วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เว็บไซต์เรียนเขียนเว็บฟรี

1. FreeCodeCamp

มาเริ่มที่เว็บไซต์แรกกับ FreeCodeCamp ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับเรียนรู้ web development ชื่อดังโดยก่อตั้งในปี 2014 ในตัวของเว็บไซต์จะประกอบด้วยหลักสูตร web developement มากมายซึ่งจะมีรูปแบบการเรียนรู้ learning by doing ด้วยการหลอมรวมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาอยู่ในแบบฝึกหัดที่จะค่อย ๆ ไต่ระดับความยากขึ้นไป ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปในแต่ละแบบฝึกหัด

ในแต่ละหลักสูตรจะมีใบ Certificate ให้ด้วยนะเออ ซึ่งเราสามารถที่จะนำไปใส่ใน linkedin หรือ resume ได้อีก แต่ เอ๊ะ!!! ตอนนี้ทุกคนคงคิดว่าเว็บไซต์ที่สอนฟรีใบ Certificate คงได้มาง่าย ๆ ดูไม่น่าได้รับการยอมรับแน่เลย แต่หลังจากที่แอดไปตะลุยหลักสูตรมาทำให้รู้ การจะได้ใบ cert มานั้นจะต้องผ่านแต่ละบทก่อน ซึ่งรวมกันทุกบทแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชั่วโมง!!! ยัง ยังไม่พอ เราต้องทำ Project หลักสูตรที่เราเรียนอีก 5 project นอกจาก learning platform แล้วตัว FreeCodeCamp ยังมี community ที่จะมาแชร์บทความต่าง ๆ มากมายตั่งแต่พื้นฐานยัน expert บวกกับ Forum community ที่เราสามารถที่จะตั้งคำถามข้อสงสัยในสิ่งที่เรียนมาในแต่ละหลักสูตรได้ เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น คล้ายกับ stackoverflow

FreeCodeCamp ถือว่าเป็นเว็บไซต์เรียน Web development ที่ครบวงจรในตัวเอง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนเว็บไซต์ทุก ๆ ท่าน

2. W3Schools

มาต่อกับเว็บไซต์ต่อไปที่นักพัฒนาเว็บไซต์ทุกคนต้องรู้จักอย่างแน่นอนกับ W3Schools เว็บไซต์ที่รวบรวมความรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ทั้ง Front-end และ Back-end W3Schools ก่อตั้งในปี 1998 มีสโลแกนประจำตัวที่แสดงถึงความเก่าแก่และยิ่งใหญ่อย่าง

เนื้อหาแต่ละหลักสูตรของ W3Schools จะมีการแบ่งหัวข้อที่ชัดเจนเรียงลำดับจากง่ายไปยาก ซึ่ง W3School จะเน้นไปที่การเรียนรู้จากตัวอย่างเป็นซะส่วนใหญ่ โดยแต่ละหัวข้อจะมีคำอธิบายและ code ตัวอย่างให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและแก้ไขได้ แต่ถ้าใครต้องการความท้าทายก็จะมีในส่วนของ W3Schools exercise ที่จะให้เราทำโจทย์จากสิ่งได้เรียนรู้มาในแต่ละหัวข้ออีกด้วย ในส่วนใบ Certification ของ W3Schools ก็สามารถมีได้ด้วยการจบหลักสูตรและ project บวกกับเงินอีก 95$

W3schools ถือเป็นเว็บไซต์ Web development ที่เก่าแก่ซึ่งเปรียบกับคัมภีร์ Guidebook สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถให้ย้อนกลับมาทบทวนได้เสมอไม่ว่าจะพึ่งเริ่มต้นหรือว่ามีประสบการณ์มานานแล้ว

3. The Odin Projects

The Odin Projects ก่อตั้งในปี 2013 โดยออกแบบมาสำหรับ Self learning ที่ต้องการหลักสูตรที่มีคุณภาพ ตัว The Odin Projects จะมีทั้ง Resource และ Open source ให้ใช้งานในการเรียนรู้พร้อมกับคำอธิบายที่ชัดเจน ทำให้ในแต่ละงานมีความท้าทายสูง ซึ่งในส่วนท้ายในแต่ละบทก็จะมี Assigment ให้ทำด้วยเช่นกัน หลักสูตร The Odin Projects เป็นภาษาอังกฤษ

นอกจากหลักสูตรเรียนแล้ว The odin project ก็ยัง Community ของตัวเองอีกด้วยซึ่งจะอยู่ใน Discord สิ่งที่ชอบของ The Odin projects คือ มี Resource ที่เยอะมาก!!! ทำให้เราสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ Solution ที่จะเป็นการแชร์ Code ของ Assignment แต่ละคนที่ทำก่อนหน้าเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นข้อผิดพลาดของ Code เราได้ชัดเจนขึ้นและนำมาปรับปรุงในการทำ Web development ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

The Odin Projects ถือเป็นเว็บไซต์สำหรับเรียนรู้ Web development ที่ไม่ค่อยเหมาะกับ beginner สักเท่าไหร่เมื่อเทียบกับ platform อีก 2 อันด้านบน แต่ถ้าใครมีประสบการณ์มาบ้างนี่อาจเป็นที่ที่ทำให้คุณได้ศึกษา Resource ใหม่ ๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้

4. coursera

มาถึงกับเว็บไซต์เรียนออนไลน์ที่มีชื่อเสียงมากเปรียบได้กับเจ้าพ่อแห่งวงการเรียนออนไลน์ก็ว่าได้กับ Coursera ก่อตั้งในปี 2012 ซึ่งทำงานกับมหาลัยกว่า 150 แห่งและมีคอร์สออนไลน์หลายแขนงมากกว่า 4,000 คอร์ส ในส่วนของคอร์ส Web development มีมากถึง 1,058 คอร์ส แอดบอกได้เลยว่าเยอะมาก แต่ถึงยังงั้นมันก็ยังเต็มไปด้วยคอร์สที่ไม่ดีและดีปะปนกันไป ซึ่งจะมีการวัดจาก คะแนน review หลักสูตรของ Coursera จะมีทั้งได้ใบ Certificate และ Degree ทำให้เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการเรียนจริงจัง สามารถนำไปใช้ยื่นสมัครได้เลย โดยจะมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 49 $ ในแต่ละคอร์ส แต่เราก็สามารถที่จะขอทุน Financial aid(บางคอร์ส) ได้ด้วยการเขียน statement of purpose ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 15 วันในการตรวจสอบ แต่ถ้าใครอยากเรียนฟรี ก็จะมีในส่วนของ Audit ที่จะสามารถเรียนตามบทฟรี แต่ว่าจะไม่สามารถทำ Assignment หรือ Exercise ได้ และไม่ได้รับใบ Certificate หรือ Degree ด้วย

เนื้อหาในแต่ละหลักสูตรของ Coursera จะให้ความรู้สึกมานั่งเรียน lecture มหาวิทยาลัยยังไงยังงั้น โดยการผสมผสานระหว่างคลิปสอน, เนื้อหาให้อ่าน และ exercise ให้ทำ แบ่งออกเป็นแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการ discuss คำตอบบางอย่างกับเพื่อนในคลาส ทำให้เรามี interactive ต่อเพื่อนในคลาสมากขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากเว็บไซต์ข้างบนทั้ง 3 ที่เน้นไปที่การ self-learning ซะเป็นส่วนใหญ่ และยังมีระบบ Grade ที่จะเป็นการนำคะแนนจาก Quiz มาคำนวณ ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนกลับไปเรียนในมหาลัย ยิ่งขึ้นไปอีก

Coursera ถือเป็นเว็บไซต์ที่มีหลักสูตรเยอะและหลากหลาย ดีบ้างแย่บ้างปนกันไป มีใบ Certificate และ Degree ที่เป็นมาตรฐานสากล อีกทั้งยังมีระบการเรียนที่ให้ความรู้สึกเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ทำให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้น ไม่ใช่แค่เรื่อง Web development แต่รวมทั้งการเริ่มเรียนสิ่งใหม่ที่เราสนใจอีกด้วย

5. Codewars

จาก 4 เว็บไซต์ที่กล่าวมาข้างตันจะเห็นได้ว่าแต่ละเว็บไซต์จะมีรูปแบบหลักสูตรที่เฉพาะตัว และให้ความรู้สึกเวลาเรียนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเว็บไซต์ที่จะพูดถึงต่อไปนี้ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากเช่นกัน ด้วย Concept เน้นไปการแข่งขันที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับการเล่นเกมไต่แรงค์ ดั่งกับชื่อ Codewars ก่อตั้งในปี 2012 เป็น Community platform สำหรับการเขียนฝึกโปรแกรม นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถฝึกซ้อมใน Exercise เพื่อขัดเกลาสกิลผ่านการฝึกฝนและทำซ้ำหรือที่เรียกว่า kata ในส่วนของ kata ก็จะมีการให้แรงค์กับผู้เล่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Codewars เช่นกันนอกจากนี้ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่โคตรเป็นเอกลักษณ์คือ เงื่อนไขการ Sign up ที่มาพร้อมกับแบบฝึกหัด ซึ่งถ้าคุณทำไม่ได้คุณก็จะไม่มี Account!!!

แบบฝึกหัดแต่ละบทจะให้ความรู้สึกเหมือนเล่นเกม ให้ความท้าทาย ด้วยระบบ Level สำหรับ ผู้เล่น แสดงผ่าน Rank ตั่งแต่ 8 kyu(ต่ำสุด) จนถึง 4 dan(สูงสุด) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยากของ kata บวกกับความเร็วในการแก้ไขปัญหาที่ตัว user ได้ทำไว้ และยังมี Honor ที่เป็นตัวแสดงการยอมรับจาก Community ได้รับมาจากสมาชิกคนอื่น จะเห็นได้ว่า Rank ของ User จะบ่งบอกถึงความสามารถส่วน Honor จะบ่งบอกการมีส่วนรวมใน Community ในแต่ละแบบฝึกหัดมีระดับความยากที่เหมาะสมคนที่มีประสบการณ์ในภาษานั้นพอสมควร ถ้าใครคิดว่าจะมาเริ่มเรียนภาษาใหม่ในนี้ แอดคิดว่าจะต้องพยายามสักหน่อย แบบฝึกหัดจะมีคำอธิบายโจทย์ และ Sample test แสดงตัวอย่างเฉลยที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังมีการแชร์ Code ของ User คนอื่น โดยเราสามารถ Vote / Comment / Compareได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบ Solution ในการแก้ปริศนากับ User รายอื่น ๆ วิธีการนี้ช่วยให้คุณค้นหา Bug ใน Code ของคุณได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาเดียวกันจากมุมมองที่แตกต่างไป นอกจากนี้ถ้าเราไม่พอใจแบบฝึกหัดใน kata เราสามารถคิดโจทย์ใหม่ขึ้นเองได้ด้วย

Codewars ถือเป็น platform หนึ่งที่ใช้ gamfication มาใช้ในหลักสูตรทำให้เกิดความท้าทายในการศึกษา มาพร้อมกับแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับคนมีประสบการณ์ ทำให้ platform นี้ไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นสักเท่าไหร่นัก

6. Traversy Media

Traversy Media ก่อตั้งครั้งแรกในช่อง Youtube ปี 2011 ซึ่งคลิปส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง web development ปัจจุบันมีจำนวนคลิปสอนภาษาอังกฤษมากกว่า 1,000 คลิป ซึ่งแต่ละคลิปมีเนื้อหาที่มีคุณภาพผ่านจากประสบการณ์การทำงานของนักพัฒนา ตาม concept “Bringing the world the highest quality programming content” ส่วนใหญ่เนื้อหาในแต่ละหลักสูตรเน้นไปที่การลงมือทำ Project จาก Resource ใน git เป็นซะส่วนใหญ่

แต่ถ้าใครต้องการใบ Certification Traversy Media ก็จัดให้คุณได้ใน Udemy ซึ่งจะมีอยู่จำนวน 12 course ราคา course ละ 349 บาท ได้แก่

แต่ถ้าใครต้องการใบ Certification แล้วล่ะก็ Traversy Media มีคอร์สสอนอยู่บน Udemy ด้วยนะครับ จะมีทั้งหมด 12 course ด้วยกัน เริ่มต้นราคาเพียง 349 บาท ตามด้านล่างนี้เลยครับ สอนโดยเจ้าของที่ชื่อว่า Brad Traversy

Traversy Media ถือเป็นช่อง Youtube ที่ใครเคยศึกษา Web development ต้องผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งแต่ละคลิปมีตั่งแต่สอน Beginner จนถึงสามารถทำงานได้จริง ถือว่าเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ที่ไม่ต้องการเสียเวลาสมัครสมาชิก แค่เปิด Youtube ก็สร้างเว็บไซต์ได้แล้ว

7. Khan Academy

Education platform ชื่อดังที่มีจุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาคุณภาพสูงแก่คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหนทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกอย่าง Khan Academy ก่อตั้งในปี 2006 ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft และ Google โดยเริ่มต้นมาจากนักศึกษาคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Salman Khan ได้ถ่ายคลิปสอนเผยแพร่ลงอินเทอร์เน็ต ด้วยความที่การสอนของ Khan เน้นไปที่ความเข้าใจมากกว่าความจำ ทำให้คลิปสอนของ Khan ตอนนั้นกลายเป็นที่นิยมขึ้นมา ปัจจุบัน Khan academy มีหลักสูตรหลายวิชาทั้ง คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งรองรับภาษาไทยด้วย ในส่วนของ Web development มีหลักสูตร ,บทความ และ Excercise รวมกันกว่า 1,000 อย่าง ซึ่งมีตั่งแต่ระดับง่ายจนไปถึงระดับยาก จุดเด่นของ Khan Academy คือการสอนเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย รวมทั้ง ระบบใน Platform นี้จะบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของแต่ละคนและนำมาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อสร้างโจทย์ฝึกหัดที่เหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย

8. Wesbos

Wesbos เกิดขึ้นจาก Full stack developer มีนามว่า Wes Bos ต้องการช่วยให้ทุก ๆ คนสามารถเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ดี ดังนั้นเขาเลยเริ่มถ่ายคลิปสอนใน Youtube ก่อนจนตอนหลังเริ่มมาทำ Wesbos เหมือนกับ Khan Academy ใน platform นี้มี course อยู่ 3 แบบ คือ Free ,Starter course และ Master package 

ในส่วนของ Starter course จะมีราคา 82$ ส่วน Master packageจะมีราคา 97$ ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติม นอกจาก Course เรียน Wesbos ยังมีในส่วนของ Podcast อีกด้วย ชื่อว่า Syntax เนื้อหาใน Podcast จะพูดถึง Web development เป็นส่วนใหญ่ และบทความ web development ที่มีมากกว่า 120 บทความ บวกกับ Tip ที่มาจากประสบการณ์ของ Wes Bos ใน twitter ทำให้เว็บไซต์นี้มีจำนวนเนื้อหาการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนเริ่มต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเว็บไซต์ที่เล็กเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นก่อนหน้า

9. MIT OpenCourseWare (visit)

MIT OpenCourseWare เป็น platform ของโครงการของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์(MIT) ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์แห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ใน OCW ได้รวบรวมเนื้อหาวิชาที่มีการเรียนการสอนใน MIT มาเผยแพร่ใน platformนี้ เพื่อเปิดให้คนทั่วไปได้ได้รับความรู้ที่มีคุณภาพ แบบไม่ต้องลงทะเบียน และไม่ต้องเสียเงินสักบาทเดียว หลักสูตรใน OCW มีมากกว่า 2,500 หลักสูตร โดยในแต่ละหลักสูตรนอกจากเนื้อหาเรียนแล้วยังมี การบ้าน การเรียนโต้ตอบ และข้อสอบพร้อมเฉลยอีกด้วยให้ความรู้สึกเหมือนเราบินไปเรียน MIT ยังไงยังงั้นเลย

10. Mozilla Developer Network (visit)

มาถึงเว็บไซต์สุดท้ายกับ Mozilla Developer Network(MDN) เกิดจากบริษัทเบราเซอร์ชื่อดังอย่าง Firefox ที่ต้องการสร้างคลังเก็บข้อมูล Web development ไว้สำหรับนักพัฒนา คล้ายกับ W3Schools ในส่วนของ MDN จะมีเนื้อหาที่คลอบคลุมในส่วนของ HTML, CSS และ JavaScript นอกจากนี้ยังมี Resource อื่นอีกมากมายที่จำเป็นใน Web development อีก เช่น HTTP, APIs, MathML, Game developement โดยในแต่ละบทจะเป็นคำอธิบายและ Code ซึ่งก็จะมี Challenge อยู่บ้างบางบท

อ้างอิง   https://tinyurl.com/52nras4b

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น