วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วิธีรับมือกับโซเชียล

 1. กำหนดเวลาใช้งานโซเชียล และเพิ่มเวลาให้คนในครอบครัว 

ละสายตาจากหน้าจอบ้าง ถ้าบางครั้งมันทำให้คุณรู้สึกหมกมุ่นจนเกินไป หรือถ้าจะให้ดีลองกำหนดเวลาใช้งานโซเชียล สร้างเป็นกฎเล็กๆ ในบ้าน หรือหากิจกรรม ที่ไม่ทำให้คนในครอบครัวรู้สึกอัดอัด

2. ปิดแจ้งเตือน ปิดระบบแนะนำ 

อย่ากดรับวีดีโอที่ระบบชอบเสนอตัวแนะนำ หรือ Recommend มาให้ ถึงแม้มันจะทำให้เราใช้งานได้สะดวกขึ้น เหมือนมีเลขาที่รู้ใจคอยส่งเนื้อหา หรือคลิปโปรดมาให้ดูทุกวัน แต่หารู้ไม่ว่า ระบบ Recommend นั้น กำลังส่องพฤติกรรมการใช้งาน และความสนใจของคุณอยู่ และจะค่อยๆ โจมตีด้วยโฆษณา แบบไม่ให้คุณได้ทันตั้งตัว

3. ล้างคุกกี้เป็นประจำ หรือเลือกใช้เบราเซอร์ที่ไม่เก็บประวัติการค้นหา

อย่าเก็บประวัติท่องเว็บ หรือ History เอาไว้ในเรื่องนานๆ ทางที่ดี ลบมันทิ้งไปหลังใช้งานนั้นดีที่สุด เพราะ AI จะได้ไม่ตามมาไล่ล่าเรา ลองเลือกเข้าเว็บผ่านเบราว์เซอร์ที่ไว้ใจได้ หรือใช้งานผ่านเว็บในโหมดที่ไม่ระบบตัวตนไว้เป็นดีที่สุด

4. เปิดรับข้อมูลรอบด้าน เพื่อเข้าใจข้อมูลที่แตกต่าง

อย่าเพิ่งหลงเชื่อข้อมูลที่ไหลอยู่บนไทม์ไลน์ เพราะมันอาจถูกบล็อกตัวพฤติกรรมและความสนใจ จนปิดกั้นข้อมูลอีกด้าน จนกลายเป็นความเชื่อเพียงด้านเดียว บางที่ข้อมูลที่ไม่ได้อยู่บนโซเชียลอาจจะช่วยให้คุณมองโลกกว้างขึ้นก็ได้ ใครจะไปรู้

5. อย่าแชร์ จนกว่าจะแน่ใจว่าได้ตรวจสอบข้อมูล และแหล่งที่มาแล้ว

หลายคนกดแชร์ข้อมูลโดยไม่ได้ตรวจสอบ พอมารู้ตัวอีกทีก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของคนแชร์ข่าวลวง ข่าวปลอม Fake News ช่วยเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ออกไป กลายเป็นส่วนหนึ่งของภัยบนโลกโซเชียล

อ้างอิง   https://tinyurl.com/yh3dd996

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

แอปพลิเคชันแต่งรูปฟรียอดฮิต

 รวมแอปพลิเคชันแต่งรูปฟรียอดฮิต บน iPhone และ Android ที่ต้องมีประจำเดือนพฤษภาคม

เป็นแอปพลิเคชันเปลี่ยนรูปภาพธรรมดาๆ ให้กลายเป็นภาพแบบเก๋ๆ แบบที่หลายๆ คนโพสต์อวดกันลงบนโลกโซเชียลอย่าง Facebook, Insgram หรือบนบล็อกส่วนตัวต่างๆ ส่วนใหญรองรับทั้งบน iOS, iPhone และ Android 

Adobe Photoshop Lightroom

สามารถทำอะไรได้หลากหลายมาก คล้ายๆ กับการย่อชุดโปรแกรมของ Adobe Lightroom ในคอมพิวเตอร์ (PC) มาไว้บน Smartphone

ย้ำ! ว่ามันแต่งรูปภาพได้มากกว่าที่คิด ล่าสุดนั้นแอป Adobe Lightroom ได้ถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม สามารถทำงานผ่านสมาร์ทโฟนได้แล้ว โดยมีจุดเด่นคือ การปรับแต่งรูปภาพที่ทำได้ง่ายกว่าในคอมพิวเตอร์ มีการประมวลผลได้ในทันที สามารถแชร์ออกสู่โลก Social ได้ทันที

Download แอปแต่งรูป Lightroom

ระบบ iOS: Lightroom

ระบบ Android: Lightroom

Phonto - Text on Photos

เน้นเรื่องของการใส่ตัวอักษรบนรูปภาพ ซึ่งในแอปพลิเคชั่นจะมีตัวฟอนต์หลากหลายแบบให้เลือก รวมไปถึงมีสัญลักษณ์สื่ออารมณ์ต่างๆ มากมาย เพื่อใส่ข้อความ เติมแต่งให้ภาพของคุณ มีสีสัน และเพิ่มความน่าสนใจได้อย่างลงตัว นับว่าเป็นแอปพลิเคชั่นแต่งรูปฟรีตัวหนึ่งที่น่าสนใจ และใช้งานได้ง่ายมากๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยากซับซ้อน แต่ต้องการความสวยงามแบบคลาสสิก

Download แอปพลิเคชั่นแต่งรูป Phonto

ระบบ iOS: Phonto

ระบบ Android: Phonto

แอปพลิเคชัน POMELO – Absolute filters!

แอป Pomelo Camera จะเหมาะกับผู้ที่ชอบการแต่งภาพแนวฮิปสเตอร์ แอปนี้จะให้สีภาพออกมาสวยทันใจ (สวว่างขึ้น) คล้ายๆ กับการเลือก Filter สำหรับรูปภาพ พร้อมทั้งยังทำการ Crop, Rolate และ Fade รูปได้ภายในตัว ส่วนมากจะใช้งานแอปแต่งรูปนี้ก่อน จะอัพภาพลงใน Instagram

Download แอปแต่งรูป Pomelo

ระบบ iOS: Pomelo

ระบบ Android: Pomelo

แอปพลิเคชัน Snapseed

แอปที่สามารถทำให้เราแต่งภาพแบบมืออาชีพอย่างง่าย Snapseed ถือเป็นแอปแต่งรูปในตำนานที่เปิดให้ดาวน์โหลดมานานมากอีกแอปหนึ่ง และยังก็ยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบัน คุณสมบัติของแอปแต่งรูปนี้คือการแต่งรูปแบบมือเดียว ไม่ซับซ้อน แต่กลับมี Functions จำเป็นที่หลากหลาย ทั้งการปรันโทนสี ปรับความสว่าง การปรับจุด Focus และการใส่ Filter เพื่อทำให้ภาพดูคลาสสิก

Download แอปแต่งรูป Snapseed

ระบบ iOS: Snapseed

ระบบ Android: Snapseed

แอปพลิเคชัน VSCOcam  

ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ เพราะมีฟิลเตอร์ให้เลือกแต่งภาพแนวฮิปสเตอร์มากมาย มีทั้งซื้อและปล่อยให้โหลดฟรี และยังสามารถปรับแต่งรูปภาพเช่นเพิ่มความคมชัด ปรับความสว่าง และปรับโทนรูปภาพได้อย่างง่าย หากไม่พอใจใน Filter ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลด Preset พิเศษสามารถซื้อแยกก็สามารถซื้อได้ที่ VSCO X โดยจะตกอยู่ที่ประมาณปีละ 6xx บาท

Download แอปแต่งรูป VSCOcam

ระบบ iOS: VSCOcam

ระบบ Android: VSCOcam

แอปพลิเคชัน Camera360 

ตอนนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วิธีการใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ บนแอปแต่งรูปเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมากๆ แอปที่ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อนย่อมเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายคนใฝ่ฝันหา แน่นอนเราเชื่อว่า Camera360 คือคำตอบของสาวๆ หลายคน ไม่เชื่อลองโหลดมาเล่นกันดูสิเล่นง่าย ไม่ยาก รับรองได้ภาพสวยถูกใจไว้สำหรับโพสต์ขึ้นโซเชียลมีเดียแน่นอน

Download แอปแต่งรูป

ระบบ iOS: Camera360

ระบบ Android: Camera360

Foodie - Camera for life แอปดีๆ สำหรับคนชอบถ่ายอาหาร :

เรียกว่าเป็นแอปที่มาพร้อม ฟิลเตอร์ในการแต่งภาพอาหารเยอะมากๆ จริงๆ สำหรับฟีเจอร์หลักๆ ในตัวแอปพลิเคชันนั้นแน่นมาสำหรับสายกินเป็นหลัก ใครชอบถ่ายอาหาร รีวิวอาหารแนะนำว่าโหลดแอปตัวนี้ไว้ในเครื่องรับรองได้ใช้งานแน่นอน บอกเลยว่าสามารถเพิ่มความอร่อยให้กับรูปอาหารด้วยไลฟ์ฟิลเตอร์ที่เต็มไปด้วยรสชาติให้เพื่อนๆ คุณที่มาเห็นภาพประทับใจแน่นอน

Download แอปแต่งรูป

ระบบ iOS: Foodie

ระบบ Android: Foodie

อ้างถึง   https://tinyurl.com/var8nyad

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เว็บไซต์เรียนเขียนเว็บฟรี

1. FreeCodeCamp

มาเริ่มที่เว็บไซต์แรกกับ FreeCodeCamp ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับเรียนรู้ web development ชื่อดังโดยก่อตั้งในปี 2014 ในตัวของเว็บไซต์จะประกอบด้วยหลักสูตร web developement มากมายซึ่งจะมีรูปแบบการเรียนรู้ learning by doing ด้วยการหลอมรวมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาอยู่ในแบบฝึกหัดที่จะค่อย ๆ ไต่ระดับความยากขึ้นไป ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปในแต่ละแบบฝึกหัด

ในแต่ละหลักสูตรจะมีใบ Certificate ให้ด้วยนะเออ ซึ่งเราสามารถที่จะนำไปใส่ใน linkedin หรือ resume ได้อีก แต่ เอ๊ะ!!! ตอนนี้ทุกคนคงคิดว่าเว็บไซต์ที่สอนฟรีใบ Certificate คงได้มาง่าย ๆ ดูไม่น่าได้รับการยอมรับแน่เลย แต่หลังจากที่แอดไปตะลุยหลักสูตรมาทำให้รู้ การจะได้ใบ cert มานั้นจะต้องผ่านแต่ละบทก่อน ซึ่งรวมกันทุกบทแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชั่วโมง!!! ยัง ยังไม่พอ เราต้องทำ Project หลักสูตรที่เราเรียนอีก 5 project นอกจาก learning platform แล้วตัว FreeCodeCamp ยังมี community ที่จะมาแชร์บทความต่าง ๆ มากมายตั่งแต่พื้นฐานยัน expert บวกกับ Forum community ที่เราสามารถที่จะตั้งคำถามข้อสงสัยในสิ่งที่เรียนมาในแต่ละหลักสูตรได้ เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น คล้ายกับ stackoverflow

FreeCodeCamp ถือว่าเป็นเว็บไซต์เรียน Web development ที่ครบวงจรในตัวเอง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนเว็บไซต์ทุก ๆ ท่าน

2. W3Schools

มาต่อกับเว็บไซต์ต่อไปที่นักพัฒนาเว็บไซต์ทุกคนต้องรู้จักอย่างแน่นอนกับ W3Schools เว็บไซต์ที่รวบรวมความรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ทั้ง Front-end และ Back-end W3Schools ก่อตั้งในปี 1998 มีสโลแกนประจำตัวที่แสดงถึงความเก่าแก่และยิ่งใหญ่อย่าง

เนื้อหาแต่ละหลักสูตรของ W3Schools จะมีการแบ่งหัวข้อที่ชัดเจนเรียงลำดับจากง่ายไปยาก ซึ่ง W3School จะเน้นไปที่การเรียนรู้จากตัวอย่างเป็นซะส่วนใหญ่ โดยแต่ละหัวข้อจะมีคำอธิบายและ code ตัวอย่างให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและแก้ไขได้ แต่ถ้าใครต้องการความท้าทายก็จะมีในส่วนของ W3Schools exercise ที่จะให้เราทำโจทย์จากสิ่งได้เรียนรู้มาในแต่ละหัวข้ออีกด้วย ในส่วนใบ Certification ของ W3Schools ก็สามารถมีได้ด้วยการจบหลักสูตรและ project บวกกับเงินอีก 95$

W3schools ถือเป็นเว็บไซต์ Web development ที่เก่าแก่ซึ่งเปรียบกับคัมภีร์ Guidebook สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถให้ย้อนกลับมาทบทวนได้เสมอไม่ว่าจะพึ่งเริ่มต้นหรือว่ามีประสบการณ์มานานแล้ว

3. The Odin Projects

The Odin Projects ก่อตั้งในปี 2013 โดยออกแบบมาสำหรับ Self learning ที่ต้องการหลักสูตรที่มีคุณภาพ ตัว The Odin Projects จะมีทั้ง Resource และ Open source ให้ใช้งานในการเรียนรู้พร้อมกับคำอธิบายที่ชัดเจน ทำให้ในแต่ละงานมีความท้าทายสูง ซึ่งในส่วนท้ายในแต่ละบทก็จะมี Assigment ให้ทำด้วยเช่นกัน หลักสูตร The Odin Projects เป็นภาษาอังกฤษ

นอกจากหลักสูตรเรียนแล้ว The odin project ก็ยัง Community ของตัวเองอีกด้วยซึ่งจะอยู่ใน Discord สิ่งที่ชอบของ The Odin projects คือ มี Resource ที่เยอะมาก!!! ทำให้เราสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ Solution ที่จะเป็นการแชร์ Code ของ Assignment แต่ละคนที่ทำก่อนหน้าเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นข้อผิดพลาดของ Code เราได้ชัดเจนขึ้นและนำมาปรับปรุงในการทำ Web development ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

The Odin Projects ถือเป็นเว็บไซต์สำหรับเรียนรู้ Web development ที่ไม่ค่อยเหมาะกับ beginner สักเท่าไหร่เมื่อเทียบกับ platform อีก 2 อันด้านบน แต่ถ้าใครมีประสบการณ์มาบ้างนี่อาจเป็นที่ที่ทำให้คุณได้ศึกษา Resource ใหม่ ๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้

4. coursera

มาถึงกับเว็บไซต์เรียนออนไลน์ที่มีชื่อเสียงมากเปรียบได้กับเจ้าพ่อแห่งวงการเรียนออนไลน์ก็ว่าได้กับ Coursera ก่อตั้งในปี 2012 ซึ่งทำงานกับมหาลัยกว่า 150 แห่งและมีคอร์สออนไลน์หลายแขนงมากกว่า 4,000 คอร์ส ในส่วนของคอร์ส Web development มีมากถึง 1,058 คอร์ส แอดบอกได้เลยว่าเยอะมาก แต่ถึงยังงั้นมันก็ยังเต็มไปด้วยคอร์สที่ไม่ดีและดีปะปนกันไป ซึ่งจะมีการวัดจาก คะแนน review หลักสูตรของ Coursera จะมีทั้งได้ใบ Certificate และ Degree ทำให้เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการเรียนจริงจัง สามารถนำไปใช้ยื่นสมัครได้เลย โดยจะมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 49 $ ในแต่ละคอร์ส แต่เราก็สามารถที่จะขอทุน Financial aid(บางคอร์ส) ได้ด้วยการเขียน statement of purpose ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 15 วันในการตรวจสอบ แต่ถ้าใครอยากเรียนฟรี ก็จะมีในส่วนของ Audit ที่จะสามารถเรียนตามบทฟรี แต่ว่าจะไม่สามารถทำ Assignment หรือ Exercise ได้ และไม่ได้รับใบ Certificate หรือ Degree ด้วย

เนื้อหาในแต่ละหลักสูตรของ Coursera จะให้ความรู้สึกมานั่งเรียน lecture มหาวิทยาลัยยังไงยังงั้น โดยการผสมผสานระหว่างคลิปสอน, เนื้อหาให้อ่าน และ exercise ให้ทำ แบ่งออกเป็นแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการ discuss คำตอบบางอย่างกับเพื่อนในคลาส ทำให้เรามี interactive ต่อเพื่อนในคลาสมากขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากเว็บไซต์ข้างบนทั้ง 3 ที่เน้นไปที่การ self-learning ซะเป็นส่วนใหญ่ และยังมีระบบ Grade ที่จะเป็นการนำคะแนนจาก Quiz มาคำนวณ ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนกลับไปเรียนในมหาลัย ยิ่งขึ้นไปอีก

Coursera ถือเป็นเว็บไซต์ที่มีหลักสูตรเยอะและหลากหลาย ดีบ้างแย่บ้างปนกันไป มีใบ Certificate และ Degree ที่เป็นมาตรฐานสากล อีกทั้งยังมีระบการเรียนที่ให้ความรู้สึกเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ทำให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้น ไม่ใช่แค่เรื่อง Web development แต่รวมทั้งการเริ่มเรียนสิ่งใหม่ที่เราสนใจอีกด้วย

5. Codewars

จาก 4 เว็บไซต์ที่กล่าวมาข้างตันจะเห็นได้ว่าแต่ละเว็บไซต์จะมีรูปแบบหลักสูตรที่เฉพาะตัว และให้ความรู้สึกเวลาเรียนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเว็บไซต์ที่จะพูดถึงต่อไปนี้ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากเช่นกัน ด้วย Concept เน้นไปการแข่งขันที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับการเล่นเกมไต่แรงค์ ดั่งกับชื่อ Codewars ก่อตั้งในปี 2012 เป็น Community platform สำหรับการเขียนฝึกโปรแกรม นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถฝึกซ้อมใน Exercise เพื่อขัดเกลาสกิลผ่านการฝึกฝนและทำซ้ำหรือที่เรียกว่า kata ในส่วนของ kata ก็จะมีการให้แรงค์กับผู้เล่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Codewars เช่นกันนอกจากนี้ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่โคตรเป็นเอกลักษณ์คือ เงื่อนไขการ Sign up ที่มาพร้อมกับแบบฝึกหัด ซึ่งถ้าคุณทำไม่ได้คุณก็จะไม่มี Account!!!

แบบฝึกหัดแต่ละบทจะให้ความรู้สึกเหมือนเล่นเกม ให้ความท้าทาย ด้วยระบบ Level สำหรับ ผู้เล่น แสดงผ่าน Rank ตั่งแต่ 8 kyu(ต่ำสุด) จนถึง 4 dan(สูงสุด) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยากของ kata บวกกับความเร็วในการแก้ไขปัญหาที่ตัว user ได้ทำไว้ และยังมี Honor ที่เป็นตัวแสดงการยอมรับจาก Community ได้รับมาจากสมาชิกคนอื่น จะเห็นได้ว่า Rank ของ User จะบ่งบอกถึงความสามารถส่วน Honor จะบ่งบอกการมีส่วนรวมใน Community ในแต่ละแบบฝึกหัดมีระดับความยากที่เหมาะสมคนที่มีประสบการณ์ในภาษานั้นพอสมควร ถ้าใครคิดว่าจะมาเริ่มเรียนภาษาใหม่ในนี้ แอดคิดว่าจะต้องพยายามสักหน่อย แบบฝึกหัดจะมีคำอธิบายโจทย์ และ Sample test แสดงตัวอย่างเฉลยที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังมีการแชร์ Code ของ User คนอื่น โดยเราสามารถ Vote / Comment / Compareได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบ Solution ในการแก้ปริศนากับ User รายอื่น ๆ วิธีการนี้ช่วยให้คุณค้นหา Bug ใน Code ของคุณได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาเดียวกันจากมุมมองที่แตกต่างไป นอกจากนี้ถ้าเราไม่พอใจแบบฝึกหัดใน kata เราสามารถคิดโจทย์ใหม่ขึ้นเองได้ด้วย

Codewars ถือเป็น platform หนึ่งที่ใช้ gamfication มาใช้ในหลักสูตรทำให้เกิดความท้าทายในการศึกษา มาพร้อมกับแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับคนมีประสบการณ์ ทำให้ platform นี้ไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นสักเท่าไหร่นัก

6. Traversy Media

Traversy Media ก่อตั้งครั้งแรกในช่อง Youtube ปี 2011 ซึ่งคลิปส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง web development ปัจจุบันมีจำนวนคลิปสอนภาษาอังกฤษมากกว่า 1,000 คลิป ซึ่งแต่ละคลิปมีเนื้อหาที่มีคุณภาพผ่านจากประสบการณ์การทำงานของนักพัฒนา ตาม concept “Bringing the world the highest quality programming content” ส่วนใหญ่เนื้อหาในแต่ละหลักสูตรเน้นไปที่การลงมือทำ Project จาก Resource ใน git เป็นซะส่วนใหญ่

แต่ถ้าใครต้องการใบ Certification Traversy Media ก็จัดให้คุณได้ใน Udemy ซึ่งจะมีอยู่จำนวน 12 course ราคา course ละ 349 บาท ได้แก่

แต่ถ้าใครต้องการใบ Certification แล้วล่ะก็ Traversy Media มีคอร์สสอนอยู่บน Udemy ด้วยนะครับ จะมีทั้งหมด 12 course ด้วยกัน เริ่มต้นราคาเพียง 349 บาท ตามด้านล่างนี้เลยครับ สอนโดยเจ้าของที่ชื่อว่า Brad Traversy

Traversy Media ถือเป็นช่อง Youtube ที่ใครเคยศึกษา Web development ต้องผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งแต่ละคลิปมีตั่งแต่สอน Beginner จนถึงสามารถทำงานได้จริง ถือว่าเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ที่ไม่ต้องการเสียเวลาสมัครสมาชิก แค่เปิด Youtube ก็สร้างเว็บไซต์ได้แล้ว

7. Khan Academy

Education platform ชื่อดังที่มีจุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาคุณภาพสูงแก่คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหนทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกอย่าง Khan Academy ก่อตั้งในปี 2006 ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft และ Google โดยเริ่มต้นมาจากนักศึกษาคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Salman Khan ได้ถ่ายคลิปสอนเผยแพร่ลงอินเทอร์เน็ต ด้วยความที่การสอนของ Khan เน้นไปที่ความเข้าใจมากกว่าความจำ ทำให้คลิปสอนของ Khan ตอนนั้นกลายเป็นที่นิยมขึ้นมา ปัจจุบัน Khan academy มีหลักสูตรหลายวิชาทั้ง คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งรองรับภาษาไทยด้วย ในส่วนของ Web development มีหลักสูตร ,บทความ และ Excercise รวมกันกว่า 1,000 อย่าง ซึ่งมีตั่งแต่ระดับง่ายจนไปถึงระดับยาก จุดเด่นของ Khan Academy คือการสอนเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย รวมทั้ง ระบบใน Platform นี้จะบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของแต่ละคนและนำมาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อสร้างโจทย์ฝึกหัดที่เหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย

8. Wesbos

Wesbos เกิดขึ้นจาก Full stack developer มีนามว่า Wes Bos ต้องการช่วยให้ทุก ๆ คนสามารถเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ดี ดังนั้นเขาเลยเริ่มถ่ายคลิปสอนใน Youtube ก่อนจนตอนหลังเริ่มมาทำ Wesbos เหมือนกับ Khan Academy ใน platform นี้มี course อยู่ 3 แบบ คือ Free ,Starter course และ Master package 

ในส่วนของ Starter course จะมีราคา 82$ ส่วน Master packageจะมีราคา 97$ ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติม นอกจาก Course เรียน Wesbos ยังมีในส่วนของ Podcast อีกด้วย ชื่อว่า Syntax เนื้อหาใน Podcast จะพูดถึง Web development เป็นส่วนใหญ่ และบทความ web development ที่มีมากกว่า 120 บทความ บวกกับ Tip ที่มาจากประสบการณ์ของ Wes Bos ใน twitter ทำให้เว็บไซต์นี้มีจำนวนเนื้อหาการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนเริ่มต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเว็บไซต์ที่เล็กเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นก่อนหน้า

9. MIT OpenCourseWare (visit)

MIT OpenCourseWare เป็น platform ของโครงการของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์(MIT) ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์แห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ใน OCW ได้รวบรวมเนื้อหาวิชาที่มีการเรียนการสอนใน MIT มาเผยแพร่ใน platformนี้ เพื่อเปิดให้คนทั่วไปได้ได้รับความรู้ที่มีคุณภาพ แบบไม่ต้องลงทะเบียน และไม่ต้องเสียเงินสักบาทเดียว หลักสูตรใน OCW มีมากกว่า 2,500 หลักสูตร โดยในแต่ละหลักสูตรนอกจากเนื้อหาเรียนแล้วยังมี การบ้าน การเรียนโต้ตอบ และข้อสอบพร้อมเฉลยอีกด้วยให้ความรู้สึกเหมือนเราบินไปเรียน MIT ยังไงยังงั้นเลย

10. Mozilla Developer Network (visit)

มาถึงเว็บไซต์สุดท้ายกับ Mozilla Developer Network(MDN) เกิดจากบริษัทเบราเซอร์ชื่อดังอย่าง Firefox ที่ต้องการสร้างคลังเก็บข้อมูล Web development ไว้สำหรับนักพัฒนา คล้ายกับ W3Schools ในส่วนของ MDN จะมีเนื้อหาที่คลอบคลุมในส่วนของ HTML, CSS และ JavaScript นอกจากนี้ยังมี Resource อื่นอีกมากมายที่จำเป็นใน Web development อีก เช่น HTTP, APIs, MathML, Game developement โดยในแต่ละบทจะเป็นคำอธิบายและ Code ซึ่งก็จะมี Challenge อยู่บ้างบางบท

อ้างอิง   https://tinyurl.com/52nras4b

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ใครแก้ เช็คได้ : Google Doc

Google Doc ออกฟีเจอร์ใหม่ ใครแก้ไฟล์ออนไลน์ รู้หมด

เอกสารที่ใช้งานร่วมกันบนออนไลน์ นับเป็นมิติใหม่ที่เกิดมาเพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานร่วมกัน เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็ใช้งานได้แค่มีอินเทอร์เน็ต

แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะล่าสุด Google ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ เพื่อให้การใช้งานเอกสารร่วมกันบนออนไลน์ไม่มีข้อจำกัด กับฟีเจอร์ Show Editors ที่ทำให้ Google สามารถติดตามการแก้ไขของสมาชิกที่ใช้ไฟล์ร่วมกันได้ง่ายขึ้น 

ข้อดีคือทำให้มีข้อมูลว่าไฟล์เอกสารถูกแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงตรงไหน เมื่อไหร่ และใครเป็นคนทำ เหมาะสำหรับคนที่ตำเป็นต้องแชร์ไฟล์ให้กับผู้ใช้งานเข้าถึงได้หลายคน หรือคนที่ต้องทำงานที่บ้าน

วิธีเปิดใช้งาน Show Editors ก็ทำได้แบบง่ายๆ แค่ตั้งค่าเริ่มต้นใช้งานคุณฟีเจอร์นี้ เพียงแค่เน้นข้อความส่วนหนึ่งคลิกขวาและเลือก แสดงผู้แก้ไข โดย Google จะแสดงรายชื่อผู้แก้ไข พร้อมกับการแก้ไขล่าสุดพร้อมกับเวลา 

นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกที่จะนำคุณไปยังประวัติเวอร์ชันเดิมของเอกสารได้ทันที หากต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การใช้งานเอกสารแบบออนไลน์ที่ไร้ขีดจำกัด นอกเหนือจากฟีเจอร์ speech-to-text พูดแล้วพิมพ์ ฟีเจอร์สุดฮิตที่ทำให้การใช้งานเอกสารยุคใหม่ทำได้ง่ายขึ้นมาก

สำหรับฟีเจอร์ใหม่ Show Editors นี้ Google จะเปิดให้ใช้งานแล้วในกลุ่มผู้ใช้งาน Google Workspace แบบ Business , Enterprise และ Education Plus 

สำหรับคนที่ใช้งาน G Suite แบบ basic ยังต้องรอลุ้นกันต่อว่า Google จะเปิดให้ใช้งานเมื่อไหร่

อ้างอิง  https://tinyurl.com/fh2e4er5

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

Zoom

 1. ปิดเสียง เปิดกล้อง ตั้งเป็นค่าเริ่มต้น

ความลับไม่มีในโลก! หลายคนชอบโป๊ะแตก เปิดไมค์ทิ้งไว้ระหว่างรอคู่สนทนา จังหวะที่เผลอคุยหรือเมาท์อะไรหลุดออกมาก็ได้ยินกันหมด ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำหลังเข้าใช้งาน Zoom คือตั้งค่าปิดเสียง และเปิดกล้องเอาไว้ ซึ่งเป็นมารยาทพื้นฐานในการสนทนาออนไลน์ที่ควรรู้


วิธีการตั้งค่าปิดเสียงแบบง่ายๆ ให้เข้าไปที่การตั้งค่า เลือกเสียง และปิดเสียงไมโครโฟนเมื่อเข้าร่วมการประชุมและระหว่างที่สนทนา เกิดมีข้อซักถาม หรือถูกเชิญให้พูด ก็แค่เคาะแป้นพิมพ์ Spacebar แทนการคลิกปุ่มไมโครโฟน โดยคุณสามารถกด Spacebar ค้างไว้เพื่อเปิดเสียงไมโครโฟน แบบเดียวกับการกดแล้วพูด หรือ Push to talk

2. เปลี่ยนพื้นหลัง เปลี่ยนชื่อ เพิ่มรูปโปรไฟล์

นับเป็นฟังก์ชั่นเริ่มต้นที่ต้องปรับแต่งทุกครั้งก่อนเริ่มแชต เพราะที่บ้านบางคนก็ไม่ได้เหมาะที่จะใช้ในการคุยงาน หากบ้านรกหรือมีคนเคลื่อนไหวไปมาอยู่ด้านหลัง ยิ่งจะเป็นการรบกวน หรือดึงความสนใจของคู่สนทนาใน Zoom ให้หลุดโฟกัสในสิ่งที่เรากำลังพูดอยู่ก็เป็นได้ วิธีเปลี่ยนพื้นหลัง Zoom ทำได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและในแอปมือถือ แค่ไปที่การตั้งค่า เลือกพื้นหลังที่มีให้ หรืออัปโหลดภาพที่คุณต้องการเข้าไปแทนที่

เช่นเดียวกับชื่อที่ใช้ login เข้าใช้งาน Zoom ส่วนใหญ่จะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ที่ยากต่อการจดจำหรือแยกแยะ ยิ่งไปซ้ำกับผู้ใช้งานรายอื่นแล้วด้วยก็คุณอาจจะถูกลืมหรือโดนกลืนหายไปในวงสนทนาแบบไม่รู้ตัว การเปลี่ยนชื่อสามารถทำได้ 2 วิธีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร

หากคุณต้องการเปลี่ยนชื่อชั่วคราวสำหรับการประชุมที่กำลังจะเริ่ม ให้คลิกที่ปุ่มผู้เข้าร่วมที่ด้านล่างของหน้าจอ วางเมาส์เหนือชื่อของคุณ แล้วคลิกเพิ่มเติม จากนั้นเปลี่ยนชื่อ โดยพิมพ์ชื่อที่คุณต้องการให้แสดงแล้วกดตกลง แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อแบบถาวรทุกครั้งที่เข้าใช้งานให้ไปที่เว็บ Zoom ลงชื่อเข้าใช้ คลิกโปรไฟล์ที่มุมขวาบนตรงข้ามชื่อของคุณ แล้วคลิกแก้ไข ป้อนชื่อที่คุณต้องการ จากนั้นกดบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพียงเท่านี้ชื่อใหม่ของคุณจะแสดงในทุกการประชุมนับจากนี้ ซึ่งคุณสามารถเข้ามาเปลี่ยนได้ทุกเมื่อ

นอกจากนี้คุณยังเพิ่มรูปโปรไฟล์ทั้งแบบชั่วคราวบนแอป และแบบถาวรได้บนเว็บด้วยวิธีการเดียวกับการเปลี่ยนชื่อผู้ใช้งาน

3. เปิดใช้ฟิลเตอร์ เพิ่มความมั่นหน้า

หากตอนเริ่มประชุมคุณสังเกตได้ว่าหน้าตาในกล้องเริ่มไม่สดใส อาจเป็นเพราะอดนอน เพื่อเตรียมงานมาอย่างหนักหน่วง คุณสามารถเปิดโหมดบิวตี้ที่จะทำให้หน้าดูดีได้ กับฟีเจอร์ Touch Up My Appearance บน Zoom ซึ่งมีคุณสมบัติไม่แพ้ฟิลเตอร์ในกล้องเซลฟี่บน


หากต้องการเปิดโหมดนี้ให้คลิกลูกศรขึ้น ถัดจากเริ่มวิดีโอ จากนั้นคลิกการตั้งค่าวิดีโอ แล้วทำเครื่องหมายในช่อง ลักษณะที่ปรากฏของฉัน

4. ตั้งค่าห้องระหว่างรอ เพิ่มความปลอดภัย

ปัญหาเรื่องความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องจัดการให้อยู่หมัด ยิ่งถ้าคุณเป็นผู้สร้างห้องด้วยแล้วละก็ เป็นนี้ห้ามข้ามไปเป็นอันขาด เพราะนอกจาก Zoom พัฒนาการเข้ารหัสแบบ end-to-end รวมถึงวิธีอื่น ๆ เพื่อปกป้องบัญชี และการแชทให้เป็นส่วนตัวมากขึ้น ผู้สร้างห้องยังสามารถป้องกันคนแปลกหน้า หรือผู้ไม่หวังดีแอบเข้าร่วมร่วมวงสนทนาได้ด้วย


วิธีการง่ายๆ แค่เปิดใช้งานห้องรอเพื่อให้คุณสามารถดูได้ว่าใครพยายามเข้าร่วมการประชุมก่อนที่จะกดอนุญาตให้พวกเขาเข้าถึงได้ โดยไปที่การจัดการบัญชี การตั้งค่าบัญชี คลิกที่การประชุมจากนั้นคลิกห้องรอเพื่อเปิดใช้งานการตั้งค่า

นอกจากนั้นยังสามารถสร้างห้องซูมสำหรับการสนทนากลุ่มเล็ก ๆ โดยแบ่งการประชุมซูมขนาดใหญ่ของคุณออกเป็นเซสชันย่อย ๆ ได้ถึง 50 เซสชันพร้อมห้องแยกย่อย โดยไปที่การจัดการบัญชี การตั้งค่าบัญชี ในแท็บการประชุมไปที่ Breakout Room และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เปิดใช้งานการตั้งค่าแล้ว

5. แบ่งปันหน้าจอ เล่นกับอีโมจิ

แชร์หน้าจอนับว่าเป็นฟีเจอร์หลักที่ทุกคนต้องใช้หากต้องการแบ่งบันสไลด์ พรีเซ้นต์ ร่วมกับคนอื่นซึ่งทำได้ง่ายๆ แค่คลิกที่ไอคอนแชร์หน้าจอบนแถบเครื่องมือที่ด้านล่าง โดยเลือกได้ว่าจะแชร์เดสก์ท็อปทั้งหมด หรือแชร์เพียงหน้าต่างเดียวที่คุณเปิดไว้ หากต้องการหยุดแชร์หน้าจอก็แค่คลิกปุ่มหยุดแชร์สีแดงที่ด้านบนสุดของหน้าจอ เพื่อกลับไปเป็นผู้ฟังตามเดิม

หากคุณปิดเสียงระหว่างประชุมคุณยังสามารถแสดงอารมณ์และความเห็นผ่านอิโมจิเพื่อแจ้งเตือนไปยังเจ้าของห้องได้ โดยไม่รบกวนการประชุม ซึ่งล่าสุด Zoom ได้เพิ่มอิโมจิมากถึง 40 ตัวให้เลือกใช้ โดยคลิกแท็บปฏิกิริยาที่ด้านล่างของหน้าจอการประชุม แล้วเลือกอิโมจิที่ต้องการ โดยอีโมจิจะหายไปหลังจากผ่านไปแล้ว 5 วินาที

6. ใช้แป้นพิมพ์ลัดให้เป็น

สำหรับคนที่ไม่ชอบจับเมาส์ คลิกไปรอบ ๆ หน้าจอ Zoom แบบไร้จุดหมาย Zoom มีแป้นพิมพ์ลัดที่เป็นประโยชน์มากมายให้ใช้งานบนเดสก์ท็อปโดยไม่ต้องใช้เมาส์ นอกจากดเปิด/ปิด เสียงด้วย Spacebar แล้วก็ยังมีอีกหลายปุ่นที่ช่วยทำให้การเช็ตของคุณง่ายและดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วย อย่างเช่นกด Alt+Shift+S เพื่อเริ่มหรือหยุดแชร์หน้าจอ

ลองค้นหาคำสั่งเพื่อเข้าร่วมการประชุมเริ่มหรือหยุดการบันทึกเข้าสู่โหมดเต็มหน้าจอและแชร์หน้าจอของคุณ ได้ที่รายการปุ่มลัดและแป้นพิมพ์ลัดทั้งหมดของ Zoom

7. ซ่อนผู้เข้าร่วมที่ไม่เปิดวิดีโอ

ในมุมมองแกลเลอรีช่วยให้คุณเห็นทุกคนในการประชุมพร้อมกัน แทนที่จะเป็นเพียงคนพูด หากต้องการเปิดใช้งานให้คลิกแท็บมุมมองแกลเลอรีที่มุมขวาบน

ในการประชุมที่มีคนจำนวนมาก บางครั้งหน้าจอของคุณอาจทำให้ผู้ร่วมสนทนาเสียสมาธิกับสัตว์เลี้ยงและเด็ก ๆ ของเพื่อนร่วมงานที่ปรากฏในวิดีโอ ขณะที่บางคนเลือกที่จะไม่เปิดกล้อง ในฐานะผู้สร้างห้องสามารถซ่อนผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่ได้เปิดวิดีโอได้โดยไปที่การตั้งค่า เลือกวิดีโอ ไปที่การประชุม และเลือกซ่อนผู้เข้าร่วมที่ไม่ใช่วิดีโอได้เช่นกัน

8. ใช้ปากกาเพื่อทำไฮไลต์

คุณสมบัติปากกาที่หายไปของ Zoom ช่วยให้คุณสามารถขีดเขียนบนหน้าจอที่ใช้ร่วมกัน เพื่อเน้นข้อความ หรือสิ่วที่ปรากฎบนสไลด์ โดยมันจะเลือนหายไปเองโดยไม่ต้องย้อนกลับไปลบออกวิธีการใช้งานขณะแชร์หน้าจอ ให้คลิกที่คำอธิบายประกอบ ในเมนูที่ขึ้นมาให้คลิก Vanishing Pen แล้วลองใช้งานดู

9. เก็บบันทึกวีดีโอเอาไว้ในเครื่อง

สมาชิก Zoom ทั้งแบบฟรีและพรีเมี่ยม สามารถบันทึกการประชุมลงในแล็ปท็อปหรือคอมพิวเตอร์โดยใช้แอป Zoom บนเดสก์ท็อป โดยไฟล์ที่บันทึกไว้สามารถอัปโหลดไปยัง Cloud ยอดนิยมอย่าง Google Drive หรือ Dropbox หรือบริการสตรีมวิดีโอเช่น YouTube หรือ Vimeo ได้ทันที แต่หากคุณใช้บริการ Zoom แบบพรีเมี่ยม คุณสามารถบันทึกไฟล์ลงบนสมาร์ทโฟน หรือจัดเก็บบน Cloud ได้โดยตรง ค่าบริการอยู่ที่ $15 ต่อเดือน หรือประมาณ 500 บาท

วิธีเปิดใช้งาน ให้ไปที่การตั้งค่า เลือกการบันทึกและเปิดใช้งาน ขณะที่เริ่มประชุมให้คลิกไอคอนบันทึกที่แถบเครื่องมือ

อ้างอิง  https://tinyurl.com/8snn8583


วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

อีเมลที่ส่งไป เขาเปิดอ่านรึยังนะ?

 “อีเมลที่ส่งไป เขาเปิดอ่านรึยังนะ?” คงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องการจะรู้ โดยเฉพาะมนุษย์วัยทำงานอย่างเรา ที่บางครั้งเราส่งสารเรื่องสำคัญไปให้ รอแล้วรออีก ก็ไม่รู้ว่าเขาเปิดอ่านเเล้วรึยัง หรือส่งไปเเล้วไม่ถึงกันนะ

ก็คือ https://mailtrack.io/en/ (ใช้ได้เฉพาะ Gmail บนเว็บเบราว์เซอร์ Chrome เท่านั้น) เข้าเว็บไปแล้วก็กด install ได้เลยค่ะ ดาวน์โหลดฟรี! ด้วยนะ (ใช้ได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และบนโทรศัพท์มือถือ)

หลักจากดาวน์โหลดเสร็จเเล้ว ก็ติดตั้งลงเบราว์เซอร์ Chrome ได้เลยค่ะ โดยการกดคำว่า Add to Chrome หลักจากนั้นให้เรากดคำว่า “Connect with Google” แล้ว Sign in ด้วยบัญชี Google ของคุณ (ใช้บัญชีที่เราต้องการ track)

หลังจากนั้นจะมีรายละเอียดเเพ็กเเกจเรื่องราคามาให้เราเลือก แน่นอนค่ะว่าสายฟรีแบบเราเลือก Sign Up Free

เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยเเล้ว  คุณสามารถไปที่หน้า Gmail ได้เลย เราจะเห็นเครื่องหมายถูกสีเขียวอยู่ในแถบส่งเเล้ว หากมีเครื่องหมายถูกสีเขียวขึ้นแค่ 1 แสดงว่าเขายังไม่ได้เปิดอ่าน แต่ถ้ามีเครื่องหมายถูกสีเขียวขึ้น 2 อัน แสดงว่าอีเมลคุณได้ถูกเปิดอ่านเป็นที่เรียบร้อย เเละที่สำคัญ เมื่อเรานำเมาส์ไปชี้ที่เครื่องหมายถูก ก็จะมีรายงานจำนวนครั้งที่เปิดอ่านด้วย

แต่ถ้าหากขึ้นสีเทาทั้ง 2 อัน แสดงว่าอีเมลนั้นทางแอปยังไม่ได้ติดตาม​ (จะเป็นอีเมลที่เราส่งออกไปก่อนติดตั้งโปรแกรม)

อ้างถึง   https://tinyurl.com/rrs2kfs6

งาน “ฟรีแลนซ์”

Fastwork

มีประเภทของงานให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานแปล เขียนบทความ กราฟิกดีไซน์ ตัดต่อวิดีโอ การถ่ายภาพ ไปจนถึงงานซับซ้อนขึ้นอย่างการเขียนโปรแกรมและทำแอป

Freelance Bay

แพลตฟอร์มสื่อกลางระหว่างฟรีแลนซ์และผู้ว่าจ้าง ที่สามารถติดต่อกันได้อย่างสะดวก สามารถสร้างโปรไฟล์เพื่อใช้หางานเหมือนเว็บหางานประจำทั่วไปได้เลย

Freelancer

พิเศษด้วยการได้โอกาสจ้างงานจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้เกิดโอกาสที่กว้างกว่าหางานในประเทศ เป็นที่ๆ สามารถใช้พัฒนาทักษะภาษาของเราให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

Upwork

ศูนย์รวมแบรนด์และองค์กรดังๆ ในระดับโลก ที่ต้องการจ้างงานฟรีแลนซ์มาร่วมงานด้วย เพิ่มโอกาสและสร้างโปรไฟล์ให้ผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี

Thai Programmer

แหล่งรวมงานสำหรับโปรแกรมเมอร์ไทย โดยสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ที่มีงานทั้งแบบประจำและฟรีแลนซ์ของสายโปรแกรมมิ่งมาให้เลือกทำกันอย่างจุใจ

Thai Freelance Agency

อีกหนึ่งแพลตฟอร์มสื่อกลางระหว่างผู้ว่าจ้างเเละฟรีแลนซ์ มีจบครบทุกสายงานเช่นเดียวกับแพลตฟอร์มข้างต้น

Thai Content Creator Jobs – หางาน หาอินฟลู หาคนรีวิว

ศูนย์รวมงานทั้งประจำและฟรีแลนซ์ของชาวคอนเทนต์ ที่เต็มไปด้วยช่องทางในการทำงานหลากหลาย ทั้งเขียนบทความ ทำกราฟิก ไปจนถึงหาอินฟลูเอนเซอร์เพื่อรีวิวสินค้าและบริการอีกด้วย

อ้างถึง   https://tinyurl.com/47m63yt4

ไอคอนฟรี! สำหรับนักออกแบบ

 รวมเว็บไซต์ที่แจกไอคอนฟรีและภาพไฟล์สกุล PNG ง่ายต่อการใช้งานมาฝากกันค่ะ เเต่หากใครใช้งานในเชิงพาณิชย์ อาจจะต้องตรวจเช็คเรื่องลิขสิทธิ์กันอีกครั้ง

1. icons8.com

2. flaticon.com

3. iconfinder.com

4. icon-icons.com

5. pngtree.com

อ้างอิง https://tinyurl.com/wyvfjeav