาก Resource ใน git เป็นซะส่วนใหญ่

แต่ถ้าใครต้องการใบ Certification Traversy Media ก็จัดให้คุณได้ใน Udemy ซึ่งจะมีอยู่จำนวน 12 course ราคา course ละ 349 บาท ได้แก่

แต่ถ้าใครต้องการใบ Certification แล้วล่ะก็ Traversy Media มีคอร์สสอนอยู่บน Udemy ด้วยนะครับ จะมีทั้งหมด 12 course ด้วยกัน เริ่มต้นราคาเพียง 349 บาท ตามด้านล่างนี้เลยครับ สอนโดยเจ้าของที่ชื่อว่า Brad Traversy

Traversy Media ถือเป็นช่อง Youtube ที่ใครเคยศึกษา Web development ต้องผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งแต่ละคลิปมีตั่งแต่สอน Beginner จนถึงสามารถทำงานได้จริง ถือว่าเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ที่ไม่ต้องการเสียเวลาสมัครสมาชิก แค่เปิด Youtube ก็สร้างเว็บไซต์ได้แล้ว

7. Khan Academy

Education platform ชื่อดังที่มีจุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาคุณภาพสูงแก่คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหนทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกอย่าง Khan Academy ก่อตั้งในปี 2006 ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft และ Google โดยเริ่มต้นมาจากนักศึกษาคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Salman Khan ได้ถ่ายคลิปสอนเผยแพร่ลงอินเทอร์เน็ต ด้วยความที่การสอนของ Khan เน้นไปที่ความเข้าใจมากกว่าความจำ ทำให้คลิปสอนของ Khan ตอนนั้นกลายเป็นที่นิยมขึ้นมา ปัจจุบัน Khan academy มีหลักสูตรหลายวิชาทั้ง คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งรองรับภาษาไทยด้วย ในส่วนของ Web development มีหลักสูตร ,บทความ และ Excercise รวมกันกว่า 1,000 อย่าง ซึ่งมีตั่งแต่ระดับง่ายจนไปถึงระดับยาก จุดเด่นของ Khan Academy คือการสอนเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย รวมทั้ง ระบบใน Platform นี้จะบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของแต่ละคนและนำมาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อสร้างโจทย์ฝึกหัดที่เหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย

8. Wesbos

Wesbos เกิดขึ้นจาก Full stack developer มีนามว่า Wes Bos ต้องการช่วยให้ทุก ๆ คนสามารถเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ดี ดังนั้นเขาเลยเริ่มถ่ายคลิปสอนใน Youtube ก่อนจนตอนหลังเริ่มมาทำ Wesbos เหมือนกับ Khan Academy ใน platform นี้มี course อยู่ 3 แบบ คือ Free ,Starter course และ Master package 

ในส่วนของ Starter course จะมีราคา 82$ ส่วน Master packageจะมีราคา 97$ ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติม นอกจาก Course เรียน Wesbos ยังมีในส่วนของ Podcast อีกด้วย ชื่อว่า Syntax เนื้อหาใน Podcast จะพูดถึง Web development เป็นส่วนใหญ่ และบทความ web development ที่มีมากกว่า 120 บทความ บวกกับ Tip ที่มาจากประสบการณ์ของ Wes Bos ใน twitter ทำให้เว็บไซต์นี้มีจำนวนเนื้อหาการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนเริ่มต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเว็บไซต์ที่เล็กเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นก่อนหน้า

9. MIT OpenCourseWare (visit)

MIT OpenCourseWare เป็น platform ของโครงการของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์(MIT) ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์แห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ใน OCW ได้รวบรวมเนื้อหาวิชาที่มีการเรียนการสอนใน MIT มาเผยแพร่ใน platformนี้ เพื่อเปิดให้คนทั่วไปได้ได้รับความรู้ที่มีคุณภาพ แบบไม่ต้องลงทะเบียน และไม่ต้องเสียเงินสักบาทเดียว หลักสูตรใน OCW มีมากกว่า 2,500 หลักสูตร โดยในแต่ละหลักสูตรนอกจากเนื้อหาเรียนแล้วยังมี การบ้าน การเรียนโต้ตอบ และข้อสอบพร้อมเฉลยอีกด้วยให้ความรู้สึกเหมือนเราบินไปเรียน MIT ยังไงยังงั้นเลย

10. Mozilla Developer Network (visit)

มาถึงเว็บไซต์สุดท้ายกับ Mozilla Developer Network(MDN) เกิดจากบริษัทเบราเซอร์ชื่อดังอย่าง Firefox ที่ต้องการสร้างคลังเก็บข้อมูล Web development ไว้สำหรับนักพัฒนา คล้ายกับ W3Schools ในส่วนของ MDN จะมีเนื้อหาที่คลอบคลุมในส่วนของ HTML, CSS และ JavaScript นอกจากนี้ยังมี Resource อื่นอีกมากมายที่จำเป็นใน Web development อีก เช่น HTTP, APIs, MathML, Game developement โดยในแต่ละบทจะเป็นคำอธิบายและ Code ซึ่งก็จะมี Challenge อยู่บ้างบางบท

อ้างอิง   https://tinyurl.com/52nras4b

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ใครแก้ เช็คได้ : Google Doc

Google Doc ออกฟีเจอร์ใหม่ ใครแก้ไฟล์ออนไลน์ รู้หมด

เอกสารที่ใช้งานร่วมกันบนออนไลน์ นับเป็นมิติใหม่ที่เกิดมาเพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานร่วมกัน เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็ใช้งานได้แค่มีอินเทอร์เน็ต

แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะล่าสุด Google ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ เพื่อให้การใช้งานเอกสารร่วมกันบนออนไลน์ไม่มีข้อจำกัด กับฟีเจอร์ Show Editors ที่ทำให้ Google สามารถติดตามการแก้ไขของสมาชิกที่ใช้ไฟล์ร่วมกันได้ง่ายขึ้น 

ข้อดีคือทำให้มีข้อมูลว่าไฟล์เอกสารถูกแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงตรงไหน เมื่อไหร่ และใครเป็นคนทำ เหมาะสำหรับคนที่ตำเป็นต้องแชร์ไฟล์ให้กับผู้ใช้งานเข้าถึงได้หลายคน หรือคนที่ต้องทำงานที่บ้าน

วิธีเปิดใช้งาน Show Editors ก็ทำได้แบบง่ายๆ แค่ตั้งค่าเริ่มต้นใช้งานคุณฟีเจอร์นี้ เพียงแค่เน้นข้อความส่วนหนึ่งคลิกขวาและเลือก แสดงผู้แก้ไข โดย Google จะแสดงรายชื่อผู้แก้ไข พร้อมกับการแก้ไขล่าสุดพร้อมกับเวลา 

นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกที่จะนำคุณไปยังประวัติเวอร์ชันเดิมของเอกสารได้ทันที หากต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การใช้งานเอกสารแบบออนไลน์ที่ไร้ขีดจำกัด นอกเหนือจากฟีเจอร์ speech-to-text พูดแล้วพิมพ์ ฟีเจอร์สุดฮิตที่ทำให้การใช้งานเอกสารยุคใหม่ทำได้ง่ายขึ้นมาก

สำหรับฟีเจอร์ใหม่ Show Editors นี้ Google จะเปิดให้ใช้งานแล้วในกลุ่มผู้ใช้งาน Google Workspace แบบ Business , Enterprise และ Education Plus 

สำหรับคนที่ใช้งาน G Suite แบบ basic ยังต้องรอลุ้นกันต่อว่า Google จะเปิดให้ใช้งานเมื่อไหร่

อ้างอิง  https://tinyurl.com/fh2e4er5

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

Zoom

 1. ปิดเสียง เปิดกล้อง ตั้งเป็นค่าเริ่มต้น

ความลับไม่มีในโลก! หลายคนชอบโป๊ะแตก เปิดไมค์ทิ้งไว้ระหว่างรอคู่สนทนา จังหวะที่เผลอคุยหรือเมาท์อะไรหลุดออกมาก็ได้ยินกันหมด ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำหลังเข้าใช้งาน Zoom คือตั้งค่าปิดเสียง และเปิดกล้องเอาไว้ ซึ่งเป็นมารยาทพื้นฐานในการสนทนาออนไลน์ที่ควรรู้


วิธีการตั้งค่าปิดเสียงแบบง่ายๆ ให้เข้าไปที่การตั้งค่า เลือกเสียง และปิดเสียงไมโครโฟนเมื่อเข้าร่วมการประชุมและระหว่างที่สนทนา เกิดมีข้อซักถาม หรือถูกเชิญให้พูด ก็แค่เคาะแป้นพิมพ์ Spacebar แทนการคลิกปุ่มไมโครโฟน โดยคุณสามารถกด Spacebar ค้างไว้เพื่อเปิดเสียงไมโครโฟน แบบเดียวกับการกดแล้วพูด หรือ Push to talk

2. เปลี่ยนพื้นหลัง เปลี่ยนชื่อ เพิ่มรูปโปรไฟล์

นับเป็นฟังก์ชั่นเริ่มต้นที่ต้องปรับแต่งทุกครั้งก่อนเริ่มแชต เพราะที่บ้านบางคนก็ไม่ได้เหมาะที่จะใช้ในการคุยงาน หากบ้านรกหรือมีคนเคลื่อนไหวไปมาอยู่ด้านหลัง ยิ่งจะเป็นการรบกวน หรือดึงความสนใจของคู่สนทนาใน Zoom ให้หลุดโฟกัสในสิ่งที่เรากำลังพูดอยู่ก็เป็นได้ วิธีเปลี่ยนพื้นหลัง Zoom ทำได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและในแอปมือถือ แค่ไปที่การตั้งค่า เลือกพื้นหลังที่มีให้ หรืออัปโหลดภาพที่คุณต้องการเข้าไปแทนที่

เช่นเดียวกับชื่อที่ใช้ login เข้าใช้งาน Zoom ส่วนใหญ่จะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ที่ยากต่อการจดจำหรือแยกแยะ ยิ่งไปซ้ำกับผู้ใช้งานรายอื่นแล้วด้วยก็คุณอาจจะถูกลืมหรือโดนกลืนหายไปในวงสนทนาแบบไม่รู้ตัว การเปลี่ยนชื่อสามารถทำได้ 2 วิธีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร

หากคุณต้องการเปลี่ยนชื่อชั่วคราวสำหรับการประชุมที่กำลังจะเริ่ม ให้คลิกที่ปุ่มผู้เข้าร่วมที่ด้านล่างของหน้าจอ วางเมาส์เหนือชื่อของคุณ แล้วคลิกเพิ่มเติม จากนั้นเปลี่ยนชื่อ โดยพิมพ์ชื่อที่คุณต้องการให้แสดงแล้วกดตกลง แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อแบบถาวรทุกครั้งที่เข้าใช้งานให้ไปที่เว็บ Zoom ลงชื่อเข้าใช้ คลิกโปรไฟล์ที่มุมขวาบนตรงข้ามชื่อของคุณ แล้วคลิกแก้ไข ป้อนชื่อที่คุณต้องการ จากนั้นกดบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพียงเท่านี้ชื่อใหม่ของคุณจะแสดงในทุกการประชุมนับจากนี้ ซึ่งคุณสามารถเข้ามาเปลี่ยนได้ทุกเมื่อ

นอกจากนี้คุณยังเพิ่มรูปโปรไฟล์ทั้งแบบชั่วคราวบนแอป และแบบถาวรได้บนเว็บด้วยวิธีการเดียวกับการเปลี่ยนชื่อผู้ใช้งาน

3. เปิดใช้ฟิลเตอร์ เพิ่มความมั่นหน้า

หากตอนเริ่มประชุมคุณสังเกตได้ว่าหน้าตาในกล้องเริ่มไม่สดใส อาจเป็นเพราะอดนอน เพื่อเตรียมงานมาอย่างหนักหน่วง คุณสามารถเปิดโหมดบิวตี้ที่จะทำให้หน้าดูดีได้ กับฟีเจอร์ Touch Up My Appearance บน Zoom ซึ่งมีคุณสมบัติไม่แพ้ฟิลเตอร์ในกล้องเซลฟี่บน


หากต้องการเปิดโหมดนี้ให้คลิกลูกศรขึ้น ถัดจากเริ่มวิดีโอ จากนั้นคลิกการตั้งค่าวิดีโอ แล้วทำเครื่องหมายในช่อง ลักษณะที่ปรากฏของฉัน

4. ตั้งค่าห้องระหว่างรอ เพิ่มความปลอดภัย

ปัญหาเรื่องความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องจัดการให้อยู่หมัด ยิ่งถ้าคุณเป็นผู้สร้างห้องด้วยแล้วละก็ เป็นนี้ห้ามข้ามไปเป็นอันขาด เพราะนอกจาก Zoom พัฒนาการเข้ารหัสแบบ end-to-end รวมถึงวิธีอื่น ๆ เพื่อปกป้องบัญชี และการแชทให้เป็นส่วนตัวมากขึ้น ผู้สร้างห้องยังสามารถป้องกันคนแปลกหน้า หรือผู้ไม่หวังดีแอบเข้าร่วมร่วมวงสนทนาได้ด้วย


วิธีการง่ายๆ แค่เปิดใช้งานห้องรอเพื่อให้คุณสามารถดูได้ว่าใครพยายามเข้าร่วมการประชุมก่อนที่จะกดอนุญาตให้พวกเขาเข้าถึงได้ โดยไปที่การจัดการบัญชี การตั้งค่าบัญชี คลิกที่การประชุมจากนั้นคลิกห้องรอเพื่อเปิดใช้งานการตั้งค่า

นอกจากนั้นยังสามารถสร้างห้องซูมสำหรับการสนทนากลุ่มเล็ก ๆ โดยแบ่งการประชุมซูมขนาดใหญ่ของคุณออกเป็นเซสชันย่อย ๆ ได้ถึง 50 เซสชันพร้อมห้องแยกย่อย โดยไปที่การจัดการบัญชี การตั้งค่าบัญชี ในแท็บการประชุมไปที่ Breakout Room และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เปิดใช้งานการตั้งค่าแล้ว

5. แบ่งปันหน้าจอ เล่นกับอีโมจิ

แชร์หน้าจอนับว่าเป็นฟีเจอร์หลักที่ทุกคนต้องใช้หากต้องการแบ่งบันสไลด์ พรีเซ้นต์ ร่วมกับคนอื่นซึ่งทำได้ง่ายๆ แค่คลิกที่ไอคอนแชร์หน้าจอบนแถบเครื่องมือที่ด้านล่าง โดยเลือกได้ว่าจะแชร์เดสก์ท็อปทั้งหมด หรือแชร์เพียงหน้าต่างเดียวที่คุณเปิดไว้ หากต้องการหยุดแชร์หน้าจอก็แค่คลิกปุ่มหยุดแชร์สีแดงที่ด้านบนสุดของหน้าจอ เพื่อกลับไปเป็นผู้ฟังตามเดิม

หากคุณปิดเสียงระหว่างประชุมคุณยังสามารถแสดงอารมณ์และความเห็นผ่านอิโมจิเพื่อแจ้งเตือนไปยังเจ้าของห้องได้ โดยไม่รบกวนการประชุม ซึ่งล่าสุด Zoom ได้เพิ่มอิโมจิมากถึง 40 ตัวให้เลือกใช้ โดยคลิกแท็บปฏิกิริยาที่ด้านล่างของหน้าจอการประชุม แล้วเลือกอิโมจิที่ต้องการ โดยอีโมจิจะหายไปหลังจากผ่านไปแล้ว 5 วินาที

6. ใช้แป้นพิมพ์ลัดให้เป็น

สำหรับคนที่ไม่ชอบจับเมาส์ คลิกไปรอบ ๆ หน้าจอ Zoom แบบไร้จุดหมาย Zoom มีแป้นพิมพ์ลัดที่เป็นประโยชน์มากมายให้ใช้งานบนเดสก์ท็อปโดยไม่ต้องใช้เมาส์ นอกจากดเปิด/ปิด เสียงด้วย Spacebar แล้วก็ยังมีอีกหลายปุ่นที่ช่วยทำให้การเช็ตของคุณง่ายและดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วย อย่างเช่นกด Alt+Shift+S เพื่อเริ่มหรือหยุดแชร์หน้าจอ

ลองค้นหาคำสั่งเพื่อเข้าร่วมการประชุมเริ่มหรือหยุดการบันทึกเข้าสู่โหมดเต็มหน้าจอและแชร์หน้าจอของคุณ ได้ที่รายการปุ่มลัดและแป้นพิมพ์ลัดทั้งหมดของ Zoom

7. ซ่อนผู้เข้าร่วมที่ไม่เปิดวิดีโอ

ในมุมมองแกลเลอรีช่วยให้คุณเห็นทุกคนในการประชุมพร้อมกัน แทนที่จะเป็นเพียงคนพูด หากต้องการเปิดใช้งานให้คลิกแท็บมุมมองแกลเลอรีที่มุมขวาบน

ในการประชุมที่มีคนจำนวนมาก บางครั้งหน้าจอของคุณอาจทำให้ผู้ร่วมสนทนาเสียสมาธิกับสัตว์เลี้ยงและเด็ก ๆ ของเพื่อนร่วมงานที่ปรากฏในวิดีโอ ขณะที่บางคนเลือกที่จะไม่เปิดกล้อง ในฐานะผู้สร้างห้องสามารถซ่อนผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่ได้เปิดวิดีโอได้โดยไปที่การตั้งค่า เลือกวิดีโอ ไปที่การประชุม และเลือกซ่อนผู้เข้าร่วมที่ไม่ใช่วิดีโอได้เช่นกัน

8. ใช้ปากกาเพื่อทำไฮไลต์

คุณสมบัติปากกาที่หายไปของ Zoom ช่วยให้คุณสามารถขีดเขียนบนหน้าจอที่ใช้ร่วมกัน เพื่อเน้นข้อความ หรือสิ่วที่ปรากฎบนสไลด์ โดยมันจะเลือนหายไปเองโดยไม่ต้องย้อนกลับไปลบออกวิธีการใช้งานขณะแชร์หน้าจอ ให้คลิกที่คำอธิบายประกอบ ในเมนูที่ขึ้นมาให้คลิก Vanishing Pen แล้วลองใช้งานดู

9. เก็บบันทึกวีดีโอเอาไว้ในเครื่อง

สมาชิก Zoom ทั้งแบบฟรีและพรีเมี่ยม สามารถบันทึกการประชุมลงในแล็ปท็อปหรือคอมพิวเตอร์โดยใช้แอป Zoom บนเดสก์ท็อป โดยไฟล์ที่บันทึกไว้สามารถอัปโหลดไปยัง Cloud ยอดนิยมอย่าง Google Drive หรือ Dropbox หรือบริการสตรีมวิดีโอเช่น YouTube หรือ Vimeo ได้ทันที แต่หากคุณใช้บริการ Zoom แบบพรีเมี่ยม คุณสามารถบันทึกไฟล์ลงบนสมาร์ทโฟน หรือจัดเก็บบน Cloud ได้โดยตรง ค่าบริการอยู่ที่ $15 ต่อเดือน หรือประมาณ 500 บาท

วิธีเปิดใช้งาน ให้ไปที่การตั้งค่า เลือกการบันทึกและเปิดใช้งาน ขณะที่เริ่มประชุมให้คลิกไอคอนบันทึกที่แถบเครื่องมือ

อ้างอิง  https://tinyurl.com/8snn8583


วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

อีเมลที่ส่งไป เขาเปิดอ่านรึยังนะ?

 “อีเมลที่ส่งไป เขาเปิดอ่านรึยังนะ?” คงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องการจะรู้ โดยเฉพาะมนุษย์วัยทำงานอย่างเรา ที่บางครั้งเราส่งสารเรื่องสำคัญไปให้ รอแล้วรออีก ก็ไม่รู้ว่าเขาเปิดอ่านเเล้วรึยัง หรือส่งไปเเล้วไม่ถึงกันนะ

ก็คือ https://mailtrack.io/en/ (ใช้ได้เฉพาะ Gmail บนเว็บเบราว์เซอร์ Chrome เท่านั้น) เข้าเว็บไปแล้วก็กด install ได้เลยค่ะ ดาวน์โหลดฟรี! ด้วยนะ (ใช้ได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และบนโทรศัพท์มือถือ)

หลักจากดาวน์โหลดเสร็จเเล้ว ก็ติดตั้งลงเบราว์เซอร์ Chrome ได้เลยค่ะ โดยการกดคำว่า Add to Chrome หลักจากนั้นให้เรากดคำว่า “Connect with Google” แล้ว Sign in ด้วยบัญชี Google ของคุณ (ใช้บัญชีที่เราต้องการ track)

หลังจากนั้นจะมีรายละเอียดเเพ็กเเกจเรื่องราคามาให้เราเลือก แน่นอนค่ะว่าสายฟรีแบบเราเลือก Sign Up Free

เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยเเล้ว  คุณสามารถไปที่หน้า Gmail ได้เลย เราจะเห็นเครื่องหมายถูกสีเขียวอยู่ในแถบส่งเเล้ว หากมีเครื่องหมายถูกสีเขียวขึ้นแค่ 1 แสดงว่าเขายังไม่ได้เปิดอ่าน แต่ถ้ามีเครื่องหมายถูกสีเขียวขึ้น 2 อัน แสดงว่าอีเมลคุณได้ถูกเปิดอ่านเป็นที่เรียบร้อย เเละที่สำคัญ เมื่อเรานำเมาส์ไปชี้ที่เครื่องหมายถูก ก็จะมีรายงานจำนวนครั้งที่เปิดอ่านด้วย

แต่ถ้าหากขึ้นสีเทาทั้ง 2 อัน แสดงว่าอีเมลนั้นทางแอปยังไม่ได้ติดตาม​ (จะเป็นอีเมลที่เราส่งออกไปก่อนติดตั้งโปรแกรม)

อ้างถึง   https://tinyurl.com/rrs2kfs6

งาน “ฟรีแลนซ์”

Fastwork

มีประเภทของงานให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานแปล เขียนบทความ กราฟิกดีไซน์ ตัดต่อวิดีโอ การถ่ายภาพ ไปจนถึงงานซับซ้อนขึ้นอย่างการเขียนโปรแกรมและทำแอป

Freelance Bay

แพลตฟอร์มสื่อกลางระหว่างฟรีแลนซ์และผู้ว่าจ้าง ที่สามารถติดต่อกันได้อย่างสะดวก สามารถสร้างโปรไฟล์เพื่อใช้หางานเหมือนเว็บหางานประจำทั่วไปได้เลย

Freelancer

พิเศษด้วยการได้โอกาสจ้างงานจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้เกิดโอกาสที่กว้างกว่าหางานในประเทศ เป็นที่ๆ สามารถใช้พัฒนาทักษะภาษาของเราให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

Upwork

ศูนย์รวมแบรนด์และองค์กรดังๆ ในระดับโลก ที่ต้องการจ้างงานฟรีแลนซ์มาร่วมงานด้วย เพิ่มโอกาสและสร้างโปรไฟล์ให้ผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี

Thai Programmer

แหล่งรวมงานสำหรับโปรแกรมเมอร์ไทย โดยสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ที่มีงานทั้งแบบประจำและฟรีแลนซ์ของสายโปรแกรมมิ่งมาให้เลือกทำกันอย่างจุใจ

Thai Freelance Agency

อีกหนึ่งแพลตฟอร์มสื่อกลางระหว่างผู้ว่าจ้างเเละฟรีแลนซ์ มีจบครบทุกสายงานเช่นเดียวกับแพลตฟอร์มข้างต้น

Thai Content Creator Jobs – หางาน หาอินฟลู หาคนรีวิว

ศูนย์รวมงานทั้งประจำและฟรีแลนซ์ของชาวคอนเทนต์ ที่เต็มไปด้วยช่องทางในการทำงานหลากหลาย ทั้งเขียนบทความ ทำกราฟิก ไปจนถึงหาอินฟลูเอนเซอร์เพื่อรีวิวสินค้าและบริการอีกด้วย

อ้างถึง   https://tinyurl.com/47m63yt4

ไอคอนฟรี! สำหรับนักออกแบบ

 รวมเว็บไซต์ที่แจกไอคอนฟรีและภาพไฟล์สกุล PNG ง่ายต่อการใช้งานมาฝากกันค่ะ เเต่หากใครใช้งานในเชิงพาณิชย์ อาจจะต้องตรวจเช็คเรื่องลิขสิทธิ์กันอีกครั้ง

1. icons8.com

2. flaticon.com

3. iconfinder.com

4. icon-icons.com

5. pngtree.com

อ้างอิง https://tinyurl.com/wyvfjeav


วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564

สร้าง QR Code

 สร้าง QR Code แบบมือโปร ใส่โลโก้ได้

ในยุคแรก QR Code ถูกใช้เพื่อให้สแกน Link ไปเว็บได้แบบไม่ต้องพิมพ์ แต่เดี๋ยวนี้ QR Code เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว ไม่ว่าจะสแกนเพื่อส่งเมล สแกนเพื่อดูข้อความพิเศษ สแกนเพื่อโทรแบบไม่ต้องกดเบอร์ สแกนเพื่อส่ง SMS สแกนเพื่อเข้ารหัสใช้ Wi-fi โอนเงิน ไปจนถึง Bitcoin ก็สแกนได้แล้ว


ใครอยากได้ QR Code แบบเจ๋งๆ ตอนนี้เค้ามีเว็บให้ใช้ฟรี 7 วัน สร้างได้หน้าตา QR ให้สแกนได้แบบมือโปร จะใส่รูป เลือกหน้าตาไอคอน ใส่โลโก้ เปลี่ยนสีให้เริดขนาดไหนก็ทำได้ แค่

1. เข้าไปที่เว็บ https://qr.io/ 

2. เลือกรูปแบบการใช้งานที่ต้องการ และใส่รายละเอียดปลายทางให้ครบ

3. เลือก Option เพื่อตกแต่งสีพื้นหลัง ลวดลาย และเส้นขอบ 

4. เลือกรูปทรงของ QR Code ในแบบที่คุณชอบ

5. อัปโหลดโลโก้ หรือเลือกภาพที่ต้องการให้อยู่บน QR Code

6. เลือกสไตล์กรอบภาพ และใส่คำตามที่ต้องการ เช่น SCAN NOW

อ้างถึง  https://tinyurl.com/8fxtjy6j

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

แชร์หน้าจอของอุปกรณ์ผ่าน WiFi

 APP Screen Mirror - การแชร์หน้าจอ

ด้วย  Screen Mirror คุณสามารถแชร์หน้าจอของอุปกรณ์ผ่าน WiFi และเข้าถึงได้จากเบราว์เซอร์ระยะไกลจากอุปกรณ์อื่นๆ ในเครือข่าย WiFi 

1.  เปิด http://www.screenmirrorapp.com บน Notebook/PC ปลายทาง

2. เปิด  APP Screen Mirror บนอุปกรณ์ Android และแกนรหัส QR บน Notebook ปลายทาง 

3. แล้วเริ่มต้นการทำมิเรอร์ทันที ไม่จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เพิ่มเติมบน Notebook/PC ปลายทางแต่อย่างใด 

เพียงดำเนินการทั้งสามข้อข้างต้น ก็จะจำลองหน้าจอบนมือถือ มาไว้บนหน้าจอ  Notebook/PC ได้แล้ว ก็จะทำให้เราไม่ต้องดูหน้าจอเล็กๆ อีกต่อไป จอก็จะใหญ่ขึ้น ดูง่ายขึ้น 

แต่ก็มีข้อเสีย การทำงานจริงๆ ก็ยังอยู่ที่มือถือ ไม่สามารถใช้ mouse จัดการกับหน้าจอที่จำลองมาได้แต่ประการใด 

โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ โหลดฟรี ใช้งานง่าย

  1.  Lightworks Free Edition
  2. Openshot
  3. Shotcut
  4. Davinci Resolve 16
  5. HitFilm Express
  6. Videopad
  7. Movavi Video Editor
  8. VSDC Free Video Editor
  9. Kdenlive
  10. Adobe Premiere Pro
  11. Vegas Pro
  12. VideoStudio Pro

1. Lightworks Free Edition


Lightworks เป็นโปรแกรมสำหรับตัดต่อวิดีโอที่มีความสามารถเทียบเท่ากับโปรแกรมระดับสูงที่ต้องเสียเงินซื้อเลยทีเดียว มาพร้อมเครื่องมือมากมาย สามารถตัดต่อได้ทั้งงาน Video, Audio ได้อย่างรวดเร็ว มาพร้อมเครื่องมือและลูกเล่นต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ยังรองรับการทำงานร่วมกันกับการ์ดจอทั้ง AMD และ NVIDIA โปรแกรมนี้ยังมาพร้อมกับการทำงานแบบ Real-Time ที่สามารถอัพโหลดวิดีโอของขึ้น Youtube, Facebook, Twiiter และอื่น ๆ ได้ทันที

รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS, Linux

ใครที่สนใจดาวน์โหลด โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ : Lightworks

2. Openshot

Openshot เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาโดยทีมงานจากบริษัท OpenShot Studios ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นโปรแกรมสำหรับตัดต่อวิดีโอ มีรูปแบบการใช้ที่หลากหลาย มีเครื่องมือครบครัน และสามารถใช้งานได้ง่าย ตัวโปรแกรมมีฟังก์ชั่นในการแทรกไฟล์เสียง (Audio files) เข้าไปในตัววิดีโอได้อย่างสะดวกรวดเร็ว พร้อมกับมีฟีเจอร์การ Preview เพื่อดูวิดีโอก่อนที่จะแก้ไขวิดีโอได้แบบ Real-Time สามารถส่งออกไฟล์เป็น 4K UHD 60fps ได้ โปรแกรม Openshot ยังสามารถตกแต่งแสงและสีของวิดีโอผ่านการใช้ Effect ที่มีให้เลือกมากมาย และยังสามารถใส่ตัวอักษรทั้งแบบธรรมดาและแบบสามมิติลงไปในวิดีโอได้ด้วย แต่มีข้อที่น่าสังเกตของเจ้าโปรแกรมตัวนี้ก็คือค่อนข้างที่จะมีอาการ Bug บ่อย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม Openshot นั้นเป็นโปรแกรมประเภท Open Source จึงเปิดโอกาสให้เหล่าผู้พัฒนาโปรแกรมคนอื่น ๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาต่อได้ ส่งผลให้ตัวโปรแกรมมีการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS, Linux

ใครที่สนใจดาวน์โหลด โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: Openshot

3. Shotcut

Shotcut เป็นโปรแกรมสำหรับตัดต่อวิดีโอ Open Source ที่ฟรี มีคุณสมบัติมากมายและใกล้เคียงกับโปรแกรมสำหรับตัดต่อวิดีโอระดับมืออาชีพ เหมาะมาก ๆ สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นเรียนรู้การตัดต่อวิดีโอ หรือมือสมัครเล่นที่ต้องการตัดต่อวิดีโอให้ออกมาได้อย่างมืออาชีพ มาพร้อมเครื่องมือมากมายและครบครัน รองรับการแปลงไฟล์ ทั้งภาพ เสียง วิดีโอ ได้หลากหลาย โปรแกรมยังสามารถตัดต่อได้ตั้งแต่ไฟล์ได้ตั้งแต่ความละเอียดแบบ SD, HD, 2K และสูงสุดอย่าง 4K


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS, Linux

ใครที่สนใจดาวน์โหลด โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: Shotcut

4. Davinci Resolve 16

โปรแกรม Davinci Resolve 16 เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอที่เหมาะกับทั้งมือใหม่และมืออาชีพ ที่กำลังมองหาโปรแกรมสำหรับแก้ไขสีของวีดีโอ ตัดต่อวิดีโอ ทำภาพยนตร์ หนังสั้น ฯลฯ โปรแกรมยังมาพร้อมเครื่องมือสำหรับ Color grading ที่ให้คุณภาพสูงระดับ 32-bit และสามารถแก้ไขสีสันเฉดต่าง ๆ ได้มากมาย แถมตัวโปรแกรมทำงานค่อนข้างไว แต่ในเวอร์ชันที่เปิดให้ดาวน์โหลดไปใช้งานกันอย่างฟรี ๆ นั้น ในบางเครื่องมือก็จะถูกจำกัดไว้ หรือบางฟิลเตอร์ก็จะมีลายน้ำติดอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม โปรแกรม Davinci Resolve 16 ก็เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ดีมีประสิทธิภาพและน่าใช้งาน


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS, Linux

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: Blackmagicdesign

5. HitFilm Express

Hitfilm Express โปรแกรมสำหรับตัดต่อวิดีโอที่ฟรี มีครบเครื่องทั้งเรื่องตัดต่อ แก้ไข (Editor) และการใส่ VFX (Visual Effects) ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ลงบนวิดีโอประเภทต่าง ๆ โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาโดยทีมผู้พัฒนา FXhome ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดกันได้แบบฟรี ๆ แต่มีการจำกัดบางฟีเจอร์ไว้ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการทำงานโดยรวมแต่อย่างใด รูปแบบหน้าตาการใช้งานของโปรแกรมนี้นั้นดูเรียบหรู เข้าใจง่าย มีการจัดเรียงเครื่องมือต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ฟังก์ชันหลัก ๆ ที่อยู่ในเวอร์ชันฟรีนั้นก็ได้แก่ การครอบวิดีโอ, รวมวิดีโอ, เพิ่มเพลง, เพิ่ม Transition/Credit, เพิ่มมาสก์ (Mask), เพิ่มเอฟเฟคท์ (Effect) ที่เราสามารถสร้างเองก็ได้, และปรับสีของวิดีโอได้ตามต้องการ


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: HitFilm Express

6. Videopad

Videopad เป็นโปรแกรมมสำหรับการตัดต่อวิดีโอที่เหมาะมาก ๆ สำหรับมือใหม่ ตัวโปรแกรมมีการสอนการตัดต่อให้กับผู้เริ่มต้นฟรีด้วย ตัวโปรแกรมถูกออกแบบมาให้เน้นการใช้งานง่ายเป็นหลัก เน้นการใช้หลักการลากแล้ววาง (Drag-and-Drop) มาพร้อมกับ Effect ไม่ว่าจะเป็นการสลับหน้าจอ, เปลี่ยนฉาก (Transition Effects) และลูกเล่นอื่น ๆ กว่า 50 แบบให้ได้เลือกใช้งาน นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์การปรับความช้า-เร็วของวิดีโอได้ด้วย เผื่อให้งานที่ออกมานั้นมีความเป็นมืออาชีพมากที่สุด นอกจากนี้ยังรอบรับไฟล์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น avi, mpeg, wmv, divX, Xvid, mpeg, mp4, mov, gif, jpg, png, tif ฯลฯ


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: Videopad

7. Movavi Video Editor

โปรแกรม Movavi Video Editor มีเครื่องมือการใช้งานที่จำเป็นทุกอย่างสำหรับการตัดต่อไฟล์มัลติมีเดีย มีเครื่องมือสำหรับการสร้างวิดีโอที่สวยงาม มีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลกราฟฟิกทั้ง AMD และ NVIDIA ในระหว่างการเรนเดอร์วิดีโอ มีเครื่องมือการประมวลไฟล์เสียงที่ดีโดยผู้ใช้สามารถเพิ่ม Soundtrack, เสียงจากไมโครโฟน หรืออุปกรณ์ดนตรีต่าง ๆ ลงไปในวิดีโอได้ นอกจากนี้เครื่องมือยังมีความเรียบง่าย แม้ว่าจะเป็นมือใหม่ก็สามารถใช้งานได้สบาย


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: Movavi Video Editor

8. VSDC Free Video Editor

VSDC เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอแบบ non-linear ที่สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี ใช้งานง่าย รองรับไฟล์หลากหลาย มีเครื่องมือให้ใช้มากมายและครบกันไม่ว่าจะเป็น ความสามารถใส่เอฟเฟค (Effect) ให้กับไฟล์ Video หรือไฟล์ Audio เช่น Color Correction, Object Transformation, Object Filters, Transition Effects ฯลฯ โปรแกรมยังสนับสนุนการตัดต่อวิดีโอแบบ HD ในระดับ 30fps และ 1080p ซึ่งให้ความคมชัดสูงสุด สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวเป็นวิดีโอในรูปแบบวัตถุเคลื่อนไหว (Animated Object) ได้จากภาพนิ่งที่มีอยู่ในเครื่อง ทั้งนี้ VSDC จึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีมาก ๆ สำหรับโปรแกรมสำหรับตัดต่อวิดีโอในปัจจุบัน


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: VSDC

9. Kdenlive

โปรแกรม Kdenlive (โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ KDE แบบ Non-Linear) สามารถสร้างผลงานด้านวิดีโอได้ตั้งแต่ระดับเบสิคไปจนถึงระดับมืออาชีพ รองรับการใช้งานร่วมกับไฟล์มัลติมีเดียได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์วิดีโอ (Video Files) ไฟล์เสียง (Audio Files) หรือ ไฟล์รูปภาพ (Image Files) โปรแกรมมีเอฟเฟคสำหรับแต่งวิดีโอและเสียงให้เลือกมากมาย ทั้งยังสามารถย้าย, บล็อก, และเปิดหรือปิดไฟล์ที่ต้องการได้ และที่สำคัญผู้ใช้สามารถ import ไฟล์วิดีโอและไฟล์เสียงได้เกือบทุกประเภทโดยไม่ต้องแปลงไฟล์ก่อน


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS, Linux

ใครที่สนใจดาวน์โหลด โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: Kdenlive

10. Adobe Premiere Pro

โปรแกรมสำหรับตัดต่อวิดีโอที่เรียกได้ว่ายอดฮิต ยอดนิยม และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่มือใหม่ไปจนถึงมืออาชีพ เพราะโปรแกรม Adobe Premiere Pro สามารถรองรับการตัดต่อที่มีความละเอียดต่ำไปจนถึงความละเอียดสูง ไฟล์ขนาดเล็กไปจนถึงไฟล์ขนาดใหญ่ รวมไปถึงไฟล์วิดีโอความละเอียด 4K, 5K และ 6K เลยทีเดียว แถมยังใช้งานร่วมกันกับโปรแกรมอื่น ๆ ในตระกูล Adobe ไม่ว่าจะเป็น Photoshop, Illustrator, After effect ฯลฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย 


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows, macOS

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: Adobe Premiere Pro

11. Vegas Pro

โปรแกรมตัดต่อวิดีโอตัวนี้จะเน้นไปที่การตัดต่อวิดีโอระดับมืออาชีพและความละเอียดสูง รองรับไฟล์หลากหลายรูปแบบ เหมาะกับงานหลากหลายไม่ว่า่จะเป็น ตัดต่อหนังสั้นไปจนถึงทำงานระดับโปรดักซ์ชันโฆษณา ภาพยนตร์ หรือสื่อบันเทิงอื่น ๆ ตัวโปรแกรมมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น Motion tracking, World-class Video Stabilization (ปรับภาพสั่นให้นิ่งได้), HLG HDR Support (ปรับแต่งแสงละสีให้ดูสดใส) เป็นต้น รองรับการตัดต่อไฟล์หลายคุณภาพตั้งแต่ SD, HD, 2K, 4K ไปจนถึง 8K


โปรแกรม Vegas Pro เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอระดับมืออาชีพที่ต้องซื้อมาใช้งาน แต่กระนั้นก็มีเวอร์ชันฟรีให้ทดลองใช้ได้ 30 วัน

รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: Vegas Pro Free Trial

12. VideoStudio Pro

VideoStudio Pro ตัวนี้เป็นโปรแกรมที่เอาไว้ใช้ในการตัดต่อวิดีโอ คลิปวิดีโอต่าง ๆ ที่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว มีเครื่องมือให้เลือกใช้งานมากมาย รองรับวิดีโอระดับ Ultra HD และล่าสุด 4K สามารถ export วิดีโอเป็นไฟล์ได้หลากหลายนามสกุล เช่น ไฟล์ AVI, ไฟล์ MPEG-2, ไฟล์ MPEG-4, ไฟล์ WebM, ไฟล์ WMA, HTML5 เป็นต้น


รองรับระบบปฏิบัติการ: Windows

โปรแกรม VideoStudio เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอที่ต้องซื้อมาใช้งาน แต่กระนั้นก็มีเวอร์ชันฟรีให้ทดลองใช้ได้ 30 วัน

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่: VideoStudio Free Trial

แหล่งที่มา   https://tinyurl.com/2bbuezeb

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564

APP วางแผนการเงิน

แนะนำ แอพรายรับรายจ่าย ที่จะช่วยให้การเก็บออมเงิน จดบันทึกว่าในแต่ละะวัน แต่ละเดือน เราเสียค่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง ให้เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายขึ้น

  1. Wallet
  2. Fast Budget
  3. MeTang
  4. Money Diary
  5. Spendee Budget & Money Tracker
  6. Household account book
  7. Piggipo
  8. Wallet Story Expense Manager
  9. Money Lover
  10. Money Manager Expense & Budget
  11. Save Money Daily
  12. Oh My Cost

1. Wallet


มีหน้าตาที่เรียบง่ายมาก ๆ  หน้าแรกของแอพก็จะมีการบอกข้อมูลสรุปรายรับรายจ่ายของเราทั้งหมด และเราสามารถที่จะกดเพิ่มข้อมูลได้ในหน้านั้น ช่วยให้การใช้งานนั้นสะดวกมาก ๆ เหมาะกับใครที่ไม่ชอบความยุ่งยาก ไม่ต้องคอยกดเมนูโน่นนี่ให้วุ่นวาย และนอกจากที่ตัวแอพจะมีสรุปรายรับรายจ่ายของเราไว้แล้วนั้น ก็ยังมีแผนการใช้เงินที่เราได้วางไว้ให้ดูด้วย ว่าเราจะใช้เงินไปทำอะไรบ้าง สำหรับในส่วนของเมนูก็จะมีฟีเจอร์ให้เราเลือกใช้อยู่เยอะพอสมควร เช่น การเก็บสถิติของการใช้งาน การวางแผนด้านการใช้จ่าย งบประมาณ เป้าหมายในการใช้เงินที่เราวางไว้ รายการช้อปปิ้ง รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับธนาคาร โดยจะมีธนาคารให้เลือกอยู่ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทย ฯลฯ ทำให้ยิ่งสามารถจัดการเกี่ยวกับการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก ตัวแอพจะต้องเข้าสู่ระบบก่อนการใช้งานทุกครั้ง ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยและวางใจได้ว่าจะไม่มีใครมาแอบดูรายรับรายจ่ายของเราได้แน่นอน


2. Fast Budget


เป็นแอพยอดนิยม มีผู้ใช้งานกว่าล้านคน มีฟีเจอร์ที่ครบครัน ทั้งการใช้งานทั่วไป ไปจนถึงการใช้งานที่ยกระดับขึ้น ต้องใช้ข้อมูลทางด้านการเงินประกอบ เรียกได้ว่าแอพเดียวตอบโจทย์ครบ ทั้งผู้ใช้งานมือใหม่และผู้ใช้งานที่มีความรู้ด้านการเงินอยู่แล้ว เราสามารถเพิ่มได้ทั้งรายรับ รายจ่าย รวมไปถึงการโอนเงิน การทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นบัญชี หรือเครดิตการ์ด โดยจะมีสรุปให้เราอยู่ในหน้าแรกของแอพเลย แถมยังมีสรุปเป็นรายเดือนให้ดูด้วย และยังมีการวางแผนงบประมาณที่จะใช้จ่าย พร้อมการจัดการกับหนี้สินของผู้ใช้ ทำให้การตัดสินใจทางด้านการเงินดูเป็นเรื่องง่ายขึ้น ตัวแอพยังมีลูกเล่นอย่างการเปลี่ยนสีข้อมูลรายการได้ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดแบ่งข้อมูล ทั้งยังทำให้เราสามารถดูข้อมูลได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น



3. MeTang

เป็นแอพของคนไทย รองรับการใช้งานภาษาไทย ทำให้เราสามารถเข้าใจข้อมูลและอ่านข้อมูลได้ง่าย มีฟีเจอร์การใช้งานพื้นที่ฐานที่ครบ สามารถที่จะสร้างได้หลายบัญชี มีการเก็บข้อมูลรายรับ รายจ่าย ที่ชัดเจน โดยจะแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่าย มีกราฟสำหรับสรุปผลการใช้จ่ายของเราให้ดู สามารถเลือกแบ่งหมวดหมู่ได้หลากหลาย และสามารถเพิ่มหมวดหมูได้เอง นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างบัญชีบัตรเครดิต ใส่วงเงิน วันที่ตัดบัตร และตั้งแจ้งเตือนวันครบรอบที่ตัดบัตรได้ด้วย รองรับการบันทึกด้วยเสียง สามารถที่จะ Export ไฟล์ออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้ด้วย แถมเรายังสามารถอัพเกรดเวอร์ชันให้เป็นพรีเมียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การวางแผนการเงิน และความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้นได้ด้วย


4. Money Diary

มีหน้าตาของแอพที่น่ารัก น่าใช้งาน  เราสามารถเลือกจะเข้าสู่ระบบเพื่อเก็บข้อมูล หรือไม่เข้าสู่ระบบก็ได้ โดยภายในแอพจะมีฟีเจอร์การใช้งานที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน รายการหลักที่ต้องใช้จะรวมอยู่ในหน้าแรก และมีการรวมข้อมูลของทุกบัญชีไว้ในหน้าเดียวกันนี้ โดยจะมีข้อมูลบอกป็นรายวัน รายเดือน หรือรายปี หากต้องการเพิ่มรายรับหรือรายจ่ายก็สามารถเพิ่มได้ทันที สามารถเพิ่มเป็นรูปภาพก็ได้ ทั้งนี้ตัวแอพสามารถอัพเกรดเป็นเวอร์ชันพรีเมียมได้ด้วย โดยเมื่ออัพเกรดเราจะสามารถเปลี่ยนธีม คำนวณสินเชื่อ บันทึกรายการได้อย่างไม่จำกัด รวมไปถึงการวางแผนด้านการใช้จ่ายที่ทำได้ดีมากยิ่งขึ้น แอพพลิเคชันนี้จึงเหมาะกับทั้งมือใหม่และผู้ที่มีความรู้ด้านการเงินเลยทีเดียว

5. Spendee Budget & Money Tracker

เป็นแอพที่จะช่วยจัดการบัญชี มีหน้าตาที่เรียบง่าย สะอาดตา แต่มีฟีเจอร์ให้เลือกใช้งานมากมาย นอกเหนือจากการบันทึกรายรับรายจ่าย โดยจะมีการสรุปค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน แล้วนำมาวิเคราะห์ในเดือนถัดไป โดยระบบจะดูจากการใช้จ่ายที่เสียเป็นประจำ เช่น ค่าอาหาร ค่าผ่อนต่าง ๆ ฯลฯ เราสามารถเพิ่มบัญชีได้หลายบัญชี สามารถเชื่อมต่อกับธนนาคารกรุงศรีฯ ได้ด้วย เพื่อนำข้อมูลมาคิดคำนวณได้ทันที จุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งก็คือ เราแอพมี Tag สำหรับแยกประเภทที่นอกเหนือไปจาก Category ด้วย โดยใน Tag นั้น เราสามารถเพิ่มรายละเอียดต่าง ๆ ที่ลึกลงไปได้ ตัวแอพไม่รองรับภาษาไทย เหมาะกับคนที่ต้องการจัดการบัญชีในระดับที่ลงลึกขึ้น ละเอียดขึ้น มากกว่าผู้ยังเป็นมือใหม่ในเรื่องของการจัดการบัญชี


6. Household account book

 
เป็นแอพจากประเทศญี่ปุ่น  มีฟีเจอร์การใช้งานที่ครบครัน ทั้งการบันทึกรายรับรายจ่าย การจดจำการใช้งาน โดยฟีเจอร์ทั้งหมดนั้นสามารถเข้าใจและใช้งานได้ง่ายมากๆ เพื่อแค่เลือกแล้วเพิ่มรายการที่เราต้องการเข้าไป สามารถเปลี่ยนธีมของแอพได้ สามารถบันทึกเป็น Story ได้ด้วย เพิ่มความสนุกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับใครที่เพิ่มเริ่มการบันทึกรายรับรายจ่ายหรือจัดการบัญชี โดยเฉพาะกับใครที่ชอบแอพที่มีหน้าตาที่น่ารักสดใส น่าใช้งาน ไม่ควรพลาด


7. Piggipo

เป็นแอพที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก มีฟีเจอร์สำหรับการใช้งานทั่วไป ไปจนถึงฟีเจอร์ที่ทำให้เราเห็นภาพรวมของการใช้จ่ายบัตรเครดิตได้แบบ Real Time มีฟีเจอร์ในในการจัดการด้านบัตรเครดิต เช่น การคำนวณดอกเบี้ยในการจ่ายขั้นต่ำก่อนการชำระเงิน ฯลฯ ทั้งนี้ยังสามารถใส่บัตรเครดิตได้หลายใบ เหมาะมากสำหรับใครที่อยากได้ตัวช่วยในการจัดการเกี่ยวกับบัตรเครดิต ในส่วนของการใช้งานทั่วไปอย่างรายรับรายจ่ายนั้น ก็สามารถใส่ข้อมูลได้ง่าย ๆ ระบบมีการคำนวณการใช้จ่ายของเราให้ด้วย สามารถนำข้อมูลมา Export เป็นไฟล์ Excel ได้ด้วย เรียกได้ว่าตอบโจทย์ทั้งคนทั่วไปและคนที่ชอบใช้งานบัตรเครดิตได้เป็นอย่างดี


8. Wallet Story Expense Manager


ในหน้าแรกจะมีข้อมูลสรุปการใช้จ่ายของเราไว้ รวมไปถึงการคำนวณรายรับรายจ่ายทั้งแบบ รายวัน รายเดือน และรายปี ให้ผู้ใช้งานได้รู้ข้อมูลการเงินของตัวเอง ว่าเราควรใช้เงินขนาดไหน เป็นจำนวนเท่าไหร่ ส่วนหน้าอื่น ๆ ก็จะมีทั้งการบอกรายละเอียดของการใช้จ่าย ที่เราได้ใส่ข้อมูลลงไป การสรุปข้อมูลแบบวันต่อวัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยในการวางแผนการออมเงิน ตั้งงบประมาณ การสรุปข้อมูลทั้งหมดที่เราสามารถ Print ออกมาเป็นเอกสารได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นแอพที่น่าสนใจ น่าลองโหลดใช้งานแอพหนึ่งเลย


9. Money Lover


เป็นแอพมีผู้ใช้งานกว่า 5 ล้านคน โดยต้องลงทะเบียนก่อนเข้าใช้งานทุกครั้ง ตัวแอพเป็นแบบเรียบๆ ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มีฟีเจอร์การใช้งานที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกรายรับรายจ่าย การคำนวณการใช้งาน การแยกันทึกเป็นหมวดหมู่ จุดเด่นที่น่าสนใจของแอพนี้เลยก็คือ เราสามารถสแกนบาร์โค้ด หรือถ่ายภาพแล้วอัพโหลดขึ้นไปบนแอพ จากนั้นแอพจะทำการเก็บข้อมูลไว้ให้เรา แอพพลิเคชันนี้ยังเหมาะทั้งกับผู้ที่ต้องการใช้งานทั่วไป ไปจนถึงการใช้งานที่ลงลึก เช่น การคำนวณงบประมาณ หนี้ต่าง ๆ หรือบัตรเครดิตล่วงหน้า เพื่อการวางแผนด้านการเงินที่ดียิ่งขึ้นด้วย


10. Money Manager Expense & Budget

 
มียอดการดาวน์โหลดที่สูงถึงหลักสิบล้านคน เป็นตัวช่วยในการจัดการด้านการเงินของราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรายรับรายจ่าย เงินเข้า-ออกบัญชี พร้อมทั้งมีการคำนวณด้านการเงินให้เราครบทั้งหมด ในส่วนของหน้าตาการใช้งานนั้น ดูเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งบัตรเครดิต เงินสด ตัวช่วยในการแบ่งการใช้จ่ายต่าง ๆ เหมาะสำหรับใครที่มีหลายบัญชี เพราะตัวแอพรองรับการเพิ่มบัญชีได้หลายบัญชี หรือการรวมกลุ่มบัญชี มีการเก็บข้อมูลด้านการเงินและรวมเป็นสถิติ เก็บเป็นแบบปฏิทินได้ทั้งรายวัน รายเดือน พร้อมการคำนวณเงินล่วงหน้าของเราด้วย เรียกได้ว่าแอพเดียว ครบในเรื่องการเงิน


11. Save Money Daily

 
มีฟังก์ชันให้ใช้งานมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับการบันทุกรายรับรายจ่ายทั่วไปที่ไม่ซับซ้อน ทั้งตัวแอพยังมีหน้าตาที่สะอาด ดูสบายตา ฟีเจอร์ที่น่าสนใจในแอพนี้ก็คือ การจดบันทึกรายรับรายจ่ายที่มีการสรุปรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน โดยสามารถดูประวัติการใช้จ่ายย้อนหลังของแต่ละวันได้ด้วย รวมไปถึงการจัดทำสรุปยอดรายรับรายจ่ายในรูปแบบกราฟ แถมยังรองรับการบันทึกหลากหลายสกุลเงิน


12. Oh My Cost

น่าใช้งาน การบันทึกข้อมูลก็สามารถทำได้ง่าย เพราะจะมีไอคอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า ฯลฯ บอกประเภทของค่าใช้จ่ายให้เรา ทำให้เข้าใจได้ง่าย ทำให้การบันทึกรายรับรายจ่ายไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป เหมาะมากกับใครที่ชอบบันทึกรายรับรายจ่ายที่เน้นความสะดวก สามารตรวจสอบย้อนหลังได้ง่าย มีไอคอนกว่า 500 แบบให้เลือก สามารถใช้งานได้หลายบัญชี มีการสรุปผลรายรับรายจ่ายในแต่ละวันให้ด้วย ในส่วนของแอพนี้นั้นรองรับการใช้งานในสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้น

อ้างอิง https://tinyurl.com/j74mudn