ถ้าโน๊ตบุ๊คที่ใช้งานอยู่เริ่มช้า เริ่มมีอาการอืด เปิดเครื่องก็ติดช้า เปิดโปรแกรมขึ้นมาแต่ละทีแล้วต้องรอเป็นวัน กินข้าวก็แล้ว ดูหนังก็แล้ว ยังโหลดไม่เสร็จ เราอาจไม่ต้องลงมือลงแรงถึงขั้นเปลี่ยนเครื่องใหม่ หากแต่เปลี่ยน HDD เป็น SSD ก็เรียกความเร็วของคอมพิวเตอร์/โน๊ตบุ๊ค ให้เร็วขึ้นได้เกือบเท่าตัวแล้ว
เปรียบเทียบ Hard Disk กับ SSD
ฮาร์ดดิสหรือหน่วยความจำหลักสำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ ถ้าเป็นสมัยก่อนแทบไม่มีผลต่อการใช้งานเครื่องเท่าไร เพราะเป็นฮาร์ดดิสค์จานหมุน จึงจะมีผลกับพื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่ายิ่งความจุมากก็เก็บข้อมูลได้เยอะ แต่ปัจจุบันฮาร์ดดิสค์มีแบบ SSD (solid state drive) หรือฮาร์ดดิสค์ที่เป็นแบบชิป ข้อดีของมันก็คือเร็วกว่าฮาร์ดดิสค์จานหมุนถึง 10 เท่า เพราะว่าไม่ต้องหมุนจานเพื่อหาตำแหน่งข้อมูล แต่มีข้อสังเกตคือถ้า SSD เสีย ก็จะไม่สามารถกู้ข้อมูลใด ๆ ได้ ในขณะที่ HDD แบบจานหมุนยังพอสามารถเข้าศูนย์กู้ข้อมูลออกมาได้
SSD จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการความเร็วในการเปิดเครื่อง เปิดโปรแกรม หรือค้นหาไฟล์ในเครื่องเป็นหลัก ถ้าเปลี่ยนมาใช้ SSD ชีวิตจะเปลี่ยนไปทันทีแล้วแทบไม่สามารถกลับมาใช้ฮาร์ดดิสค์ธรรมดาได้เลย เปิดเครื่องในระดับไม่ถึงนาที หรือเปิดโปรแกรม เปิดไฟล์ได้รวดเร็ว หาไฟล์ในเครื่องแทบจะในทันทีไม่ต้องรอฮาร์ดดิสค์หมุน และที่สำคัญคือไม่มีเสียรบกวนและประหยัดพลังงานยิ่งกว่า แต่ด้วยพื้นที่จำกัดอาจจะต้องมีฮาร์ดดิสค์แบบ USB ไว้เก็บข้อมูลสักอัน หรือบางรุ่นที่มีพอร์ตเชื่อมต่อฮาร์ดดิสค์ 2 แบบก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความจุได้ด้วย
โดยปกติแล้วโน๊ตบุ๊คทั่วไปจะมีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสค์ แบบ 2.5 นิ้ว 1 ตัวเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว การอัพเกรดจึงเป็นการเพิ่มความจุ หรือเปลี่ยนชนิดของฮาร์ดดิสค์เป็น SSD แบบ 2.5 นิ้ว มีขายทั่วไป ในราคาไม่แพงมาก สามารถซื้อมาใส่แทนตัวเก่าได้เลย จากนั้นก็ลงวินโดวส์เหมือนฮาร์ดดิสค์ธรรมดา และเพื่อความคุ้มค่าสูงสุด เรายังสามารถเอาฮาร์ดดิสค์ตัวเก่าที่ถอดมา ใส่กล่อง เพื่อทำเป็นฮาร์ดดิสค์ USB ได้ด้วย ราคากล่องแค่หลักร้อยคุ้มกว่าไปซื้อฮาร์ดดิสค์ USB ต่อเพิ่ม
มีโน๊ตบุ๊คบางรุ่นที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสค์แบบ SSD นามว่า M.2 ซึ่งสลีอตนี้จะเป็นแบบเดียวกับที่ใช้ต่อการ์ด WiFi มีขนาดเล็ก ทำให้สามารถติดตั้งบนโน๊ตบุ๊คได้โดยไม่เปลืองพื้นที่ และยังสามารถมีฮาร์ดดิสค์แบบ 2.5 นิ้ว อีกลูกได้ด้วย โดย SSD แบบ M.2 จะแบบยาว ๆ คล้ายการ์ด WiFi โดยโน๊ตบุ๊คทั่วไป ซึ่งก็จะแบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 แบบอีกคือ M.2 แบบธรรมดา ซึ่งจะให้ความเร็วเทียบเท่ากับพอร์ต SATA ธรรมดา อีกแบบคือ PCI Express หรือ PCIe แบบเดียวกับซล๊อตบนเมนบอร์ดเครื่องพีซี ซึ่งให้ความเร็วสูงกว่า M.2 ธรรมดา อย่างน้อย 2 เท่าขึ้นไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัว SSD ด้วยว่าสามารถรันได้ที่ความเร็วเท่าไร ซึ่งความต่างนอกจาก PCIe จะมีการระบุถึงชิป Nvme ที่เป็นชิปคอนโทรลแล้ว สล๊อตเชื่อมต่อก็ยังต่างกันอีกด้วย M.2 ทั่วไปจะมี 2 ร่อง ขณะที่ PCIe จะมีร่องเดียว
ซึ่งเราต้องดูก่อนว่า โน๊ตบุ๊คของเรามีสล๊อตหรือไม่ และเป็นแบบใด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบ M.2 แต่ถ้าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีราคาแพง ระดับ 29,990 บาทขึ้นไป ก็มักจะเป็นแบบ PCIe แนะนำว่าเช็คจากผู้ผลิตอีกทีเพื่อความแน่ใจ โดย PCIe จะมีราคาแพงกว่าพอสมควรอย่างน้อย 20 -30% แต่ก็แลกมาด้วยความเร็วสูงกว่า จากนั้นก็มีดูความจุที่ต้องการ 128GB ไปจนถึง 2TB สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสค์ 2.5 นิ้ว อีกลูกอาจจะซื้อแค่ 128GB ก็เพียงพอ (หากต้องการเก็บข้อมูลหรือลงเกมหนัก ๆ ก็สามารถเลือกลงที่ฮาร์ดดิสค์ธรรมดาได้) แต่ถ้าหากโน๊ตบุ๊คมีช่อง M.2 อันเดียว ควรจะซื้อความจุ 256GB ขึ้นไปมาใส่ดีกว่า
ประเภทของ SSD
- PCIe M.2 NVMe ถือเป็นพอร์ตที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และเป็น SSD ราคา ค่อนข้างสูง แต่สามารถทำความเร็วอ่านเขียนได้ถึงระดับ 5,000 MB/s ใน PCIe 4.0 หรืออย่างต่ำๆก็ได้ 1500 – 3500 MB/s แล้ว เปิดเครื่องไวเปิดโปรแกรมเร็ว เมนบอร์ดส่วนใหญ่ในปัจจุบันทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊ครองรับ ถ้าซื้อเครื่องมาใหม่แนะนำใช้แบบ PCIe NVMe ไปเลย
- SATA M.2 มีหน้าตาเป็นการ์ดเหมือน PCIe NVMe แต่จะต่างที่ขาสล๊อต และชิปควบคุม ตามสเปคจะอ่านเขียนได้ช้ากว่า PCIe ที่ราวๆ 500 MB/s เพราะอยู่บนมาตรฐาน SATA เช่นเดียวกับแบบต่อสาย แต่ได้ข้อดีคือไม่ต้องต่อสาย หรือจ่ายไฟเพิ่ม รวมไปถึงโน๊ตบุ๊คในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเน้นความบางเบาก็จะเป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบนี้
- SATA III 2.5 นิ้ว เป็นพอร์ตที่เชื่อมต่อโดยการใช้สาย แบบเดียวกับฮาร์ดดิสค์เลย เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค พีซีรองรับเกือบทุกตัวเลยก็ว่าได้ เพราะเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีช่องต่อสาย SATA มาให้แน่นอน ไปจนถึงพีซีรุ่นเก่าหรือโน๊ตบุ๊คต่อให้เก่ามากๆยังไงก็ยังสามารถใช้ SSD แบบนี้ได้
เลือก SSD ราคา ความจุ เท่าไรถึงพอเหมาะ?
- 128GB ความจุเริ่มต้น จัดเป็น SSD ราคา ประหยัด เหมาะกับเครื่องที่เน้นใช้งานทั่วไป ลงวินโดวส์ โปรแกรมออฟฟิต และเก็บไฟล์รูป หนังอีกนิดหน่อย ไม่เหมาะกับการลงเกมหรือโปรแกรมใหญ่ๆ เหมาะกับการซื้อไปอัพเกรทพีซีเครื่องเก่า หรือมีฮาร์ดดิสค์ไว้เก็บข้อมูลอยู่แล้ว
- 256GB ความจุพื้นฐาน เป็นความจุที่เหมาะสมทั้งการใช้งานทั่วไป ลงเกมหรือโปรแกรมได้ประมาณนึง แต่ก็ไม่สามารถติดตั้งเกมหรือโปรแกรมใหญ่ๆได้มากนัก แนะนำว่าใช้งานคู่กับฮาร์ดดิสค์จะดีที่สุด ไม่ควรใช้ลูกเดียวจบเพราะอาจจะไม่พอใช้งาน
- 512GB ความจุระดับกลาง เป็น SSD ราคา แนะนำ ความจุเหมาะสมของทีมงาน สำหรับเกมเมอร์ที่ใช้ SSD เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ลงเกม หรือโปรแกรมหนักๆได้เยอะ หรือจะสายตัดต่อก็ยังมีพื้นที่ไว้เก็บไฟล์งานได้ สามารถใช้ลูกเดียวจบได้โดยไม่ต้องมีฮาร์ดดิสค์มาเสริม แต่ถ้าท่านข้อมูลเยอะ ไฟล์งานมาก ก็อาจจะหาฮาร์ดดิสค์พกพามาสำรองข้อมูลเป็นพักๆ
- 1TB ความจุน่าใช้ ลูกเดียวจบ ลงได้ทั้งเกม โปรแกรม ไฟล์งาน หนังรูปเพลง โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความจุ ใส่ในโน๊ตบุ๊คหรือพีซีลูกเดียวไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดดิสค์ไว้สำรองข้อมูลก็ยังได้ เหมาะกับท่านที่เน้นความสะดวกไม่อยากเก็บข้อมูลหลายที่ และไม่ต้องมาห่วงเรื่องความจุเต็ม
- 2TB ความจุเหลือใช้ เหมาะกับท่านที่จบตรง SSD ราคา ไม่ใช่ปัญหา ลูกเดียวครบ เก็บเพลง หนัง งาน โปรแกรม เกม เป็นสิบเป็นร้อยก็ยังไหว แต่ต้องระวัง SSD บินนะครับ เพราะไม่อย่างงั้นชีวิตท่านจะสูญสลายไปด้วย ยังไงต่อให้ SSD ความจุสูง ก็ต้องมีฮาร์ดดิสค์ไว้เก็บข้อมูลด้วยนะ
สรุป
อ้างอิง https://tinyurl.com/3f2nn3ca
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น