คงปฏิเสธไม่ได้ ว่าโปรแกรม EXCEL เป็นโปรแกรมที่คนทำบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องใช้กันตลอดเวลา วันนี้แอดมินนำสูตร EXCEL ที่นักบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องรู้มาฝากกันค่ะ
1. EOMONTH
วิธีเขียนสูตร =EOMONTH(start_date, months)
ใช้เมื่อไหร่: คำนวณวันสุดท้ายของเดือน
หมายเหตุ : หากต้องการวันสิ้นเดือนของเดือนปัจจุบัน ให้ใส่ month = 0
2. SUMIFS
วิธีเขียนสูตร =SUMIFS(sum_range, criteria_range1, criteria1,…)
ใช้เมื่อไหร่ : คำนวณผลรวมของข้อมูลโดยมีเงื่อนไข (หลายเงื่อนไข หรือ เงื่อนไขเดียวก็ได้)
หมายเหตุ : สามารถใส่ >, >=, <, <=, "", <> ใส่ส่วนเงื่อนไข (criteria) ได้ และ สามารถใส่ สัญลักษณ์ wildcard (?, *, <>, “”) ในเงื่อนไข (criteria) ได้
3. COUNTIFS
วิธีเขียนสูตร =COUNTIFS(criteria_range1, criteria1,…)
ใช้เมื่อไหร่ : นับจำนวนรายการของข้อมูลโดยมีเงื่อนไข (หลายเงื่อนไข หรือ เงื่อนไขเดียวก็ได้)
หมายเหตุ : สามารถใส่ >, >=, <, <=, "", <> ใส่ส่วนเงื่อนไข (criteria) ได้
4. VLOOKUP
วิธีเขียนสูตร =VLOOKUP(lookup_value, table_array, col_index_num, [range_lookup])
ใช้เมื่อไหร่: หาข้อมูลในแนวตั้ง
หมายเหตุ :
- range_lookup = true หากต้องการ approximate match (default)
- range_lookup = false หากต้องการ exact match
- ข้อมูลที่หา ต้องอยู่ซ้ายสุด ของตาราง (table_array) เสมอ
- กรณีต้อง lookup หลายคอลัมน์ ใช้ reference ไปยังตัวเลขเพื่อบอก column number
- ใช้ VLOOKUP + COLUMNS เพื่อป้องกันการเพิ่ม/ลดคอลัมน์ในตาราง
- ใช้ VLOOKUP + IFERRORS เพื่อกำหนดค่า หากหาแล้วไม่เจอ
4. HLOOKUP
วิธีเขียนสูตร =HLOOKUP(lookup_value, table_array, col_index_num, [range_lookup])
ใช้เมื่อไหร่: หาข้อมูลในแนวนอน
หมายเหตุ :
- วิธีการใช้ HLOOKUP เหมือนกับ VLOOKUP เพียงแต่ HLOOKUP เป็นแนวนอน
- ข้อมูลที่หา ต้องอยู่บนสุด ของตาราง (table_array) เสมอ
5. XLOOKUP
วิธีเขียนสูตร =XLOOKUP(lookup_value, lookup_array, return_array, [if_not_found], [match_mode], [search_mode])
ใช้เมื่อไหร่: หาข้อมูลในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้
หมายเหตุ :
- นำมาใช้แทน VLOOKUP / HLOOKUP
- แก้ปัญหาลำดับคอลัมน์เลื่อนเมื่อเพิ่ม data ไปในตารางที่จะ lookup
- ไม่ต้องเสียเวลานับตำแหน่งคอลัมน์ที่ต้องการว่าคือคอลัมน์ที่เท่าไหร่
- สามารถกำหนดค่าสำหรับเมื่อ lookup แล้วหาไม่เจอ
- ข้อมูลทีเป็น reference จะอยู่ตรงไหนของตารางก็ได้ (ไม่จำเป็นต้องอยู่คอลัมน์ซ้ายสุดอีกต่อไป)
- Default คือ exact match
- approximate match สามารถกำหนดให้เลือกได้ว่าให้หาค่าที่ ใกล้เคียง ที่น้อยกว่า หรือ มากกว่า และเราไม่ต้อง sort data
อ้างอิง https://tinyurl.com/4fj9743f
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น