วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

HTC Desire C สวยเสียงใส


เอชทีซีเปิดตัวสมาร์ตโฟนน้องใหม่ HTC Desire C เด่นที่พลังเสียงกระหึ่มและดีไซน์โฉบเฉี่ยว

เอชทีซี เปิดตัวน้องใหม่ตระกูลดีไซร์ HTC Desire C ที่ยังไฉไลทั้งงานดีไซน์และพลังเสียงอย่างเดิม เขย่าตลาดระดับกลาง ในราคาน่าจับจอง
HTC Desire C ใช้ระบบปฏิบัติการณ์ล่าสุดแอนดรอยด์ 4.0 (ICS) และเซนส์ 4.0 สุดยอดฟีเจอร์ที่เข้าถึงทุกความต้องการเอกลักษณ์เฉพาะของเอชทีซี พร้อม Dropbox ความจุมากถึง 25GB จะสำรองข้อมูลความบันเทิง ทั้งภาพถ่าย เพลง วิดีโอ และไฟล์ข้อมูลต่างๆ ได้มากกว่า 1,000 ไฟล์ ก็ทำได้เต็มที่ไม่ต้องกลัวพื้นที่จะเต็มง่ายๆ

ด้านความบันเทิงก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนมองหา Desire C มีกล้องถ่ายภาพความละเอียด 5 ล้านพิกเซล พร้อมเล่นเกมมัน ฟังเพลงเพลินมากกว่าเคยเมื่อมีพลังเสียงจากบีทส์ ออดิโอ ที่คอเพลงยกให้ว่าเสียงเยี่ยมชัดแจ๋วมากกว่าใคร

มี 3 สีให้เลือกคือ สีแดง สีขาว และสีดำ ในราคา 6,990 บาท

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทรัมป์เจนใหม่ปลอดภัยสูง


คิงส์ตัน เปิดตัว ทรัมป์ไดร์ฟเจเนอเรชั่นใหม่พร้อมความสามารถในการปกป้องข้อมูลด้วยการเข้ารหัส

บริษัท คิงส์ตัน เทคโนโลยี ประเทศไทย แนะนำ Data Traveler Locker+ G2 ไดรฟ์ USB ความปลอดภัยสูงเจเนอเรชั่นที่สองที่ใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Mac และ Windows พร้อมการปกป้องข้อมูลด้วยการเข้ารหัสบนฮาร์ดแวร์ ใช้งานง่ายเพียงแค่ตั้งรหัสผ่านในการใช้งานครั้งแรกโดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์หรือการปรับแต่งใดๆ เพิ่มเติม พร้อมระบบจัดการรหัสผ่าน เพื่อการจัดเก็บชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านได้สูงสุดถึง 20 บัญชี ดีไซน์สวยงามโดดเด่นมีสไตล์ด้วยวัสดุหุ้มแบบโลหะและห่วงสำหรับคล้องสายเข้ากับกระเป๋าเอกสาร กระเป๋าสตางค์ และเป้สะพายหลังเพื่อความสะดวกในการพกพายิ่งขึ้น

Data Traveler Locker+ G2 มีให้เลือกทั้งขนาด 4GB 8GB 16GB และ 32GB รับประกันห้าปีพร้อมบริการสนับสนุนด้านเทคนิคฟรี

2.4 การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์


2. การตกแต่งงานนำเสนอของคุณด้วยวิดีโอ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว
    1. การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
    2. การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ
    3. การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ
    4. การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์
    5. การนำพื้นผิวและลักษณะพิเศษไปใช้กับรูปภาพ
    6. การเอาพื้นหลังและส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกจากรูปภาพ
    7. การครอบ/ตัดรูปภาพ
    8. การจัดการภาพกราฟิก SmartArt
    9. การใช้ effect 3D ในการเปลี่ยนหน้างานนำเสนอ
    10. การคัดลอกเฉพาะคุณสมบัติภาพเคลื่อนไหวไปให้อีกวัตถุหนึ่ง
    11. การจับภาพหน้าจอ (Capture) ลงในหน้างานนำเสนอ
การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์
ดูรายละเอียดในหัวข้อเรื่อง 2.1 การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ

วีดีโอแนะนำ The New Office 2013

วีดีโอแนะนำ The New Office 2013 โปรแกรมออฟฟิสตัวใหม่ เช่น ลูกเล่นใหม่ๆ ใน PowerPoint และโปรแกรม OneNote ที่ถูกออกแบบมารองรับการสัมผัสไ​ด้อย่างลงตัว


แหล่งที่มา  เว็บ Youtube

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แชร์ทุกภาพกับ"ซัมซุง เอ็นเอ็กซ์ ซีรีส์ 3"


ซัมซุงเปิดตัวกล้องดิจิตอลเปลี่ยนเลนส์ได้3รุ่นที่มาพร้อมไว-ไฟสามารถแชร์ภาพผ่านโลกออนไลน์ได้ทันที

ซัมซุงเปิดตัวกล้องดิจิตอลเปลี่ยนเลนส์ได้พร้อมกันทีเดียว 3 รุ่น เอาใจคนชอบกล้องให้ต้องร้องว้าว! กันเลยทีเดียว

ซัมซุง NX 1000, NX 210 และ NX 20 มาพร้อมกับ Wi-Fi ในตัว เพื่อแชร์ความทรงจำแสนดีได้ทันที ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวผ่าน Facebook, Picasa, Photobucket, Email และ YouTube นอกจากนี้ยังแบ็กอัพข้อมูลไปยัง Cloud ได้ด้วย

ทั้งสามรุ่นมาพร้อมประสิทธิภาพครบครัน เลือกใช้เซ็นเซอร์รับภาพเอพีเอส-ซี ซีมอส ความละเอียด 20.3 ล้านพิกเซล ที่พัฒนาขึ้นโดยซัมซุง เพื่อการถ่ายภาพคุณภาพสูง เก็บภาพได้ต่อเนื่อง 8 ภาพต่อวินาที พร้อมปุ่มไอฟังก์ชั่นในตำแหน่งที่ใช้งานได้สะดวกเพื่อการใช้งานที่ง่ายดาย ใช้ตั้งค่ากล้องแบบแมนนวล เช่น ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง การเปิดรับแสง ไวต์บาลานซ์ และ ISO ได้ไวอย่างใจ โดยไม่ต้องละกล้องจากเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นทรีดีพาโนราม่า, สมาร์ตแพแนล ปุ่มเดียวก็เข้าสู่งฟังก์ชั่นต่างๆ ได้, เอฟเฟกต์ถ่ายภาพและเลนส์ที่มีให้เลือกถึง 9 รุ่น ไม่เพียงเท่านั้น ยังบันทึกภาพวิดีโอได้ด้วยความคมชัดระดับฟูลเอชดีความละเอียด 1080 พิกเซล ที่อัตรา 30 เฟรมต่อวินาที

ยิ่งไปกว่านั้น ซัมซุง NX 1000 มีสมาร์ตออโต้ 2.0 ระบบปรับภาพอัตโนมัติ และสมาร์ต ลิงค์ ฮอต คีย์ ที่ช่วยแบ่งปันภาพได้ทันที, ซัมซุง NX 210 มาพร้อมหน้าจออะโมเล็ดขนาดใหญ่ 3 นิ้ว ชัดเจนทุกสีสัน รับชมรูปถ่ายและวิดีโอได้แบบจุใจ ละเอียดทุกเม็ด ปิดท้ายด้วย ซัมซุง NX 20 เก็บภาพได้ครบถ้วนทุกช็อต ด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงถึง 1/8000s หน้าจออะโมเล็ด 3 นิ้ว หมุนได้ 360 องศา พร้อมช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบ SVGA

NX 1000 มี 3 สีให้เลือก คือ ขาว ดำ และชมพู จำหน่ายพร้อมเลนส์ 20-50 มม. ราคา 21,990 บาท NX 210 จำหน่ายพร้อมเลนส์ 18-55 มม. ราคา 27,990 บาท และ NX 20 จำหน่ายพร้อมเลนส์ 18-55 มม. ราคา 34,990 บาท

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จำนวนพิกเซลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จะทำให้พิมพ์ภาพทีใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่าได้


คุณผู้อ่านคิดว่า "กล้องความละเอียด 12 ล้านพิกเซลจะสามารถพิมพ์ภาพได้ใหญ่กว่าเป็น 2 เท่าของกล้องความละเอียด 5 ล้านพิกเซล" หรือเปล่า?

หากคุณตอบว่า แม่นแท้ คำตอบก็คือ คุณเข้าใจผิดแล้ว เนื่องจากเวลาที่เราพิมพ์ภาพจำนวนของพิกเซลจะถูกกระจายลงบนพื้นที่การพิมพ์ในสองมิติ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้น ความยาว x ความกว้าง ในที่นี้จึงเป็นคนละเรื่องกับการบวกความยาวกับความกว้าง...



สมมติว่า ขนาดภาพคือ 4x6 หรือคิดเป็นพื้นที่ 24 ตารางนิ้ว นั่นหมายความว่า ภาพขนาด 2 เท่าจะหมายถึง 8 x 12 หรือ 96 ตารางนิ้ว หรือพูดง่ายๆ ก็คือ คุณต้องการความละเอียดของพิกเซลมากขึ้น 4 เท่า เพื่อพิมพ์ภาพขนาด 8 x 12 นิ้วที่ใหญ่เป็น 2 เท่าของภาพขนาด 4 x 6 นิ้ว ดังนั้น หากคุณต้องการรู้ว่า ถ้าต้องการภาพพิมพ์ที่ใหญ่เป็น 2 เท่าของกล้องที่ใช้อยู่ คุณต้องเลือกกล้องที่ละเอียดเพิ่มข้นเป็นเท่าไร? สามารถแจกแจงได้ดังนี้

  • ภาพพิมพ์ที่ใหญ่เป็นสองเท่าของกล้อง 2 ล้านพิกเซลคือ 4 ล้านพิกเซล
  • ภาพพิมพ์ที่ใหญ่เป็นสองเท่าของกล้อง 4 ล้านพิกเซลคือ 16 ล้านพิกเซล
  • ภาพพิมพ์ที่ใหญ่เป็นสองเท่าของกล้อง 8 ล้านพิกเซลคือ 64 ล้านพิกเซล
  • ภาพพิมพ์ที่ใหญ่เป็นสองเท่าของกล้อง 12 ล้านพิกเซลคือ 144 ล้านพิกเซล

ว่าแต่เราต้องการกล้อง 144 ล้านพิกเซล เพื่อพิมพ์ภาพขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของกล้อง 12 ล้านที่เรามีอยู่นะหรือ? ประเด็นคือ มันยังไม่จบเท่านี้ เนื่องจากในส่วนของการพิมพ์มันมีหน่วยความละเอียดเป็น DPI ซึ่งหมายถึง จำนวนจุดของการพิมพ์ต่อตารางนิ้ว และสำหรับภาพถ่ายที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ยอมรับได้อยู่ที่ 300 dpi

ดังนั้นการพิมพ์ ภาพ 4 x 6 นิ้วที่ 300 dpi คุณสามารถใช้กล้อง 2.16 ล้านพิกเซลก็พอแล้ว (4 x 300 dpi x 6 x 300 dpi = 2,160,000) และหากคุณต้องการพิมพ์ภาพใหญ่ 8 x 10 นิ้ว ความละเอียดของกล้องที่คุณต้องการจะต้องมีอย่างน้อย 7.2 ล้านพิกเซล (8 x 300 dpi x 10 x 300 dpi = 7,200,000)  คราวนี้คุณก็คงพอจะคำนวณเองได้แล้ว ว่าไฟล์ภาพของคุณทีมีอยู่จะสามารถพิมพ์ออกมาได้ขนาดไหนได้บ้างในระดับคุณภาพที่รับได้

ถ้าขี้เกียจคำนวณว่า ไฟล์ภาพทีมีอยู่จะสามารถพิมพ์ออกมาได้ไซส์ขนาดเท่าไร? ลองคลิกเข้าปใช้ตัวช่วยที่เว็บไซต์ photokaboom ดู

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

“ไมโครโซฟต์” เปลี่ยนโลโก้ใหม่ครั้งแรกในรอบ 25 ปี



บริษัท ไมโครซอฟต์ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อันดับ 1 ของโลก เผยโฉมโลโก้ใหม่ของบริษัทครั้งแรกในรอบ 25 ปี

วันนี้ ( 23 ส.ค. 2555) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า บริษัท ไมโครซอฟต์ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อันดับ 1 ของโลก เผยโฉมโลโก้ใหม่ของบริษัทครั้งแรกในรอบ 25 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี นัยว่าเพื่อรับการออกสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะทยอยเปิดตัวตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป

นายเจฟฟ์ ฮานเซ็น ผู้จัดการฝ่ายวางแผน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟต์แถลงว่า โลโก้ใหม่ที่ทางบริษัทจะเริ่มใช้ทันทีนั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4 สี คือแดง เขียว ฟ้า และเหลือง เรียงต่อกันเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เคียงข้างตัวอักษรชื่อบริษัทที่ใช้ตัวอักษรแบบ Segoe ซึ่งเป็นแบบอักษรที่นิยมใช้ในวงการสื่อสารการตฃาดและผลิตภัณฑ์ แทนโลโก้แบบดั้งเดิมที่รูปสี่เหลี่ยมมีลักษณะเป็นลอนคล้ายคลื่น

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้น เพื่อรับการออกวางจำหน่ายของระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 8 ที่เตรียมออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ต.ค. 2555 นี้ และแท็บเล็ตรุ่นแรกของบริษัท ที่มีชื่อว่า “เซอร์เฟส” นอกจากนี้ ไมโครซอฟต์ยังร่วมมือกับบริษัท โนเกีย ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลก ในการวางจำหน่ายสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ พร้อมวินโดวส์ 8 ที่จะเปิดตัวสู่สาธารณชนในวันที่ 5 ก.ย. 2555 นี้

2.3 การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ

2. การตกแต่งงานนำเสนอของคุณด้วยวิดีโอ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว
    1. การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
    2. การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ
    3. การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ
    4. การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์
    5. การนำพื้นผิวและลักษณะพิเศษไปใช้กับรูปภาพ
    6. การเอาพื้นหลังและส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกจากรูปภาพ
    7. การครอบ/ตัดรูปภาพ
    8. การจัดการภาพกราฟิก SmartArt
    9. การใช้ effect 3D ในการเปลี่ยนหน้างานนำเสนอ
    10. การคัดลอกเฉพาะคุณสมบัติภาพเคลื่อนไหวไปให้อีกวัตถุหนึ่ง
    11. การจับภาพหน้าจอ (Capture) ลงในหน้างานนำเสนอ
การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ


ในระหว่างที่เรานำเสนองาน หากเราต้องการจะเน้นจุดใดของคลิปวิดีโอที่ต้องการจะกล่าวถึง โดยการใส่ที่คั่น (Bookmark) ณ ตำแหน่งที่ระบุในวิดีโอหรือคลิปเสียงที่คั่นหน้าไว้ ดังภาพ



การใส่ที่คั่นในคลิป

1. เมื่อเราได้ใส่คลิปวิดีโอหรือคลิปเสียงลงบนสไลด
2. คลิกปุ่ม Play เพื่อให้เล่นวิดีโอ
3. เมื่อเล่นถึงจุดที่สนใจให้ใส่ที่คั่น ภายใต้ Video Tools Menu เลือก Playback tab ในกลุ่ม Bookmarks และคลิกเลือก Add Bookmark


เราสามารถใส่ที่คั่น ณ จุดใด หรือหลายจุดในคลิปได้ ดังภาพ



การลบที่คั่นในคลิป

ต้องการลบที่คั่น บน Time line ของคลิปให้คลิกที่คั่น ณ ตำแหน่งนั้น ภายใต้ Video Tools Menu บน Playback tab ของกลุ่ม Bookmarks และคลิกเลือก Remove Bookmark


ที่คั่น ณ จุดนั้นก็จะถูกลบไป

แหล่งที่มา   เว็บไซต์ Microsoft Office,  http://www.itechtalk.com/thread10958.html

2.2 การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ


2. การตกแต่งงานนำเสนอของคุณด้วยวิดีโอ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว
    1. การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
    2. การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ
    3. การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ
    4. การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์
    5. การนำพื้นผิวและลักษณะพิเศษไปใช้กับรูปภาพ
    6. การเอาพื้นหลังและส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกจากรูปภาพ
    7. การครอบ/ตัดรูปภาพ
    8. การจัดการภาพกราฟิก SmartArt
    9. การใช้ effect 3D ในการเปลี่ยนหน้างานนำเสนอ
    10. การคัดลอกเฉพาะคุณสมบัติภาพเคลื่อนไหวไปให้อีกวัตถุหนึ่ง
    11. การจับภาพหน้าจอ (Capture) ลงในหน้างานนำเสนอ
การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ


เราสามารถแทรกไฟล์เสียง (Sound or music files) เข้ามาใช้ในงานนำเสนอในโปรแกรม PowerPoint 2010 โดยรองรับนามสกุล MP3 หรือ WAV

1. คลิกที่ Insert tab บน ribbon
2. คลิกลูกศรที่ Audio icon
3. เลือก Audio from File...


4. ปรากฎไดอะล็อกซ์ Insert Audio ให้เลือกที่อยู่ของไฟล์เสียงที่ต้องการจะนำเข้ามาใส่
5. เมื่อได้ไฟล์เสียงแล้ว ให้คลิกปุ่ม Insert  
6. ไฟล์เสียงที่ได้จะวางอยู่กลางสไลด


7. ทดสอบและตรวจสอบเสียงบนสไลด
เมื่อใส่ไฟล์เสียงบนสไลดเรียบร้อยแล้ว จะปรากฎไอคอน sound และเมื่อคลิกที่ sound icon มี control bar ปรากฎ

  • Play/Resume: ปุ่มนี้มี 2 หน้าที่ คือ Play (เล่น) และ Resume (หยุด)
  • Rewind:  ระหว่างเล่นเสียงเราสามารถกรอเสียงกลับ โดยคลิกปุ่ม Rewind
    (คลิกแต่ละครั้งจะวิ่งกลับ 0.25 วินาที)
  • Forward:  ระหว่างเล่นเสียงเราสามารถเดินหน้าได้ โดยคลิกปุ่ม Forward
    (คลิกแต่ละครั้งจะวิ่งไป 0.25 วินาที)
  • Mute/Unmute: ฟังหรือหยุดเล่นเสียง 
8. การกำหนดคุณสมบัติของเสียง
  • คลิกไฟล์เสียงบนสไลด
  • ที่ Ribbon จะปรากฎ  Audio Tools คลิกที่ Playback 
9. เราสามารถแก้ไขและกำหนดค่าเพิ่มเติมในไฟล์เสียงได้ ในกลุ่ม Editing และกลุ่ม Audio Options

10. การตัดแต่งคลิปเสียง ให้คลิกที่ Trim Audio จะปรากฎไดอะล็อกซ์

ถ้าต้องการตัดคลิปเสียงด้านหน้า ให้ลาก Start point ดังภาพ ไปยังตำแหน่งที่ต้องการเริ่มต้นคลิปเสียง



ในทางกลับกัน ถ้าต้องการตัดคลิปเสียงท้าย ให้ลาก End point ดังภาพ ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ


คลิกปุ่ม Play เพื่อฟังเสียงที่ตัดแต่งเรียบร้อยแล้ว และจัดเก็บต่อไป

ข้อสังเกต: เราสามารถใช้วิธีนี้กับคลิปวิดีโอในการตัดแต่งได้เช่นกัน

ตอน 11 : 2.1 การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ

2. การตกแต่งงานนำเสนอของคุณด้วยวิดีโอ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว
    1. การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
    2. การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ
    3. การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ
    4. การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์
    5. การนำพื้นผิวและลักษณะพิเศษไปใช้กับรูปภาพ
    6. การเอาพื้นหลังและส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกจากรูปภาพ
    7. การครอบ/ตัดรูปภาพ
    8. การจัดการภาพกราฟิก SmartArt
    9. การใช้ effect 3D ในการเปลี่ยนหน้างานนำเสนอ
    10. การคัดลอกเฉพาะคุณสมบัติภาพเคลื่อนไหวไปให้อีกวัตถุหนึ่ง
    11. การจับภาพหน้าจอ (Capture) ลงในหน้างานนำเสนอ
การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
  1. บทนำ
  2. การฝังวิดีโอในงานนำเสนอ
  3. การเปลี่ยนสีวิดีโอ
  4. การนำลักษณะพิเศษไปใช้กับวิดีโอ
  5. การเพิ่มและการจัดวางซ้อนข้อความให้ตรงจังหวะในวิดีโอ
  6. การเปลี่ยนแปลงความสว่างและความคมชัดของวิดีโอ
  7. การเปลี่ยนแปลงสี ลักษณะ และน้ำหนักของขอบของวิดีโอ
  8. การกำหนดรูปร่างต่างๆ สำหรับแสดงวิดีโอ
  9. การแสดงบางส่วนของวิดีโอ
  10. การเพิ่มรูปเฟรมโปสเตอร์ในวิดีโอ
  11. การตั้งค่าตัวเลือก 'เล่น' สำหรับวิดีโอในงานนำเสนอ
2.1.11 การตั้งค่าตัวเลือก 'เล่น' สำหรับวิดีโอในงานนำเสนอ
  1. การเล่นวิดีโอโดยอัตโนมัติหรือเมื่อคลิก
  2. การเล่นวิดีโอแบบเต็มหน้าจอ
  3. การแสดงตัวอย่างวิดีโอ
  4. การตั้งค่าระดับเสียงของวิดีโอ
  5. การซ่อนวิดีโอเมื่อไม่มีการเล่น
  6. การวนรอบวิดีโอ
  7. การกรอกลับวิดีโอเมื่อเล่นเสร็จ
  8. การแสดงตัวควบคุมสื่อ 
การเล่นวิดีโอโดยอัตโนมัติหรือเมื่อคลิก
1. เลือกหรือดับเบิลคลิกที่คลิปวิดีโอ ที่ Video Tools tabs จะปรากฎ 2 เมนู คือ Format และ Playback ให้คลิกเลือก Playback tab 

Figure 1: Video Tools Playback tab of the Ribbon
2. ภายในกลุ่ม Video Options  คลิกลูกศรล่างที่ Start จะมี 2 กลุ่มให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
  • เล่นวิดีโอทันทีเมื่อนำเสนองาน ให้คลิก Automatically
  • ไม่เล่นวิดีโอทันที เมื่อนำเสนองาน เริ่มเล่นเมื่อคลิก Play 
เคล็ดลับ   สามารถหยุดวิดีโอชั่วขณะในขณะที่วิดีโอกำลังเล่นด้วยการคลิกที่วิดีโอ และถ้าต้องการให้เล่นต่อให้คลิกที่วิดีโออีกครั้ง



การเล่นวิดีโอแบบเต็มหน้าจอ

เล่นวิดีโอเต็มหน้าจอเมื่อนำเสนองาน ภาพที่ปรากฏอาจมีลักษณะผิดส่วนเมื่อถูกขยาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของไฟล์วิดีโอต้นฉบับ

1. ในมุมมองปกติ ให้คลิกเฟรมวิดีโอ
2.  ภายในกลุ่ม Video Options ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้า Play Full Screen

หมายเหตุ   ถ้าตั้งค่าวิดีโอให้แสดงแบบเต็มหน้าจอและตั้งค่าให้เริ่มเล่นโดยอัตโนมัติ (Play Full Screen และ Automatically) เราสามารถนำคลิปวิดีโอวางบนสไลดที่ใดหรือวางนอกสไลดก็ได้ วิดีโอจะเล่นแบบเต็มหน้าจอเช่นเดิม

การแสดงตัวอย่างวิดีโอ
1. ในมุมมองปกติ ให้คลิกเฟรมวิดีโอ
2. ภายในกลุ่ม Preview ให้คลิก Play จะเล่นวิดีโอบนสไลด

การตั้งค่าระดับเสียงของวิดีโอ

Volume drop-down gallery 
ภายในกลุ่ม Video Options ให้คลิกลูกศร Volume แล้วเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
  • ต่ำ
  • ปานกลาง
  • สูง
  • ปิดเสียง
กำหนดระดับความดังว่าจะอยู่ระดับใด

ส่งผลถึงVolumn ของวิดีโอที่ Player Controls bar เพื่อกำหนดระดับความดังตามที่ได้กำหนดไว้
Volume button in the Player Controls bar
การซ่อนวิดีโอเมื่อไม่มีการเล่น

เราซ่อนวิดีโอเมื่อแสดงจบแล้วในการนำเสนอได้ ดังนี้

ภายในกลุ่ม Video Options ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้า Hide While Not Playing

การวนรอบวิดีโอ
ต้องการเล่นวิดีโอซ้ำและต่อเนื่องในระหว่างงานนำเสนอ ดังนี้

ภายในกลุ่ม Video Options ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้า Loop until Stopped

การกรอกลับวิดีโอเมื่อเล่นเสร็จ
เมื่อต้องการกรอกลับวิดีโอหลังจากเล่นเสร็จแล้วในระหว่างการนำเสนอ ให้ทำดังต่อไปนี้

ภายในกลุ่ม Video Options ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้า Rewind after Playing

การแสดงตัวควบคุมสื่อ 

การใช้ Video Controls
1. แสดงงานนำเสนอ คลิกปุ่ม Slide show หรือกดปุ่ม F5
2. ในหน้าสไลดที่มีคลิปวิดีโอวางไว้ เมื่อนำเมาส์ไปวางที่คลิปวิดีโอนั้น จะปรากฎ video controls


3. ใน video controls  มีหน้าที่หลักคือปุ่ม play, pause, rewind, fast forward และปรับเสียงของคลิปวิดีโอ เราสามารถลาก progress bar เพื่อแสดงวิดีโออย่างรวดเร็วได้



แสดง Media Controls
ถ้าไม่ปรากฎ video controls เมื่อเล่นคลิปวิดีโอในมุมมอง slide show เราสามารถกำหนดให้แสดง  media controls ดังต่อไปนี้

1. คลิกที่ Slide Show tab บน Ribbon
2. คลิกเครื่องหมายถูกหน้า Show Media Controls box ภายใต้กลุ่ม Setup



สรุปคำสั่ง 
ภายใต้ Video Tools Playback tab สำหรับส่วน Video Options group


A. Volume: ปุ่มนี้สำหรับกำหนดระดับความดังของเสียงคลิปวิดีโอ เราสามารถกำหนดได้ 4 ระดับ Low (เสียงค่อย), Medium (เสียงดังระดับกลาง), High (เสียงดังสุด), and Mute (ไม่แสดงเสียง)

B. Start:  ในมุมมอง Slide Show (แสดงงานนำเสนอ) กำหนดเล่นคลิปวิดีโอได้ 2 แบบ



  • Automatically: เล่นวิดีโออัตโนมัต (เล่นคลิปวิดีโอทันที) 
  • On Click: ไม่เล่นวิดีโอจนกว่าคลิกที่คลิปวิดีโอโดยตรงจะเล่น และคลิกอีกครั้งก็จะหยุดเล่น
C. Play Full Screen:  เล่นคลิปวิดีโอเต็มหน้าจอ ดังนั้นคลิปวิดีโอที่วางในสไลดจะวางที่ใดก็ได้ ไม่ว่าในหรือนอกสไลด ผลการทำงานก็เป็นลักษณะเช่นเดียวกัน คือแสดงเต็มหน้าจอ นั่นเอง

ข้อสังเกต: คำสั่งนี้จะทำงานในนามสกุลที่แตกต่างกัน
  • นามสกุลไฟล์ AVI และ MOV จะเล่นวิดีโอเต็มหน้าจอได้ 
  • ส่วนนามสกุลอื่น เช่น  MPG, MP4, และ WMV จะแสดงวิดีโอพอดีกับขนาดความสูงของคลิปวิดีโอนั้น 

D. Hide While Not Playing:  ซ่อนคลิปวิดีโอที่เมื่อเล่นจบ เหมาะกับการกำหนดการเล่นเป็นแบบ  Automatically

E. Loop until Stopped: เล่นคลิปวิดีโอซ้ำและต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

F. Rewind after Playing:  ทำการกรอคลิปวิดีโอกลับเมื่อเล่นจบ

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 อันดับแอพพลิเคชั่นประหยัดแบตฯ สำหรับแอนดรอยด์



มาดู 10 อันดับแอพพลิเคชั่นประหยัดแบตฯ สำหรับแอนดรอยด์ กัน

  1. Juice Defender free download
  2. Easy Battery Saver free download
  3. Battery Booster free download
  4. BatteryTime Lite free download
  5. Gauge Battery Widget free download
  6. Battery Dr. Saver + Task Killer free download
  7. 2x Battery – Battery Saver free download
  8. One Touch Battery Saver free download
  9. Dolphin Battery Saver free download
  10. Battery Defender 38.71 bath

เหล่าสาวก แอนดรอย์ต้องหามาใช้งานกันบ้างแล้วนะ เพื่อการประหยัดพลังงานและจะใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

แหล่งที่มา   เว็บไซต์ Face book : ME by TMB

ตอน 10 : 2.1 การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ


2. การตกแต่งงานนำเสนอของคุณด้วยวิดีโอ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว
    1. การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
    2. การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ
    3. การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ
    4. การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์
    5. การนำพื้นผิวและลักษณะพิเศษไปใช้กับรูปภาพ
    6. การเอาพื้นหลังและส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกจากรูปภาพ
    7. การครอบ/ตัดรูปภาพ
    8. การจัดการภาพกราฟิก SmartArt
    9. การใช้ effect 3D ในการเปลี่ยนหน้างานนำเสนอ
    10. การคัดลอกเฉพาะคุณสมบัติภาพเคลื่อนไหวไปให้อีกวัตถุหนึ่ง
    11. การจับภาพหน้าจอ (Capture) ลงในหน้างานนำเสนอ
การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
  1. บทนำ
  2. การฝังวิดีโอในงานนำเสนอ
  3. การเปลี่ยนสีวิดีโอ
  4. การนำลักษณะพิเศษไปใช้กับวิดีโอ
  5. การเพิ่มและการจัดวางซ้อนข้อความให้ตรงจังหวะในวิดีโอ
  6. การเปลี่ยนแปลงความสว่างและความคมชัดของวิดีโอ
  7. การเปลี่ยนแปลงสี ลักษณะ และน้ำหนักของขอบของวิดีโอ
  8. การกำหนดรูปร่างต่างๆ สำหรับแสดงวิดีโอ
  9. การแสดงบางส่วนของวิดีโอ
  10. การเพิ่มรูปเฟรมโปสเตอร์ในวิดีโอ
  11. การตั้งค่าตัวเลือก 'เล่น' สำหรับวิดีโอในงานนำเสนอ
2.1.10 การเพิ่มรูปเฟรมโปสเตอร์ในวิดีโอ
เมื่อเราได้ใส่คลิปวิดีโอ คลิปวิดีโอก็จะปรากฎเป็นสี่เหลี่ยมสีขาวหรือสีดำ (blank or black rectangle) บนสไลด เราสามารถให้แสดงเป็นรูปภาพอื่นๆ แทนได้ด้วยคำสั่ง Poster Frame


เปิดงานนำเสนอและใส่ไฟล์วิดีโอบนสไลด แล้วทำการคลิกหรือดับเบิลคลิกที่วิดีโอ จะปรากฎ Video Tools tabs ซึ่งมี 2 ส่วนคือ Format  Tab และ Playback Tab ให้คลิกเลือก Format tab


Figure 1: Video Tools Format tab of the Ribbon

สังเกตว่าวิดีโอที่เรานำมาวางไว้จะมีหน้าตาเป็นสีดำ เราสามารถเพิ่ม Poster frame ได้ 2 วิธี ดังนี้

  1. ใส่ภาพจากคลิปวิดีโอตัวเอง
  2. ใส่ภาพจากไฟล์รูปทั้งนามสกุล JPG หรือ PNG

ข้อสังเกต : ถ้าคลิปวิดีโอที่นำเข้ามาบนสไลดเป็นไฟล์ Flash หรือไฟล์ animated GIF หรือนำเข้าจาก url ของอินเทอร์เน็ต จะไม่สามารถกำหนด poster frame ภายในคลิปวิดีโอได้ (คำสั่ง poster frame ใช้สำหรับไฟล์วิดีโอที่เรานำเข้ามาบนสไลดโดยตรงเท่านั้น)


ใส่ภาพจากคลิปวิดีโอตัวเอง
1. เปิดงานนำเสนอและใส่ไฟล์วิดีโอบนสไลด แล้วทำการคลิกหรือดับเบิลคลิกที่วิดีโอ จะปรากฎ Video Tools tabs ซึ่งมี 2 ส่วนคือ Format  Tab และ Playback Tab ให้คลิกเลือก Format tab (ดังภาพ Figure 1: Video Tools Format tab of the Ribbon)

2. ในมุมมองของ Normal editing view ใน PowerPoint 2010  ให้คลิก Play เพื่อแสดงคลิปวิดีโอจาก Player Control bar จนได้ภาพที่เราต้องการให้แสดง คลิก Pause เพื่อหยุดการแสดงคลิปวิดีโอ
Figure 2: Pause button within the Player Control bar
3.  เมื่อเราได้หยุดภาพที่คลิปวิดีโอดังข้อ 2 เป็นภาพที่ปรากฎในหน้าแรกของคลิปวิดีโอ
Figure 3: Paused video shows a frame 
4. ภายใต้ Video Tools Format tab ในกลุ่ม Adjust และคลิกลูกศรล่างคำสั่ง Poster Frame

Figure 4: Current Frame option within the Poster Frame drop-down gallery 

5.  ภายใต้คำสั่ง Poster Frame เลือกคำสั่ง Current Frame จะปรากฎภาพนั้นในหน้าแรกของคลิปวิดีโอ

ใส่ภาพจากไฟล์รูปทั้งนามสกุล JPG หรือ PNG
1. เปิดงานนำเสนอและใส่ไฟล์วิดีโอบนสไลด แล้วทำการคลิกหรือดับเบิลคลิกที่วิดีโอ จะปรากฎ Video Tools tabs ซึ่งมี 2 ส่วนคือ Format  Tab และ Playback Tab ให้คลิกเลือก Format tab (ดังภาพ Figure 1: Video Tools Format tab of the Ribbon)

2. ภายใต้ Video Tools Format tab ในกลุ่ม Adjust และคลิกลูกศรล่างคำสั่ง Poster Frame

Figure 6: Image from File option to be selected
3. เปิดไดอะล็อก Insert Picture ให้เราเลือกไฟล์รูปที่ต้องการแสดงในหน้าแรกของคลิปวิดีโอ และคลิกปุ่ม Insert

Figure 7: Insert Picture dialog box
4. ผลลัพธ์ที่ได้เป็นภาพหน้าแรกของคลิปวิดีโอแทน

5. จัดเก็บงานต่อไป

ตอน 9 : 2.1 การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ


2. การตกแต่งงานนำเสนอของคุณด้วยวิดีโอ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว
    1. การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
    2. การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ
    3. การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ
    4. การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์
    5. การนำพื้นผิวและลักษณะพิเศษไปใช้กับรูปภาพ
    6. การเอาพื้นหลังและส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกจากรูปภาพ
    7. การครอบ/ตัดรูปภาพ
    8. การจัดการภาพกราฟิก SmartArt
    9. การใช้ effect 3D ในการเปลี่ยนหน้างานนำเสนอ
    10. การคัดลอกเฉพาะคุณสมบัติภาพเคลื่อนไหวไปให้อีกวัตถุหนึ่ง
    11. การจับภาพหน้าจอ (Capture) ลงในหน้างานนำเสนอ
การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
  1. บทนำ
  2. การฝังวิดีโอในงานนำเสนอ
  3. การเปลี่ยนสีวิดีโอ
  4. การนำลักษณะพิเศษไปใช้กับวิดีโอ
  5. การเพิ่มและการจัดวางซ้อนข้อความให้ตรงจังหวะในวิดีโอ
  6. การเปลี่ยนแปลงความสว่างและความคมชัดของวิดีโอ
  7. การเปลี่ยนแปลงสี ลักษณะ และน้ำหนักของขอบของวิดีโอ
  8. การกำหนดรูปร่างต่างๆ สำหรับแสดงวิดีโอ
  9. การแสดงบางส่วนของวิดีโอ
  10. การเพิ่มรูปเฟรมโปสเตอร์ในวิดีโอ
  11. การตั้งค่าตัวเลือก 'เล่น' สำหรับวิดีโอในงานนำเสนอ
2.1.9 การแสดงบางส่วนของวิดีโอ
เมื่อเราได้ใส่คลิปวิดีโอในงานนำเสนอ เราสามารถกำหนดการแสดงบางส่วนของวิดีโอได้เช่นเดียวกับลักษณะรูปภาพ ที่สามารถเลือกบางส่วนของรูปมาแสดงเพื่อทำการนำเสนอเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องได้

1. เปิดงานนำเสนอและใส่ไฟล์วิดีโอบนสไลด แล้วทำการคลิกหรือดับเบิลคลิกที่วิดีโอ จะปรากฎ Video Tools tabs ซึ่งมี 2 ส่วนคือ Format  Tab และ Playback Tab ให้คลิกเลือก Format tab 

Figure 1: Video Tools Format tab of the Ribbon
2. สังเกตว่าวิดีโอที่เรานำมาวางไว้จะมีหน้าตาเป็นสีดำ เราควรใส่รูปภาพหน้าแรกบนวิดีโอเพื่อแสดงสามารถดูผลการปรับแต่งความสว่างหรือคมชัดประกอบได้ง่ายขึ้น และเพื่อสื่อการนำเสนอที่ดีด้วย

วิธีการใส่รูปหน้าแรกบนวิดีโอ ไปที่ Video Tools Format tab ภายใต้กลุ่ม Adjust ให้คลิกปุ่ม Poster Frame โดยเลือก drop-down gallery เพื่อเลือกรูปหรือจะใส่รูปโดยตรงก็ได้



Figure 2: Video clip with a poster frame added

3. ภายใต้ Video Tools Format tab ให้เลือกจากกลุ่ม Size และคลิกปุ่ม Crop

Figure 3: Crop button within Size group

4. จะปรากฎ dark crop handles ล้อมรอบคลิปวิดีโอทั้ง 8 จุด ดังภาพ

Figure 4: Result of selecting the Crop option on a video clip

*** สังเกตว่าด้านทั้งสี่ของคลิปวิดีโอจะเป็นรูปร่างคล้ายเส้นตรง (cropping handles : straight line) และมุมทั้งสี่จะเป็นรูปร่างคล้ายตัววี (cropping handles : rotated "v")

5. คุณสามารถทำการตัดบางส่วนของภาพ

ด้วยการกดปุ่ม Ctrl key โดยมีหลักดังนี้
  • Ctrl+ลากเส้นตรง (cropping handles : straight line) เพื่อต้องการปรับขนาดทั้งสองด้าน ไม่ว่าจะเลือกด้านข้างหรือด้านบน 
  • Ctrl+ลากตัววี (cropping handles : rotated "v") เพื่อต้องการปรับขนาดทั้งสี่ด้านพร้อมกัน โดยคลิกมุมใดมุมหนึ่ง
ด้วยการกดปุ่ม Shift key ขณะลากเม้าส์ โดยมีหลักดังนี้
  • Shift+ลากเส้นตรง (cropping handles : straight line) เพื่อต้องการปรับขนาดเฉพาะด้านที่เราเลือกเท่านั้น ด้านตรงข้ามจะคงที่
  • Shift+ลากตัววี (cropping handles : rotated "v")  เพื่อต้องการปรับขนาดเฉพาะมุมที่เราเลือกเท่านั้น โดยมุมอื่นๆ จะคงที่ 
** เราสามารถกดทั้งปุ่ม Ctrl และ Shift keys ในเวลาเดียวกันเพื่อควบคุมลักษณะการย้าย ทำให้เห็นเฉพาะส่วนที่แสดงในกรอบ ส่วนที่ย้ายออกไปนอกกรอบก็จะไม่ได้ถูกนำแสดง

6.  จากภาพข้างล่าง จะเห็นตัวอย่างของการ Crop คลิปวิดีโอที่ต้องการให้แสดงบางส่วน ส่วนที่เป็นกรอบใหญ่ คือ กรอบขนาดวิดีโอจริง ซึ่งจะถูกตัดให้แสดงเฉพาะที่เห็นใน Crop เท่านั้น

Figure 5: Video clip being cropped
7.  หลังจากทำข้อ 6 เสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Enter key หรือคลิกปุ่ม Crop อีกครั้ง หรืออาจจะคลิกนอกคลิปวิดีโอ ก็จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการ Crop ดังภาพ
Figure 6: Video clip cropped
8. หากต้องการให้แสดงรายละเอียดของคำสั่ง crop เพิ่มเติม ให้คลิกเมาส์ขวา และ เลือกคำสั่ง  Format Video

Figure 7: Format Video option to be selected
9. ปรากฎไดอะล็อก Format Video ดังภาพ เพื่อเลือกคุณสมบัติเพิ่มเติมของคำสั่ง Crop ดังภาพ

Figure 8: Format Video dialog box
10. คลิกปุ่ม Close เพื่อปิดไดอะล็อก และจัดเก็บงานต่อไป 

คลิป...Twitter



แหล่งที่มา   เว็บไซต์มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

คลิปไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากอะไร

วันละนิด วิทย์เทคโน ตอน ไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากอะไร

  
แหล่งที่มา   เว็บไซต์มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตอน 8 : 2.1 การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ

2. การตกแต่งงานนำเสนอของคุณด้วยวิดีโอ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว
    1. การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
    2. การตัดแต่งคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ
    3. การใช้ที่คั่นในคลิปเสียงและคลิปวิดีโอ
    4. การเชื่อมโยงไปยังวิดีโอจากเว็บไซต์
    5. การนำพื้นผิวและลักษณะพิเศษไปใช้กับรูปภาพ
    6. การเอาพื้นหลังและส่วนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกจากรูปภาพ
    7. การครอบ/ตัดรูปภาพ
    8. การจัดการภาพกราฟิก SmartArt
    9. การใช้ effect 3D ในการเปลี่ยนหน้างานนำเสนอ
    10. การคัดลอกเฉพาะคุณสมบัติภาพเคลื่อนไหวไปให้อีกวัตถุหนึ่ง
    11. การจับภาพหน้าจอ (Capture) ลงในหน้างานนำเสนอ
การฝัง แก้ไข และเล่นวิดีโอในไฟล์งานนำเสนอ
  1. บทนำ
  2. การฝังวิดีโอในงานนำเสนอ
  3. การเปลี่ยนสีวิดีโอ
  4. การนำลักษณะพิเศษไปใช้กับวิดีโอ
  5. การเพิ่มและการจัดวางซ้อนข้อความให้ตรงจังหวะในวิดีโอ
  6. การเปลี่ยนแปลงความสว่างและความคมชัดของวิดีโอ
  7. การเปลี่ยนแปลงสี ลักษณะ และน้ำหนักของขอบของวิดีโอ
  8. การกำหนดรูปร่างต่างๆ สำหรับแสดงวิดีโอ
  9. การแสดงบางส่วนของวิดีโอ
  10. การเพิ่มรูปเฟรมโปสเตอร์ในวิดีโอ
  11. การตั้งค่าตัวเลือก 'เล่น' สำหรับวิดีโอในงานนำเสนอ
2.1.8 การกำหนดรูปร่างต่างๆ สำหรับแสดงวิดีโอ
เมื่อเราได้ใส่คลิปวิดีโอในงานนำเสนอ เราสามารถกำหนดรูปทรงของการแสดงคลิปวิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงวงกลม วงรี  ลักษณะคลื่น รูปสามเหลี่ยม หรือรูปทรงต่างๆ แทนที่รูปแบบเดิมได้ (ระลึกเสมอว่า การกำหนดรูปทรงคลิปวิดีโอก็คือการตัดรูปทรงอาจจะทำส่วนสำคัญของคลิปสูญหายได้) 

1. เปิดงานนำเสนอและใส่ไฟล์วิดีโอบนสไลด แล้วทำการคลิกหรือดับเบิลคลิกที่วิดีโอ จะปรากฎ Video Tools tabs ซึ่งมี 2 ส่วนคือ Format  Tab และ Playback Tab ให้คลิกเลือก Format tab และเลือกลูกศรขวาของคำสั่ง Video Shape เพื่อเลือกรูปทรงที่ต้องการ

Figure 1: Video Tools Format tab of the Ribbon
2. จะสังเกตว่าวิดีโอที่เรานำมาวางไว้จะมีหน้าตาเป็นสีดำ เราควรใส่รูปภาพหน้าแรกบนวิดีโอเพื่อแสดงสามารถดูผลการปรับแต่งความสว่างหรือคมชัดประกอบได้ง่ายขึ้น และเพื่อสื่อการนำเสนอที่ดีด้วย


วิธีการใส่รูปหน้าแรกบนวิดีโอ ไปที่ Video Tools Format tab ภายใต้กลุ่ม Adjust ให้คลิกปุ่ม Poster Frame โดยเลือก drop-down gallery เพื่อเลือกรูปหรือจะใส่รูปโดยตรงก็ได้



Figure 2: Video clip with a poster frame added
3. ภายใต้ Video Tools Format tab ให้เลือกรูปแบบจากกลุ่ม Video Styles และคลิกปุ่ม Video Shape button เพื่อเลือก Video Shape drop-down gallery และเลือกรูปแบบที่ต้องการ

Figure 3: Video Shape drop-down gallery
4. ตอนนี้เราเลือกรูปร่างสามเหลี่ยมกับคลิปวิดีโอ

5. นี่คือผลลัพธ์ที่ได้จากการกำหนดรูปร่าง
Figure 4: Video within the Isosceles Triangle shape
เราสามารถกำหนดรูปร่างของคลิปวิดีโอด้วยคำสั่งอื่นๆ อีก เช่น Video Effects, Video Border, หรือ Video Styles

6. ให้ทดลองกำหนดรูปแบบต่างๆ เพื่อทดสอบการกำหนดรูปร่างต่างๆ
Figure 5: Shapes similar to a rectangle work good as Video Shapes

7. เมื่อได้ที่ต้องการแล้ว ให้ทำการจัดเก็บต่อไป

เครื่องชาร์จพกพาจากโซนี่


ไม่ต้องกลัวแบตฯหมดกับเครื่องชาร์จพกพารุ่นCP-A2L จากโซนี่ที่สามารถชาร์จอุปกรณ์ 2 ชิ้นได้พร้อมกัน

เครื่องชาร์จพกพาโซนี่รุ่นใหม่ๆ ขณะนี้ยังมีอีกรุ่นที่น่าสนใจคือ รุ่น CP-A2L มีเทคโนโลยีที่เพียบพร้อมสำหรับผู้ชื่นชอบโทรศัพท์สมาร์ตโฟนโดยเฉพาะ โดยบรรจุแบตเตอรี่ความจุสูงขนาด 4,000mAh มีพลังที่เหลือเฟือสำหรับการชาร์จโทรศัพท์สมาร์ตโฟน รวมถึงกล้องถ่ายภาพดิจิตอล กล้องถ่ายภาพวิดีโอ และเครื่องเล่นเพลงทั้งหลาย มาพร้อมกับพอร์ตต่อ USB ออกถึงสองพอร์ต ทำให้สามารถชาร์จอุปกรณ์ได้ 2 อุปกรณ์ในเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์สำหรับรับรอง USB ในตัวจะให้ความมั่นใจว่าจะใช้งานได้กับอุปกรณ์ USB ต่างๆ ได้ โดยที่ไฟแสดง LED จะทำการแสดงความจุของแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ให้เห็น เมื่อถึงเวลาต้องทำการชาร์จไฟเพิ่มก็เพียงทำการเสียบชุดโมดูลป้อนไฟ AC เข้าที่สามารถถอดออกได้ สำหรับการชาร์จแบบรวดเร็วและเพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวก จะมีการเตรียมสาย Micro-USB สำหรับโทรศัพท์สามาร์ตโฟนมาให้ด้วยเช่นกัน

ราคา 1,490 บาท

แหล่งที่มา   เว็บไซต์โพสทูเดย์ 22 สิงหาคม 2555 เวลา 12:29 น.

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฟังเพลงเพลินๆจากสมาร์ตโฟน


ฟิลิปส์เอาใจคนรักเสียงเพลงกับ  "Fidelio Docking Speaker" ลำโพงเชื่อมต่อกับ สมาร์ตโฟน

ให้ชีวิตอยู่ในห้วงอารมณ์แห่งเสียงดนตรีได้ทุกที่แค่มี Philips Fidelio Docking Speaker Philips AS111 ลำโพงขนาดมินิซึ่งเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือและสมาร์ตโฟนได้ด้วย FlexiDock ด้านบนของเครื่อง เชื่อมต่อได้ไม่ว่าช่อง Micro USB จะอยู่ด้านซ้าย ขวา บน หรือล่าง แถมยังชาร์จแบตเตอรี่ไปในตัวอีกด้วย

นอกจากการเชื่อมต่อแบบปกติแล้ว ยังใช้งานง่ายผ่านบลูทูธเพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น DockStudio ฟรีจาก Android Market ลงบนโทรศัพท์มือถือจะทำให้ Docking และโทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกันโดยอัตโนมัติ พร้อมกันนี้ยังมีฟังก์ชั่นน่าประทับใจแบบอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชั่น Songbird เพื่อการค้นหา และเล่นเพลงจากคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย และ TuneIn ให้ฟังรายการวิทยุบนอินเทอร์เน็ต ไม่เพียงเท่านั้น Philips AS111 สามารถ Sync เวลากับนาฬิกาบนโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติ ทำหน้าที่เป็นนาฬิกาปลุกได้อีกต่างหาก

ราคา 2,990 บาท